ปัจจุบันความห่างไกลในถิ่นทุรกันดารเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โรงเรียนและชุมชนในต่างจังหวัดหลายแห่งยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ โรงเรียนและชุมชนเหล่านี้จึงขาดแคลนงบประมาณในการพัฒนาสถานศึกษา ซึ่งจากการออกสำรวจโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร พบว่าโรงเรียนโป่งตาสา ต. ทุ่งพระยา อ. สนามชัยเขต จ. ฉะเชิงเทรา เป็นอีกหนึ่งโรงเรียน ที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งโรงเรียนมีเด็กนักเรียนจำนวน 48 คน สภาพอาคารเรียนประกอบด้วย อาคารเรียน 3 หลัง มีการใช้โรงอาหารและห้องครัวที่เป็นสัดส่วน ในการทำกิจกรรมนอกอาคารเรียนเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียนและจัดกิจกรรมที่โรงเรียนจะมีส่วนร่วมกับชุมชนมีเพียงศาลาขนาดเล็ก อาคารจัดกิจกรรมที่ปิดทึบซึ่งไม่สามารถใช้ได้ในบางกิจกรรมและพื้นที่หน้าเสาธงกลางแจ้ง เท่านั้น ทางโรงเรียนจึงมีความประสงค์ให้สร้างอาคารอเนกประสงค์นี้ขึ้นให้เสร็จสมบูรณ์ เพื่อจะได้นำมาใช้เป็นศูนย์รวมในการทำกิจกรรมของนักเรียน หรือคนภายในชุมชน ด้วยเหตุนี้ ชมรมกลุ่มจิตอาสา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงกำหนดจัดโครงการค่ายจิตอาสา ครั้งที่ 9 สร้างอาคารเอนกประสงค์เพื่อนักเรียน ณ โรงเรียนโป่งตาสา ขึ้น เพื่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ขนาด 6x12 ตารางเมตร ให้เสร็จสมบูรณ์ เพื่อมอบให้แก่โรงเรียนโป่งตาสา ไว้สำหรับเป็นพื้นที่ในการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันระหว่างนักเรียนและคนในชุมชน
1. เพื่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ให้กับโรงเรียนโป่งตาสา เพื่อเป็นพื้นที่ในการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างโรงเรียนและชุมชน 2. เพื่อปลูกจิตสำนึกในการทำความดี และเป็นแรงบันดาลใจให้คนอยากทำความดีเพื่อชุมชนของตนเองและสังคม 3. เพื่อสร้างคุณประโยชน์สู่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสู่สังคม 4. เพื่อให้นักศึกษาได้ร่วมเป็นผู้ให้ ผู้เสียสละ ตระหนักถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน 5. เพื่อให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม 6. เพื่อนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้มีช่องทางในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสังคม
7.1 กิจกรรม สร้างอาคารอเนกประสงค์ เป็นกิจกรรมหลักของโครงการ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ให้กับโรงเรียนโป่งตาสาเพื่อให้บุคลากร นักเรียนของโรงเรียนและชุมชนได้มีอาคารพร้อมใช้งาน อีกทั้งอาคารอเนกประสงค์หลังนี้ยังสามารถใช้เป็นพื้นที่ส่วนรวมของชุมชน เพื่อใช้ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างชุมชนกับโรงเรียนอีกด้วย โดยกิจกรรมนี้จะสร้างอาคารอเนกประสงค์ ขนาด 6 x 12 ตารางเมตร ตามแบบแปลน โดยจะมีเหล่าอาสาสมัครจากชมรมค่ายอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้มีประสบการณ์ในด้านต่างๆ คอยชี้แนะ และให้คำปรึกษา ตลอดจนช่วยให้ความช่วยเหลือในหลายๆด้าน ซึ่งกิจกรรมนี้จะทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ทางด้านงานช่างที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ฝึกความอดทน การรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความมีระเบียบวินัย ความตรงต่อเวลา อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในหมู่คณะ และผู้เข้าร่วมโครงการอีกด้วย 7.2 กิจกรรมออกรับบริจาค เป็นกิจกรรมที่คณะกรรมการรวมไปถึงนักศึกษาที่มีจิตอาสาได้ออกไปขอรับบริจาคเงินตามสถานที่ต่างๆเพื่อนำมาเป็นทุนในการจัดกิจกรรม ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดความกล้าแสดงออก ความเสียสละและความอดทนนอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ และได้รับประสบการณ์หลายอย่าง ส่งผลให้เกิดจิตอาสาขึ้นในผู้เข้าร่วมกิจกรรม 7.3 กิจกรรมเคารพธงชาติกิจกรรมไหว้พระสวดมนต์ และกิจกรรมทำบุญตักบาตร เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันชาติ และศาสนา ซึ่งอาจถูกลืมเลือน และละเลยไป เนื่องด้วยเวลาในชีวิตประจำวันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่สร้างความกล้าแสดงออกในการจะทำกิจกรรมที่ซึ่งแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา รวมไปถึงพระมหากษัตริย์ 7.4 กิจกรรมรวมพลออกกำลังกาย เป็นกิจกรรมที่ผู้ร่วมกิจกรรมทุกคนในค่ายยืนล้อมวงเป็นวงกลมในตอนเช้าโดยให้ทุกคนออกแบบท่าออกกำลังกายคนละท่า เป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้รู้จักกันมากขึ้นและเตรียมพร้อมที่จะไปปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละฝ่ายที่ได้รับมอบหมาย 7.5 กิจกรรมการแบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติงาน เนื่องจากในการปฏิบัติงานในแต่ละวันมีหลากหลายงาน ซึ่งสามารถแบ่งเป็นฝ่ายหลักๆได้ดังนี้ ฝ่ายโครงงาน ฝ่ายครัว ฝ่ายสวัสดิการ และฝ่ายศิลป์ นอกจากนี้ยังมีอีกหลายฝ่ายซึ่งขึ้นอยู่กับกิจกรรมในแต่ละวัน ดังนั้นจึงต้องมีการแบ่งหน้าที่ให้กับผู้ร่วมกิจกรรม โดยจะมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในแต่ละวัน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้การทำงานในแต่ละฝ่าย และเพื่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่สร้างเสริมความสัมพันธ์ และความสามัคคีกันในหมู่คณะ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 7.6 กิจกรรมสร้างสัมพันธ์กับคนในชุมชน เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้สมาชิกค่ายและคนในชุมชนได้รู้จักกันมากขึ้นโดยจะจัดกิจกรรมให้สมาชิกในค่ายได้ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน อีกทั้งยังจัดกลุ่มไปเยี่ยมตามบ้านที่ทางชุมชนได้เตรียมไว้ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ค่าย ให้คนในชุมชนเข้าใจ และมีส่วนร่วมกับการก่อสร้างอาคารมากขึ้นเป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีในการพัฒนาและรักษาสภาพท้องถิ่นของตนเองให้คนในชุมชน 7.7 กิจกรรมเรียนรู้วิถีชีวิตของคนในชุมชน เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีโอกาสศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตที่เรียบง่ายของคนในชุมชน ซึ่งไม่สามารถเรียนรู้ได้จากรั้วมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังเป็นการสานความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมโครงการและคนในชุมชนมากขึ้นอีกด้วย 7.8 กิจกรรมกีฬาสานความสัมพันธ์ เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมกิจกรรมด้วยกันเอง และคนในชุมชน ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึกในการดูแลรักษาสุขภาพ นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสให้ผู้ร่วมโครงการได้ใช้เวลาในการพักผ่อนจากการปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละวันอีกด้วย 7.9 กิจกรรมเปิดใจ เปลี่ยนความคิด เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิด เกี่ยวกับกิจกรรมค่ายจิตอาสา รวมถึงเรื่องอื่นๆ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความสนิทสนมกลมเกลียวกันระหว่างผู้เข้าร่วมโครงการ 7.10 กิจกรรมจับคู่ดินเนอร์ เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้ร่วมโครงการจับคู่รับประทานอาหารเย็น โดยจะมีการจับฉลากแบบสุ่ม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีโอกาสได้ทำความรู้จักกันมากขึ้น นอกจากนี้ภายหลังรับประทานอาหารยังมีกิจกรรมสันทนาการ เพื่อให้ผู้ร่วมโครงการได้พักผ่อนอีกด้วย 7.11 กิจกรรมเล่าขานตำนานจิตอาสา เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เข้ากิจกรรมรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์ในการออกค่ายจิตอาสานำประสบการณ์เหล่านั้นมาถ่ายทอด เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมโครงการรุ่นน้อง เกิดจิตสำนึก
Faculty of Engineering, Mahidol University. (Mahidol, Engineering.)
25/25 Phuttamonthon 4 Road, Salaya, Phuttamonthon, Nakhon Pathom 73170 Thailand
Tel: +66 2889 2138
Fax: +66 2441 9731
Email: engineering@mahidol.ac.th