วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ Mahidol Engineering Maker Expo 2022 : Capstone Project Presentation สุดยอดงานแสดงโครงงานวิศวกรรม ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2566 โดยมี ผศ. ดร.พรทิพย์ แก่งอินทร์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ กล่าวรายงานและกล่าวถึงความสำคัญของ Capstone Project Presentation โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และงานวิจัย
ตลอดจนเพื่อให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณะชน ซึ่งในปีนี้มีการนำเสนอโครงงานวิศวกรรม จำนวน 93 ผลงาน โดยแบ่งเป็น 4 คลัชเตอร์ ประกอบด้วย Healthcare Engineering, Digital Engineering, Logistics & Railway Engineering และ Sustainability & Environmental Engineering พร้อมทั้งประกาศผลรางวัลของการนำเสนอ 3 อันดับ ในแต่ละคลัชเตอร์ โดยรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้รับเงินรางวัล 15,000 บาท รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท และรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3 ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมทั้งใบประกาศเกียรติยศ สรุปผลรางวัล ดังนี้
1. Logistics & Railway Engineering
รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ผลงาน Container loading optimization using mathematical model: A Case study of Kayak Manufacturer in Thailand จากภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (หลักสูตรนานาชาติ) ประกอบด้วย นาย คุณัชญ์ ปึงเศรษฐกูล น.ส. ญาณิศา พิมพ์สอ น.ส. ชนากานต์ ตันกิจเจริญ และ น.ส. กนกนันท์ สุวรรณรัตน์
รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ผลงาน Design of a Cold Chain Logistics Operations Process for Blood: A Case Study of ABC Logistics Co., Ltd. จากภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ประกอบด้วย น.ส.กิมิทา พุ่มพวง น.ส.รัตนากร อัมภิบาล น.ส.อรุณี ไชยชาติ และ น.ส.กัลยรัตน์ ประดิษฐ์ชูสกุล
รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3 ได้แก่ผลงาน Mobile Application for Train's Route Planning and Recommendation จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย น.ส. นัสรียา ทิพยานนท์ นายภูวิชญ์ จันทะฟอง นายนรวิชญ์ สรรพกิจชาญชัย และ น.ส.พจนรรถ อร่ามวัฒนกุล
2. Healthcare Engineering
รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ผลงาน Drowsiness detection using ECG on steering wheel จากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ประกอบด้วย นายฉัตรดนัย หัชลีฬหา นายนพรัตน์ หมู่สุข และนายสิรวิชญ์ ขวัญเนตร
รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ผลงาน REAL TIME PREDICTIVE MACHINE LEARNING MODEL USING PREICTAL PERIOD EEG SIGNAL IN INTRACTABLE SEIZURES จากภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ประกอบด้วย น.ส. พิชามญชุ์ พัฒนาอนุกูล นาย ศิรประกฤษฎิ์ ลิ้มตระกูลธงชัย และน.ส. สาวินี ไคร้โท้ง
รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3 ได้แก่ผลงาน Artificial Intelligence model for recognition of infant crying sound จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย นายวีรวิชญ์ วงศ์ฉัตรชลีกุล นายพสวัต แตงอ่อน และนายศิรลักษณ์ ทีฆะ
3. Digital Engineering
รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ผลงาน Face Synthesis from childhood Image using Generative Adversarial Network จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย นายกลวัชร คธาเพ็ชร นายคมสัน ตันติกานต์กุล นายติณห์ ไชยเสนา และนายปณต เล็กเจริญ
รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ผลงาน #NAPS" NEURAL ASSISTED PROTECTIVE SYSTEM FOR LANE KEEPING ASSISTANT SYSTEM จากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ประกอบด้วย นายณัชพล อาภัสสมภพ นายปัญจวัฒน์ ชัยนิชยกุล และนายอภิสิทธิ์ จันทร
รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3 (มี 2 ผลงาน) ได้แก่ผลงาน Structural Design Tasks Automation with Revit, Dynamo and Phyton จากภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย น.ส. นิศารัตน์ ผลนา น.ส. ฉวีวรรณ สุดาเดช น.ส. ชชา หินวิระ และน.ส. สุปรียา ศรีพัฒนา
รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3 (มี 2 ผลงาน) ได้แก่ผลงาน Design and Produce of High-Efficiency PRINT Systems with High-Flexibility Machine Phase II จากภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ประกอบด้วย น.ส.วรรณกานต์ กิตติมงคลสุข น.ส.ศุภกานต์ เสร็จกิจ และน.ส.ฐิติกานญ์ หมั่นหาทรัพย์
4. Sustainability & Environmental Engineering
รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ผลงาน Melt-resistant Ice Cream Fortified with Okara from Soybean Milk Processing จากภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ(หลักสูตรนานาชาติ) ประกอบด้วย น.ส. ชัญญกัญญ์ สกุลบริสุทธิ์สุข น.ส. ธัญวี สุภาพาส น.ส. เพชรไพลิน พวงประดับ และน.ส. ไอซ่า เฟลซ่า ซาบีน่า
รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ผลงาน Improving the spirits filling process with defective caps sensing system จากภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ประกอบด้วย น.ส.ฐิติรัชต์ บุญส่งศิริวัฒน์ น.ส.รัตนา เจียมอุย น.ส.ณัฐณิชา สนิทไชย และน.ส.พิชญาภัค เมฆวิชัย
รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3 ได้แก่ผลงาน Study and design feasibility of generation electricity from blower fan wind turbines จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ประกอบด้วย นายธนิสร อรุณแจ้ง นายพิทักษ์พล ปะระท่า และนายวีรวุฒิ เมฆฉาย
ดาวน์โหลดรูปเพิ่มเติม
https://drive.google.com/drive/folders/1R1R5AqAEfRSYC3ezHBzfcKfC1lW4vXEN?usp=sharing
Faculty of Engineering, Mahidol University. (Mahidol, Engineering.)
25/25 Phuttamonthon 4 Road, Salaya, Phuttamonthon, Nakhon Pathom 73170 Thailand
Tel: +66 2889 2138
Fax: +66 2441 9731
Email: engineering@mahidol.ac.th