คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย จัดงานแถลงข่าวผลการสำรวจ ภายใต้โครงการ “การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัลในเด็กปฐมวัย เด็กวัยเรียนและประชาชนไทย ยุค New Normal ปี 2566” ณ ห้อง Innogineer studio คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีคุณญาณี รัชต์บริรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมเวทีเสวนา และแถลงข่าวนำเสนอผลสำรวจ โดยมีผศ.ดร.สุภาภรณ์ เกียรติสิน หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าโครงการฯ กล่าวแนะนำโครงการ และนำเสนอผลการสำรวจสถานการณ์รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล
โดยกล่าวว่า “กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจเด็กปฐมวัย อายุ 3-5 ปี และเด็กวัยเรียน อายุ 6-8 ปี และ 9-12 ปี ตอบแบบสำรวจ รวม 3,570 คน ทั่วประเทศ ส่วนกลุ่มประชาชนที่ตอบแบบสำรวจ 5,936 คน ทั่วประเทศ ผลการดำเนินการในโครงการนี้จะเห็นว่า ปัจจุบันเด็กและประชาชนไทยทุกช่วงอายุมีการเข้าถึงและใช้สื่อมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในช่วงที่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จากการสำรวจพบว่า ผลการสำรวจการรู้เท่าทันสื่อฯ ของกลุ่มเด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียนในระดับประเทศจัดอยู่ในระดับ ดีมาก อยู่ที่ 86.9% ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าปี 2564 (73.9%) แต่อย่างไรก็ตามในด้านการสำรวจพบว่าเด็กปฐมวัย (ช่วงอายุ 3-5 ปี) มีการใช้หน้าจอนานกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน มากถึง 73.8% ซึ่งมีโอกาสส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและเสี่ยงต่อการติดอินเทอร์เน็ตได้ง่าย รวมถึงเด็กในวัยดังกล่าวยังมีความเสี่ยงต่อการถูกหลอกลวงให้ทำตามวัตถุประสงค์ของผู้ไม่หวังดี ผู้ปกครองจึงมีส่วนสำคัญในการดูแลและการเข้าถึงสื่อของเด็กเป็นอย่างยิ่ง ในส่วนของกลุ่มประชาชนทั่วไป (อายุ 13 ปีขึ้นไป) มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี ซึ่งมีผลคะแนนอยู่ที่ 72.8% ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าปี 2564 เล็กน้อย (70.4%) แต่ในด้านการประเมินสื่อของประชาชนมีผลการสำรวจอยู่ในระดับ พื้นฐาน ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์การหลอกลวงทางโลกออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2565 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการที่ประชาชนขาดความเข้าใจในใจความสำคัญของสื่อดิจิทัลที่มีการเผยแพร่หรือส่งต่อ รวมถึงการประเมินคุณค่าและความน่าเชื่อถือของข้อมูลสื่อและสารสนเทศที่ได้รับลดลง และมีโอกาสเสี่ยงต่อการถูกชักจูงได้ง่าย โดยมีสื่อที่ได้รับความนิยมของเด็กวัยเรียน คือ ยูทูป ติ๊กต็อก ไลน์ และเฟซบุ๊ก ตามลำดับ จากการสำรวจพบว่า เด็กวัยเรียนมีการใช้สื่อสารสนเทศที่สร้างความบันเทิง เช่น ดูการ์ตูน หรือ วีดีโอบนสังคมออนไลน์ ขณะที่การใช้อินเทอร์เน็ตของประชาชนทั่วไป ใช้ในการค้นหาข้อมูล ถัดมาคือ การเล่นโซเชียลมีเดีย รับ-ส่ง อีเมล และอ่านบทความออนไลน์ ตามลำดับ
นอกจากนี้ภายในงานยังมีการอภิปรายกลุ่ม ในหัวข้อ “รู้อะไร...ไม่เท่ารู้ Digital Literacy” ผู้อภิปรายประกอบด้วย
1.รศ.ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเข้าใจดิจิทัล สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล
2.คุณสันติ ศิริธีรเจษฎ์ เจ้าหน้าที่คุ้มครองเด้กองคืการยูนิเซฟ ประเทศไทย
3.คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเฝ้าระวังข่าวปลอม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท.
4.ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช กรรมการผู้จัดการมูลนิธิอินเทอรืเน็ตร่วมพัฒนาไทย
5.ดร.เฉลิมชัย พันธ์เลิศ ผู้อำนวยการสถาบันสังคมศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
Faculty of Engineering, Mahidol University. (Mahidol, Engineering.)
25/25 Phuttamonthon 4 Road, Salaya, Phuttamonthon, Nakhon Pathom 73170 Thailand
Tel: +66 2889 2138
Fax: +66 2441 9731
Email: engineering@mahidol.ac.th