วันที่ 15 มีนาคม 2565 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล นำโดย อาจารย์ ดร.เอกชัยวารินศิริรักษ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ผู้แทนคณบดีให้การต้อนรับ และส่งมอบปริญญาบัตรที่ผ่านการอบฆ่าเชื้อด้วยนวัตกรรมตู้อบฆ่าเชื้อด้วยรังสี UVC ให้แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ รับมอบ เพื่อนำไปใช้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 23 มีนาคม 2565 พร้อมนำเยี่ยมชมกระบวนการอบฆ่าเชื้อ ณ ห้องปฏิบัติการ IE 124 อาคาร 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล
โดยในครั้งนี้ใช้นวัตกรรมตู้อบฆ่าเชื้อด้วยรังสี UVC จำนวน 3 ตู้ ซึ่งเป็นผลงานการออกแบบพัฒนาของทีมงานวิจัย ด้วยแนวคิดของตู้อบฆ่าเชื้อด้วยรังสีUVC นี้ ใช้หลักการฉายแสงความยาวคลื่นต่ำ (UVC ไม่เกิน 300 นาโนเมตร) ส่งผลให้โครงสร้างทางพันธุกรรมของเชื้อถูกทำลาย ส่วนประกอบหลักมี 2 ระบบ คือ ระบบโครงสร้างทำจากอลูมิเนียมโปรไฟล์น้ำหนักเบา และพลาสติกอะคริลิค เพื่อใช้ในการป้องกันแสงออกสู่ภายนอกและระบบหลอดฆ่าเชื่อ ตู้อบ UVC ประกอบด้วยหลอด UVC 36 W จำนวน 4 หลอด และชุดวงจรสวิตช์ประกอบด้วย สวิตซ์ ปลั๊กพ่วง และสวิตซ์กำหนดระยะโดยหลอด UVC 36 W จำนวน 4 หลอด มีจุดเด่นผ่านการทดสอบมาตรฐาน UVC ด้วยระบบหุ่นยนต์ในการรับรองการฆ่าเชื่อขั้นต่ำที่ Log Reduction 3 (99.999%) มีน้ำหนักเบาขนย้ายง่ายและใช้งานง่ายวิธีการใช้งาน 1) เปิดประตูตู้อบฆ่าเชื้อด้วยรังสีUVC 2) นำสิ่งของ หรือชุดที่ต้องการฆ่าเชื้อใส่เข้าไปในตู้ 3) ปิดประตูตู้อบ 4) เปิดสวิตซ์ให้หลอดทำงาน 5) ตู้จะทำการฆ่าเชื้อประมาณ 30 - 60 วินาที (หากเปิดตู้ระหว่างหลอดทำงาน รังสี UVC จะดับในทันที) 6) เปิดประตูตู้อบ และนำของออก
ในด้านการบำรุงรักษาสามารถทำความสะอาดหลอด UVC ด้วยผ้าแห้งสะอาด และให้มั่นใจว่าไม่มีคราบ หรือสิ่งสกปรกติดกับหลอด หมั่นตรวจสอบสายไฟ และอุปกรณ์ต่อพ่วงทางไฟฟ้า เพื่อให้มั่นใจว่าระบบอยู่ในสภาพที่ดีพร้อมในการใช้งาน
ข้อแนะนำ
1. ในการอบฆ่าเชื้อด้วยรังสี UVC จำเป็นต้องให้รังสีตกกระทบกับพื้นผิวของวัสดุ หรือสิ่งของโดยตรง เพื่อประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ หากไม่ตกกระทบโดยตรงให้ทำการจัดเปลี่ยนทางวาง และอบฆ่าเชื้ออีกครั้ง
2. รังสี UVC นั้นมีความอันตรายต่อดวงตา และผิวหนังจึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับรังสี
3. ในการอบฆ่าเชื้อด้วย UVC บางครั้งอาจจะมีกลิ่นอันเนื่องจากการระเหยของสารประกอบของวัตถุ หรืออากาศเมื่อสัมผัสกับรังสี
Faculty of Engineering, Mahidol University. (Mahidol, Engineering.)
25/25 Phuttamonthon 4 Road, Salaya, Phuttamonthon, Nakhon Pathom 73170 Thailand
Tel: +66 2889 2138
Fax: +66 2441 9731
Email: engineering@mahidol.ac.th