วันที่ 9 มิถุนายน 2563 ณ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงานแถลงข่าวเปิดตัวนวัตกรรม "ระบบจัดการเวชภัณฑ์ในวิถีใหม่ New Normal" หลังโควิด-19 โดยมี ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร ประธานคณะกรรมการการบริหารจัดการและรักษาพยาบาลผู้ป่วย COVID-19 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ธันย์ สุภทรพันธุ์ รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และนายพีระ อุดมกิจสกุล CEO บริษัท ไปรษณีย์ไทยดิสทรีบิวชั่น จำกัด ร่วมกล่าวถึงแนวทางการดำเนินงานและบทบาทของของหน่วยงานในการสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมระบบจัดการเวชภัณฑ์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพรรณ กริชชาญชัย หัวหน้าโครงการ และหัวหน้าศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าววัตถุประสงค์ของโครงการ และภายในงานยังมีพิธีส่งมอบนวัตกรรมระบบจัดการเวชภัณฑ์ “SmartMedSupply” ให้กับกระทรวงสาธารณสุข โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าระบบได้ที่http://smartmedsupply.moph.go.th
โดยโครงการนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักงานวิจัยแห่งชาติ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, บริษัทไปรษณีย์ไทย ดิสทริบิวชั่น จำกัด และสมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย โดยหลักการทำงานของ “ระบบจัดการเวชภัณฑ์ประเทศไทย 2020” เริ่มจากการรับข้อมูลรายการสินค้าที่ได้รับการจัดสรรจากส่วนกลางหรือของบริจาคเข้ามาหน้าเว็บไซต์ตามรายการสินค้า ในระบบฐานข้อมูล การจัดสรรมีหลักการพิจารณาจากความต้องการเร่งด่วนและปัจจัยต่างๆ ของการระบาด และสถานการณ์ของโรงพยาบาล จากนั้นข้อมูลจะไหลเข้าระบบสต๊อก หรือสินค้าคงคลังเสมือน (Virtual Stock) โดยจะวิเคราะห์และจัดสรรให้ตรงกับความต้องการของฝั่งโรงพยาบาลโดยการจับคู่ (Match) จากจำนวนผู้ป่วย จำนวนบุคลากร ทางการแพทย์ ปริมาณที่มีอยู่ อัตราการใช้ และระดับความรุนแรง เป็นต้น โดยสามารถระบุได้ว่าต้องจัดสรรอะไร กระจายไปที่ใดและจำนวนเท่าไร เพื่อส่งต่อไปที่ระบบขนส่งแล้วกระจายเวชภัณฑ์ดังกล่าวต่อไป
Faculty of Engineering, Mahidol University. (Mahidol, Engineering.)
25/25 Phuttamonthon 4 Road, Salaya, Phuttamonthon, Nakhon Pathom 73170 Thailand
Tel: +66 2889 2138
Fax: +66 2441 9731
Email: engineering@mahidol.ac.th