เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2556 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานแถลงข่าว โครงการพัฒนาสร้างเครื่องย่อยวิเศษ
หรือเครื่อง High Pressure Digester ซึ่งเครื่องดังกล่าวเป็นผลงานของภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อาจารย์พิมพ์วลัญช์ สุคะโคตร อาจารย์ประจาภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ และหัวหน้าโครงการพัฒนาสร้างเครื่องย่อยวิเศษ กล่าวว่า
ตามที่ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ได้ให้การสบับสนุนงบประมาณภายใต้โครงการสนับสนุนผู้ประกอบการไทย
เพื่อการพัฒนาสร้างเครื่องจักรและอุปกรณ์ด้วยกระบวนการศึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางวิศวกรรม “โครงการพัฒนาสร้างเครื่องย่อยวิเศษ”
เมื่อปีงบประมาณ 2554 ซึ่งได้มีการดาเนินการจัดสร้างและใช้งานเครื่องย่อยวิเศษนี้ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น โดยเครื่องย่อยวิเศษนี้มีความสามารถ
ในการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ให้มีขนาดที่เล็กลง การกลั่นน้ามันหอมระเหย และการย่อยวัสดุอินทรีย์ที่มีความดันสูง เป็นต้น ซึ่งเครื่องดังกล่าว
สามารถใช้เป็นเครื่องต้นแบบและเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบทางการเกษตรและวัสดุอินทรีย์ในการนาไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆต่อไป และอยากให้ผลงานวิจัย
สิ่งประดิษฐ์ของโครงการเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างกว้างขวาง จึงได้จัดงานนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นการเผยแพร่ ถ่ายทอดเทคโนโลยีโครงการพัฒนา
สร้างเครื่องย่อยวิเศษให้แก่ บริษัท ผู้ประกอบการ นักวิจัย ชุมชน เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไปด้วย
เมื่อพูดถึงการทางานของเครื่องย่อยวิเศษ หรือ เครื่อง High Pressure Digester ผู้ช่วยศาสตราจารย์แฉล้ม โพธิ์แดง หนึ่งในคณะผู้ประดิษฐ์และเจ้าของผลงาน
ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีความสาเร็จของโครงการพัฒนาสร้างเครื่องย่อยวิเศษ ว่า เครื่องย่อยวิเศษ หรือ เครื่อง High Pressure Digester เป็นเครื่องย่อยสลายวัสดุอินทรีย์
ภายในถังสแตนเลสสตีลและเหล็กกล้า ทรงกระบอกแนวนอน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 725 มิลลิเมตร ยาว 1,200 มิลลิเมตร หนา 14 มิลลิเมตร ขนาดความจุ 30 ลิตร
ซึ่งสามารถเพิ่มอุณหภูมิได้ถึง 200 องศาเซลเซียส โดยมีระบบอัตโนมัติควบคุมอุณหภูมิแบบดิจิตอล และความดันได้ถึง 18 บาร์ ภายในถังมีใบพัดกวนที่สามารถ
ปรับความเร็วรอบเพื่อให้วัสดุอินทรีย์ได้รับความร้อนและความดันอย่างทั่วถึง เพื่อให้เกิดเป็ระบบไฮโดรไลซิสและเป็นการเพิ่มการย่อยสลายอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
ส่วนความวิเศษของเครื่องย่อยสลายวัสดุอินทรีย์นี้ อยู่ที่ฟังชั่นก์การใช้งาน คือ โดยปกติแล้วการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์มักต้องใช้ความร้อน และสารสกัดที่ได้จากการย่อย
อาจจะมีคุณค่าทางสารอาหารไม่ครบ เพราะเสื่อมสลายไปตามอุณหภูมิความร้อนที่ได้รับ แต่เครื่องย่อยวิเศษนี้สามารถย่อยวัสดุอินทรีย์ได้โดยปราศจากความร้อน
แต่ใช้แรงดันในการย่อยสลายแทน และสารสกัดที่ได้จากการย่อยยังคงคุณค่าทางอาหารไว้อย่างครบถ้วนอีกด้วย...
****************************
Faculty of Engineering, Mahidol University. (Mahidol, Engineering.)
25/25 Phuttamonthon 4 Road, Salaya, Phuttamonthon, Nakhon Pathom 73170 Thailand
Tel: +66 2889 2138
Fax: +66 2441 9731
Email: engineering@mahidol.ac.th