คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
1. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
(ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 255,000 บาท/4 ปี)
สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลเป็นสาขาวิชาทางด้านวิศวกรรมที่ใช้หลักการทางวิศวกรรมในการออกแบบ การวิเคราะห์ การผลิต และการบำรุงรักษาเครื่องจักรและเทคนิคการผลิตเครื่องกล หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยมหิดล ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561 ได้เพิ่มรายวิชาที่พัฒนานักศึกษาให้ มุ่งมั่น: สามารถกำหนดเป้าหมาย มีความตั้งใจและรับผิดชอบในการทำงานด้วยความเพียรพยายาม อดทน เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย
รู้จริง: ความรู้ทั้งพื้นฐาน และความรู้ด้านวิศวกรรมเครื่องกล เพื่อประยุกต์ในการแก้ปัญหา หรือการแสดงความคิดเชิงวิพากษ์ในด้านต่าง ๆ ทั้ง
ก้าวทันโลก: ความสามารถในการปรับตัว ทั้งด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมถึงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์สมัยใหม่ โดยมุ่งเน้นความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม
มืออาชีพ: เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมทางวิศวกรรม มีทักษะด้านต่าง ๆ เช่น การนำเสนองาน การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม
อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา: วิศวกรรมเครื่องกลมุ่งเน้นพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม จึงเป็นพื้นฐานของวิศวกรรมทุกแขนง จึงสามารถปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์และระบบไฟฟ้า อุตสาหกรรมการควบคุมและระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบปรับอากาศและทำความเย็น อุตสาหกรรมเครื่องกลและการผลิตต่าง ๆ รวมทั้งงานที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงและบริการทางเทคนิค
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering) https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egme/2. สาขาวิศวกรรมเคมี หลักสูตรปกติ
(ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 255,000 บาท/4 ปี)
สาขาวิศวกรรมเคมี หลักสูตรนานาชาติ
(ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 600,000 บาท/4 ปี)
สาขาวิศวกรรมเคมี คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาออกแบบและควบคุมกระบวนการทางอุตสาหกรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงสารตั้งต้นเป็นผลิตภัณฑ์ โดยคำนึงถึงความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมและจุดคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์ ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงประเทศ วิศวกรเคมีจะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม ให้ประเทศไทยก้าวสู่ยุค 4.0 อย่างเต็มภาคภูมิ
“ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีปณิธานในการผลิตวิศวกรเคมี ผู้มีศักยภาพสูงในสายวิชาการ วิจัยและปฏิบัติการ มีทักษะเชิงคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาทางวิศวกรรมและความคิดสร้างสรรค์ในการสังเคราะห์นวัตกรรม โดยใส่ใจในเรื่องความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม” การเรียนรู้ทักษะผู้ประกอบการ ประเมินความคุ้มทุนและกำหนดเป้าหมายการพัฒนาโดยใส่ใจความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ได้อีกด้วย โดยมีสาขาวิจัยหลัก คือ Advanced Chemical Engineering, Alternative Energy, Advance Materials, Food and Bioprocess, Pharmaceutical Engineering เน้นกระบวนการเรียนรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติ ฝึกกระบวนการคิด (System Thinking) รวมทั้งฝึกทักษะด้านบริหารจัดการองค์ความรู้และความสัมพันธ์เชิงบวก
อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา: วิศวกรเคมี วิศวกรผู้ควบคุมระบบการผลิต วิศวกรออกแบบกระบวนการผลิต วิศวกรโครงการ วิศวกรออกแบบผลิตภัณฑ์ นักวิชาการและนักวิจัย วิศวกรที่ปรึกษา และวิศวกรฝ่ายขาย และนักวิจัย
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering) https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egche/
3. สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
(ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 255,000 บาท/4 ปี)
สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มุ่งสู่ความเป็นผู้นำและนักนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมสมัยใหม่และการเป็นวิศวกรรมการผลิตในยุคดิจิตอล เพื่อตอบสนองความต้องการประชาคมในประเทศและของโลก มุ่งเน้นการสร้างพื้นฐานการบริหารและการจัดการในเชิงอุตสาหกรรม การออกแบบ พัฒนา ทดสอบ และประเมินผลภาพของระบบ (Integrated systems) เพื่อบริหารจัดการกระบวนการผลิตที่เกี่ยวกับตัวประกอบของงาน และวิธีการทำงานของมนุษย์ การควบคุมคุณภาพ การควบคุมคงคลังสินค้า โลจิสติกส์และการไหลของวัสดุ การวิเคราะห์ต้นทุน และการสื่อสารงานภายในองค์กร
ความโดดเด่นในสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คือ กรรมวิธีการผลิต (Manufacturing Processes) และวัสดุวิศวกรรม (Engineering Materials) การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ การวิเคราะห์ และการผลิต (Computer-Aided Design, Engineering and Manufacturing) กรรมวิธีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม (Automation Process and Industrial Robot) การออกแบบกระบวนการผลิต (Production Design) และการจำลองสถานการณ์ (Simulation) การออกแบบวิธีการทำงาน (Work Design) การศึกษาเวลา (Time Study) และการออกแบบผังโรงงาน (Plant Layout) และอื่น ๆ อีกมากมาย
อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา:
• วิศวกรอุตสาหการในทุกองค์กร (หน่วยงานราชการ, รัฐวิสาหกิจ, หน่วยงานเอกชน)
• วิศวกรควบคุมคุณภาพ
• วิศวกรโลจิสติกส์
• วิศวกรออกแบบและควบคุมกระบวนการผลิต
• วิศวกรออกแบบผลิตภัณฑ์
• วิศวกรฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายขาย
• วิศวกรประเมินและบริหารโครงการ
• วิศวกรเชื่อมโยงระบบและกระบวนการ (System Integrator)
• ผู้ริเริ่มธุรกิจ (Startup) ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egie/main/
สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
หลักสูตรนานาชาติ สาขาวิชาเอกวิศวกรรมผลิตภัณฑ์นมและเครื่องดื่ม
(ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 600,000 บาท/4 ปี)
Bachelor of Engineering Program in Industrial Engineering (IE) with major in Dairy and Beverage Engineering (DBE) is the first program in Thailand exclusively designed to prepare students for emerging ASEAN and Global manufacturing markets. Upon the completion of the program, students will have competencies in Industrial Engineering along with microbiology, holistic DBE process engineering, and the essential skills of collaborative management, leadership, and English.
Career options after graduation:
• Industrial engineers for all organizations
• Quality control and quality assurance engineer,
• Safety engineer
• Maintenance engineer
• Product design and development engineer
• Production planning and control engineer
• Project evaluation and administration engineer
• Procurement and sales engineer
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egie/main/
4. สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
(ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 255,000 บาท/4 ปี)
สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นหลักสูตรที่สร้างวิศวกรให้มีความสามารถในการบูรณาการและประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มุ่งเน้นผู้เรียน ผลลัพธ์การเรียนรู้ ด้วยการผสมผสานเนื้อหาเรียนทั้งทฤษฎี และปฏิบัติบนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และบริบทของสังคมโลก มุ่งเน้นการเรียนการสอนที่เข้าถึงและถ่ายทอดความรู้แก่นักศึกษาได้อย่างใกล้ชิด นักศึกษาที่เลือกเรียนสาขานี้ จะได้เรียนรู้ถึงระบบการสร้างพลังงานไฟฟ้า การส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า และการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยมีวิชาที่ต้องศึกษาสอดคล้องกับข้อกำหนดของสภาวิศวกร นอกจากนั้นยังจะได้เรียนรู้ในห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย อาทิ ห้องปฏิบัติการพื้นฐานทางวิศวกรรมไฟฟ้า ห้องปฏิบัติการระบบเครื่องจักรกลไฟฟ้า ห้องปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์กำลังและขับมอเตอร์ และห้องปฏิบัติอื่น ๆ อีกมากมาย
อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา: วิศวกรออกแบบระบบไฟฟ้า วิศวกรติดตั้งและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า วิศวกรโรงงาน วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรที่ปรึกษาระบบไฟฟ้า วิศวกรฝ่ายขาย วิศวกรควบคุม และนักวิชาการและนักวิจัย
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering) https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egee/
5. สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
(ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 255,000 บาท/4 ปี)
สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มุ่งผลิตวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านการวิจัยและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อตอบสนองแก่นโยบายชาติในการนำประเทศไทยสู่ยุค Thailand 4.0 โดยนักศึกษาที่จบการศึกษาจะมีความสามารถในการวิเคราะห์ออกแบบและพัฒนาทั้งระบบ Software และ Hardware อาทิเช่น สามารถสร้างระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ซับซ้อน พัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือ ออกแบบและพัฒนาระบบเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์ พัฒนาอุปกรณ์โดยใช้ Microcontroller และ Embedded Systems รวมทั้งการสืบสวนจากหลักฐานทาง Digital
อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา: วิศวกรภายในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ อวกาศและโทรคมนาคม บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ วิศวกรคอมพิวเตอร์ออกแบบอุปกรณ์เทคโนโลยีระดับสูง ระบบเครือข่ายไร้สาย อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และทำงานกับระบบที่มีวงจรคอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบ เช่น เครื่องบิน ยานอวกาศ ระบบควบคุมยานยนต์
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering) https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egco/
6. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
(ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 255,000 บาท/4 ปี)
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มุ่งเน้นการสร้างบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ที่มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรม ทั้งในด้านการวางแผนโครงการ การวิเคราะห์ออกแบบโครงสร้าง และการควบคุมงานก่อสร้าง โดยคำนึงถึงความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมและสังคม มีคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ และมีคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตามที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด มุ่งเน้นการเรียนการสอนทั้งทางทฤษฎี การประยุกต์ใช้ และการวิจัยในระดับนานาชาติ ให้นักศึกษาและผู้ที่สนใจทุกท่านมั่นใจในเนื้อหารายวิชาและคณาจารย์ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ มีประสบการณ์ในการประกอบวิชาชีพและทำวิจัย และสามารถดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด
7. สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์
(ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 600,000 บาท/4 ปี)
สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มุ่งเน้นเพื่อเตรียมนักศึกษาให้เป็นผู้นำด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์และเพื่อการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาหรือสาขาที่เกี่ยวข้องในด้านวิชาการและอุตสาหกรรม โดยมีระบบการเรียนการสอนที่มีคามยืดหยุ่นซึ่งจะทำให้นักเรียนได้สัมผัสกับการพัฒนาและนวัตกรรมใหม่ๆ ให้ความรู้เชิงลึกในด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ ให้ความรู้การคิดด้วยตนเองในการแก้ปัญหาที่ผสมผสานระหว่างวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ นอกจากนี้ ยังเน้นส่งเสริมสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบสหวิทยาการเพื่อฝึกให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในตำแหน่งที่ต้องการการเติบโตทางปัญญา การเปิดโอกาสในซักถามถามอย่างเปิดเผย การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการคิดด้วยตนเอง เพื่อจะสามารถแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่ซับซ้อนในอุตสาหกรรมวิชาการและการแพทย์ที่ต้องการการผสมผสานความรู้ที่หลากหลาย
ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์มีระบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการประยุกต์ปฏิบัติจริง ได้เรียนรู้นอกเหนือภายในห้องเรียนแบบเดิม ๆ มาสู่การเรียนรู้ในห้องปฏิบัติจริง โดยภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์มีห้องปฏิบัติการชั้นนำระดับโลกมากมาย ตัวอย่างเช่น ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์ (BART LAB) ซึ่งมุ่งเน้นการทำวิจัยทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ซึ่งใช้วิชาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ห้องปฏิบัติการระบบอัจฉริยะเพื่อการแพทย์ (AIM LAB) ห้องปฏิบัติการชีวพอลิเมอร์และวิศวกรรมระดับนาโนเพื่อพัฒนาระบบส่งยาและการสร้างภาพทางการแพทย์ (BioNEDD LAB)ห้องปฏิบัติการการเชื่อมต่อสัญญาณสมองด้วยคอมพิวเตอร์ (BCI LAB) และห้องปฏิบัติการอีกมากมายที่ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตร 2 ปริญญาระหว่าง 2 สถาบัน คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและคณะวิศวกรรมศาสตร์ University of Strathclyde (มหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์) โดยหลักสูตรนี้จะเปิดโอกาส ให้นักศึกษาได้ไปศึกษา ณ มหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์เป็นเวลา 2 ปี สำหรับหลักสูตรปริญญาตรี โดยจะเน้นศึกษาบนการทำโครงการและงานวิจัยร่วมกันระหว่าง 2 สถาบัน ทั้ง 2 สถาบัน มีลักษณะที่โดดเด่น ได้แก่ มีความหลากหลายทางด้านโครงงานและงานวิจัย,มีความร่วมมือที่แน่นแฟ้นกับสถาบันทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียง, มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับผู้ประกอบการและธุรกิจ, ความสำเร็จและประวัติศาสตร์อันยาวนานของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรนี้อาศัยจุดแข็งของ 2 สถาบันคือ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลมีประสบการณ์ด้านงานวิจัยและพัฒนารวมถึงการศึกษาทางวิชาการด้านการพัฒนาเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมากว่า 15 ปี นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในต่างประเทศที่มีความพร้อมที่จะสามารถร่วมกันสร้างหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและมุ่งมั่นพัฒนาศาสตร์ด้านวิศวกรรมเพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกัน
อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา:
Medical Device Company: Product specialist, R&D engineer, etc.
• Researcher in Biomedical Engineering or a related fields
• Entrepreneurs in Medical Industry and Technology
• Officials in government agency in the field of Biomedical Engineering or related fields
• Biomedical Engineer
ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering) https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egbe/webth/
ทุกหลักสูตรในระดับปริญญาตรีของคณะวิศวกรรมศาสตร์
มีหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา (ระดับปริญญาโท) เพื่อศึกษาต่ออย่างต่อเนื่องในทุกหลักสูตร
Faculty of Engineering, Mahidol University. (Mahidol, Engineering.)
25/25 Phuttamonthon 4 Road, Salaya, Phuttamonthon, Nakhon Pathom 73170 Thailand
Tel: +66 2889 2138
Fax: +66 2441 9731
Email: engineering@mahidol.ac.th