ระบบการขนส่งทางราง

ปัจจุบันรัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเดินทางและขนส่งทั่วประเทศทั้งระบบขนส่งมวลชนในเขตพื้นที่เมืองและระบบการเดินทาง/ขนส่งระหว่างเมือง แผนการพัฒนาระบบขนส่งทางรางตั้งเป้าหมายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเดินทางและขนส่งจากการเดินทางและขนส่งทางถนนมาเป็นการเดินทางและขนส่งทางราง รัฐบาลได้เห็นชอบแผนแม่บทเพื่อพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สำหรับรถไฟฟ้า 12 สาย ในระยะ 10-20 ปี (พ.ศ. 2553-2572) โดยมีกรอบวงเงิน 830,470 ล้านบาท และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2553 ที่ได้เห็นชอบแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทยในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2553-2557) วงเงินลงทุนรวม 176,808 ล้านบาท ก่อให้เกิดการพัฒนาระบบขนส่งทางราง ไม่ว่าจะเป็นระบบรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าบนดิน และรถไฟฟ้าใต้ดิน ทั้งที่ก่อสร้างในปัจจุบันและกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้

แนวโน้มความต้องการพัฒนาดังกล่าวก่อให้เกิดความต้องการกำลังคนด้านปฏิบัติการระบบขนส่งทางราง มีการคาดการณ์ว่าโครงการขยายเส้นทางระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่จะมีขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีความต้องการบุคลากรปฏิบัติการระบบขนส่งทางรางจำนวนทั้งสิ้นราว 3,700 คน และในจำนวนนี้ต้องการบุคลากรทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีไม่ต่ำกว่า 2,000 คน

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบขนส่งทางรางจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรที่มีความโดดเด่นและโครงการวิจัยเชิงบูรณาการพหุสาขาวิชา โดยมุ่งสนับสนุนการสร้างบุคลากรที่มีความสามารถด้านการวิจัยรวมทั้งบุคลากรที่พร้อมออกปฏิบัติหน้าที่ในกิจการด้านต่างๆ ของระบบราง

Image

Bangkok Rail Transit: All Line
(สีมาตรฐาน)

Image

Bangkok Rail Transit: All Line
(แยกสายสีแดง/สายสีแดงอ่อน)

Image

Bangkok Rail Transit: In Service

กลุ่มสาขาวิชาโลจิสติกส์และระบบขนส่งทางราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 
25/25 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 
โทรศัพท์ (66) 2889 2138 ต่อ 6619  e-mail: potjanee.sen@mahidol.edu

Copyright ©2025 Faculty of Engineering, Mahidol University. All Rights Reserved.

facebook_page_plugin
facebook_page_plugin