ข้อมูลหลักสูตร
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย | : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการสมาร์ต |
ภาษาอังกฤษ | : Master of Engineering Program in Smart Industrial Engineering |
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อภาษาไทย
ชื่อเต็ม | : วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการสมาร์ต) |
ชื่อย่อ | : วศ.ม. (วิศวกรรมอุตสาหการสมาร์ต) |
ชื่อภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม | : Master of Engineering (Smart Industrial Engineering) |
ชื่อย่อ | : M. Eng. (Smart Industrial Engineering) |
สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
- เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๖
- เริ่มใช้ในภาคการศึกษาที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ เป็นต้นไป
- คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตร พิจารณาหลักสูตรนี้ในประชุม ครั้งที่ ๓๓/๒๕๖๔
เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔ และครั้งที่ ๑๕/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๕ - สภามหาวิทยาลัยมหิดล อนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ ๕๘๔ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕
ปรัชญา ความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรนี้มีเป้าหมายในการพัฒนามหาบัณฑิตให้เป็นทรัพยากรบุคคลของประเทศที่มีคุณธรรม มีจริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรู้ ความชำนาญ สามารถวิเคราะห์ ประยุกต์ศาสตร์และเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมอุตสาหกรรม ประกอบด้วย ระบบการผลิต และการจัดการทางวิศวกรรมที่ครอบคลุมการวิเคราะห์ข้อมูล ระบบโลจิสติกส์ และระบบโลจิสติกส์สุขภาพเพื่อพัฒนา หรือประยุกต์นวัตกรรมในการพัฒนาหรือแก้ปัญหาของภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ หรือสังคม
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว มหาบัณฑิตจะมีคุณลักษณะตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา ดังนี้
- มีคุณธรรม จริยธรรม ตามมาตรฐานจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
- มีความรู้และความเข้าใจในหลักการด้านการผลิตและการจัดการวิศวกรรมสมาร์ต
- สามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่ซับซ้อน รวมทั้งสามารถประยุกต์นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการจัดการวิศวกรรมสมาร์ต
- มีทักษะการทำงานเป็นทีม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีภาวะผู้นำและมีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
- มีทักษะในการสื่อสารทั้งการพูดและการเขียน และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าเพื่อการรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอผลงานได้อย่างเหมาะสม
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
- แสดงถึงคุณธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
- อธิบายทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือการจัดการวิศวกรรมสมาร์ต
- แก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล หรือปัญญาประดิษฐ์หรือการผลิตรูปแบบดิจิทัล ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการจัดการวิศวกรรมสมาร์ต รวมทั้งประยุกต์นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือการจัดการวิศวกรรมสมาร์ตสู่ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ภาคการบริการสุขภาพหรือสังคม
3.1 แก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล หรือปัญญาประดิษฐ์หรือการผลิตรูปแบบดิจิทัล ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการจัดการวิศวกรรมสมาร์ต
3.2 ประยุกต์นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือการจัดการวิศวกรรมสมาร์ตสู่ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ภาคการบริการสุขภาพหรือสังคม - แสดงถึงความสามารถในการทำงานเป็นทีม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีภาวะผู้นำและมีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
4.1 แสดงถึงความสามารถในทำงานเป็นทีม มีภาวะผู้นำ
4.2 มีความรับผิดชอบและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี - แสดงถึงทักษะในการสื่อสารทั้งการพูดและการเขียน และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งนำเสนอผลงานได้อย่างเหมาะสม
5.1 แสดงถึงทักษะในการสื่อสารทั้งการพูดและการเขียน
5.2 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรวบรวมวิเคราะห์และนำเสนอผลงาน
ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร* | |||||||
PLO1 | PLO2 | PLO3 | PLO4 | PLO5 | ||||
PLO3A | PLO3B | PLO4A | PLO4B | PLO5A | PLO5B | |||
๑. มีคุณธรรม จริยธรรม ตามมาตรฐานจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ | / |
|
|
|
|
|
|
|
๒. มีความรู้และความเข้าใจในหลักการด้านการผลิตและการจัดการวิศวกรรมสมาร์ต |
| / |
|
|
|
|
|
|
๓. สามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่ซับซ้อน รวมทั้งสามารถประยุกต์นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการจัดการวิศวกรรมสมาร์ต |
|
| / | / |
|
|
|
|
๔. มีทักษะการทำงานเป็นทีม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีภาวะผู้นำและมีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย |
|
|
|
| / | / |
|
|
๕. มีทักษะในการสื่อสารทั้งการพูดและการเขียน และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าเพื่อการรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอผลงานได้อย่างเหมาะสม |
|
|
|
|
|
| / | / |
TQF2_2566.pdf ( Filesize : 1 MB )
SAR-2019.pdf ( Filesize : 1 MB )