Energy

Energy and climate change

 

ผลการตรวจวัดพลังงานที่สูญเสียไปจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้ใช้งาน

มาตรการและแนวทางปฏิบัติในการประหยัดพลังงาน ปี 2555
ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

       สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2555 ลงมติว่า เห็นชอบมาตรการลดใช้พลังงานภาครัฐตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นถือปฏิบัติและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ให้ทุกหน่วยงานรับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาประกอบการดำเนินการ จึงกำหนดมาตรการประหยัดพลังงานและสาธารณูปโภค ให้คณะผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาทุกคนถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดทุกข้อ ดังนี้.-

ก. มาตรการในการประหยัดไฟฟ้า
1. เครื่องปรับอากาศ
1. ตั้งเวลาเปิด – ปิดเครื่องปรับอากาศ
- อาคารสำนักงาน (สำนักงานคณบดีและภาควิชา)
ช่วงเช้า เปิดเวลา 09.00 - 11.30 น.
ช่วงบ่าย เปิดเวลา 13.00 - 16.00 น.
- ห้องเรียน (ผู้ดูแลห้องเรียน) ปิดเครื่องปรับอากาศทันทีหลังจากเลิกใช้งาน
2. ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ ที่ 25-26 องศาเซลเซียส
3. ทำความสะอาดแผ่นกรอง / ไส้กรอง ของเครื่องปรับอากาศ อย่างน้อย 2 เดือน 1 ครั้ง โดยให้ทำ Check Sheet เพื่อตรวจเช็ค
4. ทำความสะอาดแผงระบายความร้อน ทุก 6 เดือน (แผนระยะกลาง)
ข้อเสนอแนะ : ควรวางแผนเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศที่ไม่มีประสิทธิภาพ/เก่า (แผนระยะยาว)

2. เครื่องทำน้ำร้อน/เย็น
1. ควรเปิดเครื่องทำน้ำเย็น เวลา 08.00-20.00 น.
2. ตรวจสอบระดับน้ำ ไม่ให้มากหรือน้อยกว่าที่ระดับกำหนด และไม่ใช้น้ำเย็นในการเติมกระติกน้ำร้อน (สำหรับกระติกน้ำร้อน)
3. หมั่นตรวจสอบเช็คอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างสม่ำเสมอ

3.ตู้เย็น

1. ตั้งตู้เย็นห่างฝาผนัง อย่างน้อย 15 เซนติเมตร เพื่อระบายความร้อน
2. ทำความสะอาดอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง
3. หมั่นตรวจเช็คของแช่ในตู้เย็น และควรนำสิ่งของ/อาหาร ที่ไม่จำเป็นออกจากตู้เย็น
4. ไม่ควรนำของร้อนแช่ตู้เย็น และไม่เปิดตู้เย็นไว้เป็นเวลานาน
5. ควรละลายน้ำแข็งที่เกาะภายในตู้เย็น เมื่อน้ำแข็งเกาะเกินมาตรฐาน
6. ควรหมั่นตรวจสอบขอบยางของตู้เย็นว่าขอบยางปิดสนิทหรือไม่

4.ไฟฟ้า/แสงสว่าง
ระบบ
1. เปลี่ยนบัลลาสอิเล็กทรอนิกส์ ปีละ 10% ของจำนวนทั้งหมด
2. ติดตั้งสวิทซ์ 1 สวิทซ์ ปิดทั้งห้อง พร้อมตั้งเวลา (ห้องเรียน)
3. ติดตั้งมิเตอร์ เพื่อวัดค่าพลังงานในแต่ละชั้นสำหรับอาคาร 1 ภายในปีแรก และอาคารอื่นในปีต่อไป
4. จัดทำป้ายแจ้งชั้น/หน่วยงานในลิฟต์และนอกลิฟต์(รณรงค์การเดินขึ้นลงบันได)
5. ปรับแผนผังให้ใช้พื้นที่/โต๊ะทำงานในสำนักงานให้เหมาะสมกับการใช้พลังงาน

คน
1.ตั้งมาตรการปิดหน้าจอคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ ภายใน 10 นาที
2.ทำความสะอาดหลอดไฟฟ้า อย่างน้อย 3 เดือน ครั้ง
3.ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าหลังเลิกใช้งานตอนเย็น
4.มาตรการปิดปลั๊กไฟชั้นล่างในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ทั้ง 3 อาคาร
5.ปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเลิกใช้งาน 30 นาที
6.จัดทำห้องตัวอย่างในการประเมินผลในการใช้พลังงานในส่วนสำนักงาน

มาตรการรณรงค์และประชาสัมพันธ์
1.จัดทำป้ายสติกเกอร์ ขอความร่วมมือนักศึกษา อาจารย์ ในการประหยัดไฟฟ้า (เครื่องปรับอากาศ)
2.ตั้งบอร์ดประชาสัมพันธ์ แสดงปริมาณการใช้ไฟฟ้า น้ำประปา

ข. มาตรการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง
1. ขับรถไม่เกิน 90 ก.ม./ชม.
- ความเร็วสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้
- ทางธรรมดา 90 กม./ชม.
- ทางด่วน 110 กม./ชม.
- มอเตอร์เวย์ 120 กม./ชม.
2. จอดรถไว้บ้านโดยสารสาธารณะ
3. ไม่ขับก็ดับเครื่อง
4. ทางเดี่ยวกันไป
5. หลีกเลี่ยงชั่วโมงเร่งด่วน
6. ใช้โทรศัพท์/โทรสารเลี่ยงรถติด
– ใช้อุปกรณ์สื่อสารแทนการเดินทาง เช่น ส่งหนังสือระหว่างหน่วยงาน
– หากเร่งด่วนก็ใช้วิธีส่งทางโทรสาร
– หากเป็นเอกสารสำคัญก็ใช้วิธีรวบรวมเอกสาร แล้วส่งพร้อมกัน
– หนังสือเวียนที่ไม่สำคัญก็ใช้วิธีส่ง E-Mail หรือส่งไปรษณีย์
7. วางแผนก่อนเดินทาง
8. ลมยางต้องพอดี และไส้กรองต้องสะอาด
9. ไม่บรรทุกของเกินจำเป็น
10. ตรวจเช็คเครื่องยนต์เป็นประจำ

ค. มาตรการประหยัดน้ำ
1. ใช้น้ำประปาอย่างประหยัด หมั่นตรวจสอบและรีบแก้ไขเมื่อพบการรั่วซึมให้รีบแจ้งงานกายภาพและสิ่งแวดล้อมทันที
2. ใช้หัวก๊อกน้ำที่มีอุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหลของน้ำ ( ให้เปลี่ยนเมื่อมีการชำรุด )
3. ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้เมื่อไม่ได้ใช้งาน / เปิดน้ำให้แรงแต่พอควร
4. ใช้แก้วน้ำหรือภาชนะรองน้ำ ขณะล้างหน้า ล้างมือ ไม่ควรปล่อยให้น้ำไหลตลอดเวลาขณะล้างหน้าหรือล้างมือหรือล้างจาน
5. ล้างรถด้วยฟองน้ำและรองน้ำใส่ถังแทนการใช้สายยางฉีดน้ำโดยตรง
6. ใช้ Sprinkler หรือฝักบัวรดน้ำต้นไม้แทนการฉีดน้ำด้วยสายยาง และเปิด-ปิดให้เป็นเวลา
7. ทำการจดบันทึกปริมาณการใช้น้ำจากมิเตอร์วัดน้ำทุกวัน เพื่อสังเกตความผิดปกติ
8. นำขวดพลาสติกเติมน้ำให้เต็ม นำไปใส่ในถังพักน้ำของชักโครก เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำ

*****************************

ตารางเปรียบเทียบการใช้ไฟฟ้า ปี 2553 - ปัจจุบัน

เดือน  ปีงบประมาณ 2553  ปีงบประมาณ 2554  ปีงบประมาณ 2555  ปีงบประมาณ 2556
ตุลาคม 188490 164490 130740 183780
พฤศจิกายน 159495 182610 75300 186480
ธันวาคม 160065 166260 150480 173880
มกราคม 195570 181560 195480 144318
กุมภาพันธ์ 186756 174930 201780 164970
มีนาคม 232920 183030 208380 172380
เมษายน 179760 143100 190380 134670
พฤษภาคม 186570 174420 190380 161070
มิถุนายน 208710 209160 191580 169320
กรกฎาคม 214860 197400 213180 181110
สิงหาคม 222420 210660 189750 186600
กันยายน 222420 210660 197280 183570

ตารางเปรียบเทียบค่าน้ำมัน ปี 2553 - ปัจจุบัน

เดือน ปีงบประมาณ 2553 ปีงบประมาณ 2554 ปีงบประมาณ 2555 ปีงบประมาณ 2556
ตุลาคม 531.83 500.27 422.81 485.262
พฤศจิกายน 491.32 519.07 - 457.263
ธันวาคม 549.89 291.26 439.8 452.856
มกราคม 431.39 932.12 491.36 529.072
กุมภาพันธ์ 495.8 371.21 699.52 369.159
มีนาคม 348.33 520.21 452.73 391.159
เมษายน 366.53 337.95 346.09 285.29
พฤษภาคม 482.55 494.5 731.38 261.1
มิถุนายน 583.33 336.78 449.18 551.72
กรกฎาคม 466.79 499.45 687.71 381.47
สิงหาคม 824.42 321.23 487.75 579.54
กันยายน 405.89 471.09 620.86  


Faculty of Engineering, Mahidol University 25/25 Puttamonthon Nakorn Pathom 73170
Copyright 2013 Faculty of Engineering, Mahidol University