มหาวิทยาลัยมหิดลเผยโครงการวิจัย “โลจิสติกส์ยางพารา” สู่การแก้ปัญหาของประเทศและการประเมินศักยภาพเชิงบูรณาการการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมในประเทศไทยตอบสนองความต้องการภาคอุตสาหกรรมร่วมขับเคลื่อนความเป็นเลิศและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสู่เวทีโลก
เมื่อวันที่ 30 เมษายน ที่ผ่านมา กองทัพนักข่าวสื่อมวลชนหลายสำนักบุกคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อร่วมฟังคำชี้แจ้งในงานแถลงข่าว “โลจิสติกส์ยางพารา” สู่การแก้ปัญหาของประเทศ ภายในห้อง R 114 คึกคักไปด้วยนักข่าวที่ต้องการมาทำข่าว
|
หลังจากนั้นไม่นาน รศ.ดร. ดวงพรรณ ศฤงคารินทร์ ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสำนักงานศูนย์การจัดการโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็ออกมากล่าวกับสื่อมวลชนว่า งานวิจันชิ้นเด่นปีที่ผ่านมาคือ “โครงการประเมินศักยภาพเชิงบูรณาการการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมในประเทศไทย” สนับสนุนทุนวิจัยโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยมีแรงขับจากยุทธศาสตร์กรพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย เริ่มจากคำถามที่ว่า นโยบายที่ออกโดยภาครัฐด้านต่างๆนั้นตรงกับปัญหาของโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่ โดยงานวิจัยมุ่งเน้นไปที่โลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม โดยเลือกอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศขึ้นมาศึกษานั้นคือ อุตสาหกรรมยางพารา การวิจัยเริ่มจากการศึกษาการไหลของมันตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ซึ่งการแตกส่วนโซ่อุปทานยางพาราออกเป็น เกษตรกร พ่อค้า สหกรณ์ โรงงานแปรรูปและส่งออก
|
งานวิจัยเริ่มจากการศึกษาปัญหาทั้งสายโซ่ในทุกๆส่วนจากปัญหาที่เกิดขึ้นจากผ่านการสัมภาษณ์และระดมสมองผู้ที่อยู่ในวงการทั้งยางพาราและโลจิตส์ติกส์ของประเทศ ปรากฏว่าปัญหาที่ได้นั้นมากมายมีทั้งซ้อนกันในหลายมิติ และหลายๆเรื่องและในที่สุดพบว่าปัญหาย่อยๆของยางพาราในมุมมองโซ่อุปทานนั้น สามารถสกัดออกมาได้ 2 ประเด็นใหญ่ นั้นก็คือ 1. การสร้างมูลค่าเพิ่ม และ 2. การเชื่อมโยงของโซ่อุปทานในชุมชนนั้นเอง