วันที่ 28 ธันวาคม 2559 ณ ห้องประชุมกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประกาศผลผู้ได้รับทุนนักวิจัยแกนนำประจำปี 2559 พร้อมลงนามในสัญญามอบทุนกว่า 40 ล้านบาท ซึ่งมีนักวิจัยแกนนำที่ได้รับทุนนักวิจัยแกนนำประจำปี 2559 จำนวน 2 ท่านได้แก่ ศ.นพ. สุรเดช หงส์อิงคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จากโครงการวิจัย เรื่อง "การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการรักษามะเร็งด้วยวิธีการเพิ่มภูมิคุ้มกัน" และ ศ.ดร. แชบเบียร์ กีวาลา บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จากโครงการวิจัย เรื่อง "เครือข่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการค้า และการผลิตอาหารและพลังงานอย่างยั่งยืน" ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน ไปจนถึงการแปรรูปเป็นอาหาร อาหารสัตว์ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ" โดยมี มก. เข้าร่วมเครือข่ายวิจัยนี้
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ โดยโครงการทุนวิจัยแกนนำเป็นโครงการหนึ่งที่สนับสนุนให้นักวิจัยที่มีคุณภาพสูง ได้สร้างสรรค์และถ่ายทอดผลงานที่เป็นประโยชน์ให้กับประเทศในหลากหลายมิติ ทั้งในด้านสาธารณสุข ด้านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม โดยหวังว่าจะเกิดผลกระทบระดับสูงในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ควบคู่ไปกับการพัฒนานักวิจัยรุ่นกลางและรุ่นใหม่ให้มีศักยภาพสูงขึ้น
ผศ.ดร.ตระการ ประภัสพงษา นักวิจัย ม.มหิดล (หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยวิศวกรรมประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ: Mahidol EcoLab และ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์) กล่าวว่า "เครือข่ายวิจัยนี้เป็นความร่วมมือทางวิชาการ ของนักวิจัยจำนวน 10 คน จาก 6 มหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำ ได้แก่ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ม.มหิดล ม.เกษตรศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ม.พะเยา และ ม.มหาสารคาม มีเป้าหมายในการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้ข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายด้านอาหารและพลังงานทดแทนที่ยั่งยืน และการจัดทำแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เพื่อสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดจน เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย โดยใช้หลักการประเมินความยั่งยืนตลอดวัฏจักรชีวิตที่พิจารณากิจกรรมการผลิตวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การกระจายสินค้า การใช้งาน และ การจัดการของเสียขั้นสุดท้าย ตลอดจน การขนส่งที่เกี่ยวข้องในทุก ๆ ขั้นตอน โดย ม.มหิดล ร่วมวิจัยในการพัฒนาวิธีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักรชีวิต เพื่อสนับสนุนเมืองนวัตกรรมอาหารและอุตสาหกรรมพลังงานชีวภาพที่ยั่งยืนในประเทศไทย"
เครือข่ายวิจัยฯนี้ มีนัยสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในการพัฒนานวัตกรรมหรือเครื่องมือเพื่อการสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายสำหรับการผลิตอาหารและพลังงานทดแทนอย่างยั่งยืนของภาครัฐ ช่วยสนับสนุนการค้าและการผลิตอย่างเป็นรูปธรรมกับผู้ประกอบการ จำแนกมาตรการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มผลผลิต และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ ข้อเสนอแนะรูปแบบการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย สามารถเป็นแกนนำในการขยายงานวิจัยเพื่อตอบโจทย์นโยบายเกษตร อาหารและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้ง สร้างการยอมรับจากสากลถึงมาตรฐานการผลิตที่ยั่งยืนของประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยยังเป็นผู้นำของโลกและสามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ และที่สำคัญที่สุดเพื่อมุ่งไปสู่การผลิตอาหารและพลังงานทดแทนที่ยั่งยืน สร้างการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนของประเทศไทยในระยะยาว ตามเป้าหมายด้าน "มั่นคง"ทางทรัพยากรธรรมชาติ อาหาร และพลังงาน "มั่งคั่ง" ทางการพัฒนาเศรษฐกิจ และ "ยั่งยืน" ทางสิ่งแวดล้อมและสังคม สู่ไทยแลนด์ 4.0
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ ผศ.ดร.ตระการ ประภัสพงษา (This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it./ 02-889-2138 ต่อ 6396-7)
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มอบทุนนักวิจัยแกนนำ ปี 2559
ศ.นพ. อุดม คชินทร อธิการบดี ม.มหิดล ผศ.ดร. ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ อาจารย์ ดร. วศพร เตชะพีรพานิช หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม ร่วมแสดงความยินดี
ศ.ดร.แชบเบียร์ กีวาลา (หัวหน้าโครงการ จากบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มจธ.) และคณะวิจัยจากเครือข่าย 6 มหาวิทยาลัย ทั่วประเทศไทย
ผศ.ดร.ตระการ ประภัสพงษา หัวหน้า Mahidol EcoLab ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล
Master Program in Civil Engineering (International Program),
Department of Civil and Environmental Engineering,
Faculty of Engineering, Mahidol University
Address: 25/25 Puttamonthon 4 Rd., Salaya, Puttamonthon,
Nakhon Pathom 73170, Thailand
Phone: (+66) 2889 2138 ext. 6396-7
Fax: (+66) 2889 2138 ext. 6388
Email: pacharee.pru@mahidol.ac.th,
wutjanun.mut@mahidol.ac.th, teraphan.orn@mahidol.edu