ในช่วงระหว่างวันที่ 11 ถึง 14 ก.พ. 59 อาจารย์ ดร. ตระการ ประภัสพงษา หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยวิศวกรรมประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficient Engineering Research Lab; MU EcoLab) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ (หลักสูตรนานาชาติ) ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมงานประชุมกับทีมนักวิจัยจาก 5 มหาวิทยาลัย ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. แชบเบียร์ กีวาลา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธภัทร ศิลาเลิศรักษา จาก บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัตนาวรรณ มั่งคั่ง จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จรงค์พันธ์ มุสิกะวงศ์ จาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณภัทร จักรวัฒนา จาก มหาวิทยาลัยพะเยา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิตติมา ประสาระเอ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้โครงการ Research Network for LCA and Policy on Food, Fuel and Climate Change (FFCC) ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ตั้งแต่ปี 2555 ถึงปี 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานักวิจัยให้มีศักยภาพเป็นผู้วิจัยที่มีคุณภาพ เพื่อก้าวไปสู่การเป็นนักวิจัยระดับแนวหน้าเป็นที่ยอมรับของสากล โดยเน้นการสร้างผลงานวิจัยที่ส่งผลกระทบทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมต่อประเทศไทย เพื่อผลักดันให้เกิดเครือข่ายงานวิจัยเชิงนโยบายและเชิงประยุกต์ด้านการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment;LCA) ที่เน้นประเด็นอาหารเชื้อเพลิง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอกาศ โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายในและต่างประเทศ
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ เป็นการประชุมร่วมกันครั้งที่ 1 ประจำปี 2559 จัดที่ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะนักวิจัยได้เยี่ยมชมโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบของบริษัทลาภทวีอินดัสตรี้ย์จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ส่งเสริมการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนในประเทศไทย โดยทางโรงงานได้มีการนำของเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต เช่น ทะลายปาล์มเปล่า กะลาปาล์ม ใยปาล์ม และ กะลาปาล์ม ไปใช้หรือขายต่อเพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ หรือเพื่อการผลิตพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คณะนักวิจัยภายใต้โครงการ Research Network for LCA and Policy on Food, Fuel and Climate Change
การประชุมร่วมกันครั้งที่ 1 ประจำปี 2559 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะนักวิจัยเยี่ยมชมโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบของบริษัทลาภทวีอินดัสตรี้ย์จำกัด
ผลปาล์มสด ที่นำมาใช้ในการผลิตน้ำมันปาล์มดิบและเป็นแหล่งพลังงานชีวมวลที่สำคัญของประเทศไทย
ทะลายปาล์มสดก่อนเข้ากระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม
ทะลายปาล์มเปล่าที่นำมาใช้ประโยชน์ในการเพาะเห็ดของชุมชนรอบโรงงาน
กระบวนการนึ่งปาล์มสดซึ่งใช้กะลาปาล์มและใยปาล์มเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลในการผลิตพลังงานความร้อน
กะลาปาล์มซึ่งเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลที่นำมาใช้ในโรงงานเองและนำไปขายต่อให้กับอุตสาหกรรมอื่น
ใยปาล์มซึ่งเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลที่นำมาใช้ในโรงงานเองและนำไปขายต่อให้กับอุตสาหกรรมอื่น
น้ำเสียจากกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์มซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งผลิตก๊าซชีวภาพ
ระบบก๊าซชีวภาพที่ผลิตพลังงานจากน้ำเสียจากกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม (อยู่ระหว่างการก่อสร้าง)
Master Program in Civil Engineering (International Program),
Department of Civil and Environmental Engineering,
Faculty of Engineering, Mahidol University
Address: 25/25 Puttamonthon 4 Rd., Salaya, Puttamonthon,
Nakhon Pathom 73170, Thailand
Phone: (+66) 2889 2138 ext. 6396-7
Fax: (+66) 2889 2138 ext. 6388
Email: pacharee.pru@mahidol.ac.th,
wutjanun.mut@mahidol.ac.th, teraphan.orn@mahidol.edu