EGME’s Information
On January 18th, 1989, Mahidol University initiated the establishment of the Faculty of Engineering, Mahidol University. In the process, a draft mechanical engineering curriculum was also proposed to the Mahidol University Council. The curriculum was approved by the Mahidol University Council on October 4th, 1989. Subsequently, the Ministry of University Affairs and the Cabinet approved the establishment of the Faculty of Engineering, Mahidol University and it was published in the Royal Gazette. According to the Royal Decree, the Faculty of Engineering with the Department of Mechanical Engineering was established on August 29th, 1990. There were 20 students in the first batch with Lect. Panyot Thothong as the first Department Chair of Mechanical Engineering. Up to now, the Department of Mechanical Engineering has produced 910 engineers for the business and industrial sectors.
EGME Vision Statement: A Leader in Delivering Innovation and Globally Recognized Graduates
EGME Core Value: Determine, Educated, Evolving, and Professional (DEEP)
ข้อมูลภาควิชา
วิศวกรรมเครื่องกล ถือเป็นสาขาวิชาพื้นฐานที่สำคัญต่อการศึกษาหรือพัฒนาองค์ความรู้ทางวิศวกรรมในด้านต่างๆ โดยในหลักการแล้วนั้นการศึกษาด้านวิศวกรรมเครื่องกลจะมุ่งเน้นการศึกษา วิเคราะห์ อธิบาย ออกแบบ และพัฒนาการเคลื่อนที่ของสิ่งที่สนใจ โดยสิ่งที่สนใจในที่นี้อาจเป็นสิ่งที่มองเห็น เช่น การเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ หรืออาจะเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น เช่น พลังงานในรูปแบบต่างๆ
อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลมีจำนวน 16 คน โดยจำนวนนี้เป็นอาจารย์ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกจำนวน 14 คน และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท 2 คน งานวิจัยและความเชี่ยวชาญของอาจารย์ประจำภาควิชามีความหลากหลาย เช่น พลังงานหมุนเวียน การควบคุมอัตโนมัติ ยานยนต์ การเผาไหม้ภายใน โครงสร้างอากาศยาน ระบบทำความเย็น ระบบปรับอากาศ ชีวกลศาสตร์ วิธีเชิงตัวเลขของกลศาสตร์ของไหล (CFD) ไฟไนต์เอลิเมนต์ หุ่นยนต์ ระบบประมวลภาพ กลศาสตร์เชิงทฤษฎี เป็นต้น
ปีการศึกษา 2559 มีนักศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวน 297 คน (รวมทั้ง 4 ชั้นปี) และในระดับปริญญาโท จำนวน 30 คน และปริญญาเอก 7 คน มีชมรมของนักศึกษาจำนวน 1 ชมรม คือ ชมรมออโต้เทค
นอกจากการใช้พื้นที่สำหรับนักศึกษาแล้ว ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลยังมีหน่วยวิจัยและบริการวิชาการ รวมถึงห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของภาควิชาฯเอง ประกอบด้วย
1. โครงการที่ปรึกษาทางวิศวกรรม (Office of Engineering Consultancy) ซึ่งมีหน้าที่ศึกษาความ
เหมาะสมการลงทุน การออกแบบควบคุมติดตั้งระบบ ตรวจวินิจฉัย ตรวจสอบมาตรฐาน ประเมินผลให้คำปรึกษา แนะนำ ฝึกอบรมวิจัยและพัฒนา บำรุงรักษาซ่อมและปรับปรุงระบบทางวิศวกรรมเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
2. โครงการศูนย์วิจัยและปฏิบัติการทดสอบพลังงาน (Center for Energy Research and Testing
Laboratory) ซึ่งทำหน้าที่ศึกษาและวิจัยด้านมาตรฐานการทดสอบทางด้านวิศวกรรม โดยมุ่งเน้นการทดสอบสมรรถนะและประสิทธิภาพของอุปกรณ์ เครื่องจักรหรือวัสดุ รวมทั้งการออกแบบเครื่องมือ/ห้องทดสอบสมรรถนะ และประสิทธิภาพของอุปกรณ์ เครื่องจักร หรือวัสดุที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลโดยมีห้องปฏิบัติการทดสอบภายใต้การกำกับดูแลของศูนย์ฯ จำนวน 5 ห้อง
– ห้องทดสอบมอเตอร์และ Inverter ตามมาตรฐาน IEC60034-2 และ IEC61800-3(ขนาด 3-10 HP) ใช้ห้องทดสอบอยู่ภายนอกมหาวิทยาลัย
– ห้องทดสอบมอเตอร์และ Inverter ตามมาตรฐาน IEC60034-2 และ IEC61800-3 (ขนาด 10-50 HP) ME117
– ห้องทดสอบเตาแก๊สแรงดันต่ำตามมาตรฐาน มอก. 2312
– ห้องทดสอบฉนวนกันความร้อนตามมาตรฐาน ASME 177
– ห้องทดสอบเครื่องยนต์ขนาดเล็กตามมาตรฐาน JIS8017-JIS8018
3. ห้องปฏิบัติการกลศาสตร์เชิงคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ (Laboratory of Computer
Mechanics for Design) สามารถออกแบบเครื่องจักรกล การวิเคราะห์การกระแทก การวิเคราะห์การไหล การวิเคราะห์การสั่นสะเทือน การวิเคราะห์การถ่ายเทความร้อน โดยช่วยอำนวยความสะดวกในการคำนวณและลดเวลาที่ใช้ในการออกแบบ
4. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering Computer
Laboratory) ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงจำนวน 40 เครื่องพร้อมด้วยซอฟท์แวร์เฉพาะทางที่เหมาะสมสำหรับการศึกษ การวิจัย และการออกแบบทางวิศวกรรมเครื่องกล