index


ข่าว  
main
main

Bachelor of Engineering Program in Biomedical Engineering (International Program) Academic Year 2025

TCAS 1/1: Portfolio
Application period: 1 - 16 October, 2024
--------------------------------------------------
Official announcement: (https://tcas.mahidol.ac.th/)
--------------------------------------------------
Requirement document for application:
1. Transcript (GPAX ≥ 3.25)
2. Portfolio
3. Official report of one of the following English proficiency tests (the score result must not be older than 2 years from the application date):
- IELTS ≥ 5.5 or
- TOEFL IBT ≥ 65 or
- TOEFL-ITP ≥ 520 or
- MU Grad Test ≥ 80 or
- MU-ELT ≥ 90 or
- Duolingo ≥ 100 or
- CEFR ≥ Level B2
4. Recommendation 3 letters.
5. Statement of purpose expressing the purpose of study in engineering program and expected career.
--------------------------------------------------
For more information
Tel. 02-8892138 Ext. 6034/ 02-4414255


main
main

งานมหิดลวิชาการ 2567 วิศวะมหิดลเปิดบ้าน “Empowering the Next Generation”

วันที่ 7-8 กันยายน 2567 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมจัดนิทรรศการและเปิดห้องปฏิบัติการให้เข้าชม ในงานเปิดบ้านวิศวะมหิดล (EG open House) ปีนี้จัดขึ้นในธีม “Empowering the Next Generation” ภายในงานมีกิจกรรมมากมาย อาทิ EG Open House การประชาสัมพันธ์ภาควิชาต่างๆ, EG TCAS การแนะนำระบบรับนักศึกษาใหม่ วิธีการสมัครสอบ TCAS68 อีกทั้งยังมี EG Tour เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของภาควิชาต่าง ๆ แบบ Exclusive! เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาต่อไป


main
main

Bachelor of Engineering Program in Biomedical Engineering (International Program) Academic Year 2025

Direct Admission by Faculty of Engineering
Application period: 6-20 September, 2024
--------------------------------------------------
Official announcement: (https://www.eg.mahidol.ac.th/egmu_eng/apply-online)
--------------------------------------------------
Requirement document for application:
1. Transcript (GPAX ≥ 3.25)
2. Portfolio
3. Official report of one of the following English proficiency tests (the score result must not be older than 2 years from the application date):
- IELTS ≥ 5.5 or
- TOEFL IBT ≥ 65 or
- TOEFL-ITP ≥ 520 or
- MU Grad Test ≥ 80 or
- MU-ELT ≥ 90 or
- Duolingo ≥ 100 or
- CEFR ≥ Level B2
4. Recommendation 3 letters.
5. Statement of purpose expressing the purpose of study in engineering program and expected career.
--------------------------------------------------
For more information
Tel. 02-8892138 Ext. 6034/ 02-4414255


main
main

การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ "ความเข้ากันได้ทางชีวภาพของเครื่องมือแพทย์ (Biocompatibility Testing of Medical Devices)" ครั้งที่ 12 ในวันที่ 6 – 7 สิงหาคม 2567

ในวันที่ 6 – 7 สิงหาคม 2567 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับห้องปฏิบัติการทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพของเครื่องมือทางการแพทย์ ISO17025 (Biocompatlab.com) ได้จัดกิจกรรมการสอนเชิงปฎิบัติการทางด้านอุปการณ์และเครื่องมือแพทย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพและอัตรากำลังคนในภาคส่วนอุตสาหกรรมอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ ทางห้องปฏิบัติการจัดอบรมในหัวข้อ "ความเข้ากันได้ทางชีวภาพของเครื่องมือแพทย์ (Biocompatibility Testing of Medical Devices)" ให้แก่ผู้เข้าร่วมจาก โดยมีผู้เข้าอบรมจากภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม


main
main

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับผู้บรรยายพิเศษ Assoc.Prof. Ashleigh Theberge, Ph.D., School of Medicine, University of Washington

วันที่ 7 สิงหาคม 2567 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับผู้บรรยายพิเศษ Assoc.Prof. Ashleigh Theberge, Ph.D., School of Medicine, University of Washington บรรยาย "Thailand Biomedical Engineering Seminar Series" ในหัวข้อ "homeRNA: Bringing flexibility to transcriptomics for precision health and clinical research"
พร้อมทั้ง เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้แก่
- ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และชีวการแพทย์ (BART LAB)
- Therapeutic Nanomedicine Lab (TNN LAB)
- Advanced Molecular Diagnostics (AMD LAB)
- Laboratory for Biocompatibility Testing of Medical Devices (BioTesting LAB)
- Biosensors Laboratory


main
main

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับสมาคมนิสิตนักศึกษาแพทย์นานาชาติแห่งประเทศไทย

วันที่ 26 ก.ค. 2567 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ โดย อาจารย์ ดร. ฐิติพัทธ อัชชะกุลวิสุทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ให้การต้อนรับคณะเยี่ยมชมสมาคมนิสิตนักศึกษาแพทย์นานาชาติแห่งประเทศไทย ในโครงการ SCOTI TechTour เพื่อเข้าศึกษาดูงานนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ ณ ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้แก่
- ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และชีวการแพทย์ (BART LAB)
- Smart Motion Analysis and Rehabilitation Technology (SMART LAB)
- Laboratory for Biocompatibility Testing of Medical Devices (BioTesting LAB)
- Biosensors Laboratory


main
main

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับคณะเยี่ยมชมจากคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

วันที่ 24 ก.ค. 2567 คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดย ผศ.ดร.ก่อพร พันธุ์ยิ้ม รองคณบดีฝ่ายบริหาร วิจัย และนวัตกรรม พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.เชน รัตนกุลชัย อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ให้การต้อนรับคณะเยี่ยมชมจากคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เพื่อเข้าศึกษาดูงานนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ ณ ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้แก่
- ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และชีวการแพทย์ (BART LAB)
- ห้องปฎิบัติการ Biosensors Laboratory
- ห้องปฎิบัติการ Smart Motion Analysis and Rehabilitation Technology (SMART LAB)


main
main

บริษัท SCG PACKAGING จำกัด (มหาชน) เข้ารับการ Upskill & Newskill

วันที่่ 17-18 กรกฎาคม 2567 บริษัท SCG PACKAGING จำกัด (มหาชน) เข้ารับการ Upskill & Newskill ในหัวข้อ การเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ ที่ห้องปฏิบัติการทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพของเครื่องมือทางการแพทย์ ISO:17025 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพและอัตรากำลังคนในภาคส่วนอุตสาหกรรมอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์


main
main

รางวัลวิทยานิพนธ์นวัตกรรมดีเด่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงความยินดีกับผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนาชาติ) ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์เชิงนวัตกรรม ประจำปี 2567 ซึ่งจัดการนำเสนอผลงานวิทยานิพนธ์แบบปากเปล่า (Oral Presentation) โดยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่
ดร.นันทิดา นิลหุต
ผลงาน: ระบบหุ่นยนต์ฝึกหัดการผ่าตัดด้วยภาพเสมือนจริงแบบมีแรงสะท้อนกลับ: ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และการทดสอบระบบ (HAPTIC VIRTUAL REALITY-BASED SURGICAL TRAINING SYSTEM: HARDWARE, SOFTWARE AND TESTING)
ดร.อุดมพร มนูพิบูลย์
ผลงาน: ระบบ SMART F-IMU อุปกรณ์วัดค่าตัวแปรทางชีวกลศาสตร์ของรยางค์ส่วนล่าง (SMART F-IMU SYSTEM, THE SYSTEM FOR EVALUATING THE BIOMECHANICS OF LOWER LIMBS)


main
main

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วันที่ 10 ก.ค. 2567 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรากร เจริญสุข หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ พร้อมด้วย ดร.เชน ตรีรัตนกุลชัย อาจารย์ประจำภาควิชา ให้การต้อนรับคณะเยี่ยมชมจากคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเข้าศึกษาดูงานนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ ณ ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้แก่
- ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์ (BART LAB)
- Brain-Computer Interface Lab (BCI LAB)
- ห้องปฎิบัติการ Smart Motion Analysis and Rehabilitation Technology (SMART LAB)
- ห้องปฏิบัติการการเชื่อมต่อสัญญาณสมองด้วยคอมพิวเตอร์ (BCI LAB)
- Biosensors Laboratory


main
main

ประชาสัมพันธ์

ทุนการศึกษา วิศวกรรมชีวการแพทย์ Biomedical Engineering ระดับ ป.โทและป.เอก ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ขั้นตอนการสมัครเพื่อเข้าสู่การคัดเลือก
1. สมัครเข้าศึกษาผ่านทาง website ของบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล
(https://graduate.mahidol.ac.th/admission-apply/)
รายละเอียดการสมัครป.โท
(https://graduate.mahidol.ac.th/Admission/announce/announce.php?id=3802MG00&y=2567)
รายละเอียดการสมัครป.เอก
(https://graduate.mahidol.ac.th/Admission/announce/announce.php?id=3802DG00&y=2567)
2. กรอกแบบฟอร์ม Pre-Application
(https://forms.gle/LLx1FFBbTNv1tjys6)
สมัครด่วน ภายใน 31 พฤษภาคม 2567
ติดต่อ คุณมัชฌิมา รัตนลัมภ์
Tel. 02-441-4255
Email: matchima.rat@mahidol.edu
Line ID: matshiratta
Website
(www.eg.mahidol.ac.th/dept/egbe/)


main
main

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับคณะเยี่ยมชม Department of Biomedical Engineering, University of Strathclyde, Glasgow

วันที่ 19 มีนาคม 2567 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผศ.ดร.วรากร เจริญสุข หัวหน้าภาควิชาฯ พร้อมด้วยคณาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ให้การต้อนรับ Dr. Philip Riches, Head of Department of Biomedical Engineering, University of Strathclyde พร้อมด้วย Dr. Craig Childs เพื่อการประชุมหารือความร่วมมือทางวิชาการด้านหลักสูตรร่วมของทั้งสองมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังมีการจัดบรรยายสัมมนาในหัวข้อ "An Overview of Research in the Department of Biomedical Engineering at Strathclyde" และหัวข้อ “Joint Instability: an engineering perspective” โดย Dr. Philip Riches รวมถึงเข้าเยี่ยมชมภาควิชาภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้แก่
- Center for Biomedical and Robotics Technology Lab (BART LAB)
- Brain-Computer Interface Lab (BCI LAB)
- Smart Motion Analysis and Rehabilitation Technology (SMART LAB)
- Artificial Intelligence in Medicine (AIM LAB)
- Biosensors Laboratory


main
main

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับคณะเยี่ยมชมวิทยากรและผู้เข้าร่วมประชุมชาวต่างชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 15 มีนาคม 2567 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับวิทยากรและผู้เข้าร่วมประชุมชาวต่างชาติ ในงานวิชาการ "International Regulatory Science Forum 2024: Navigating Digital Health Product Development in Southeast Asia amid Evolving FDA Regulations" จัดโดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รศ. ดร. ธนภัทร์ วานิชานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวต้อนรับผู้มาเยี่ยมชม พร้อมด้วย รศ.ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ กล่าวแนะนำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ รวมถึงเข้าเยี่ยมชมภาควิชาภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้แก่
-Center for Biomedical and Robotics Technology (BART LAB)
-Artficial Intelligence in Medicine Lab (AIM LAB)
-Laboratory for Biocompatibility Testing of Medical Devices Lab (BioTesting LAB)


main
main

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับผู้บริหารจาก Case Western Reserve University ประเทศสหรัฐอเมริกา

วันที่ 14 มีนาคม 2567 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผศ.ดร.วรากร เจริญสุข หัวหน้าภาควิชาฯ พร้อมด้วย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์, รศ.ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา, รศ.ดร.เบญจพร เลิศอนันตวงศ์, ผศ.ดร.พรภพ นัยเนตร, ดร.ทรงพล องค์วัฒนกุล และดร.เชน ตรีรัตนกุลชัย คณาจารย์ประจำภาควิชาฯ ให้การต้อนรับ Prof. Dr. Daniel Ducoff, Vice President for Strategic Initiatives and Global Capital Gifts พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร จาก Case Western Reserve University ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งการประชุมในครั้งนี้เป็นการประชุมหารือความร่วมมือทางวิชาการด้านการวิจัยและหลักสูตรของทั้งสองมหาวิทยาลัย รวมถึงเข้าเยี่ยมชมภาควิชาภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้แก่
-Center for Biomedical and Robotics Technology (BART LAB)
-Laboratory for Biocompatibility Testing of Medical Devices Lab (BioTesting LAB)


main
main

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล รับรางวัลผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในโครงการ "2024 Bangkok International Intellectual Property, Invention, Innovation and Technology Exposition" (IPITEx 2024)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับผลงาน BART LAB AI-Elderly Supporting Robot in Sit-to-Stand and Walk Applications และ ผลงาน BART LAB Intelligent Robotic Wheelchair Stair Climbing โดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ ที่ได้รับรางวัล Gold Prizeในการเข้าร่วมประกวดแข่งขันและจัดแสดงนิทรรศการในโครงการ “2024 Bangkok International Intellectual Property, Invention, Innovation and Technology Exposition” (IPITEx 2024) ภายในงาน “วันนักประดิษฐ์” ที่จัดขั้นโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2567 ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา และ ยังได้รับรางวัล International Special Prize จาก Korea Invention Promotion Association อีกด้วย


main
main

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับครูและนักเรียน จาก ST Andrews International School

เพื่อเข้าศึกษาดูงาน ณ ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้แก่
- Center for Biomedical and Robotics Technology Lab (BART LAB)
- Smart Motion Analysis and Rehabilitation Technology Lab (SMART LAB)
- Innogineer Maker Studio


main
main

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับครูและนักเรียน จาก Charter International School

วันที่ 8 มี.ค. 2567 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ โดย ดร.เชน รัตนกุลชัย อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ให้การต้อนรับคณะเยี่ยมชมครูและนักเรียนจาก Charter International School เพื่อเข้าศึกษาดูงาน ณ ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้แก่
- Center for Biomedical and Robotics Technology Lab (BART LAB)
- Biosensors Laboratory
- Brain-Computer Interface Lab (BCI LAB)


main
main

โครงการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์สู่ความเป็นเลิศ ประจำปี 2567

วันที่ 19-21 กุมภาพันธ์ 2567 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการ “พัฒนาแผนยุทธศาสตร์ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์สู่ความเป็นเลิศ ประจำปี 2567” เพื่อให้เกิดการพัฒนายุทธศาสตร์ของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ให้มีความทันสมัย และเกิดการบูรณาการการปฏิบัติงานและการส่งเสริมพัฒนาทรัพยากรบุคคล รวมถึงการสร้างความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่ตอบสนองแผนยุทธศาสตร์ของคณะวิศวกรรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้เรียนเชิญวิทยากรพิเศษ คุณอนรรฆวี ชูรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสด้านการตลาดกลาง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ร่วมจัดกิจกรรม Workshop ในหัวข้อ "Building a Successful Product" พร้อมทั้งการบรรยายในหัวข้อ "Mahidol Innovation Strategy for BME" โดยวิทยากร รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ณ โรงแรม อวานี พลัส หัวหิน รีสอร์ท จังหวัดเพชรบุรี


main
main

รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลวิทยานิพนธ์ ในงาน “วันนักประดิษฐ์” จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ประจำปีงบประมาณ 2567

ขอแสดงความยินดี กับ ดร.นันทิดา นิลหุต ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ในโอกาสเข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 ในงาน “วันนักประดิษฐ์” จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ประจำปีงบประมาณ 2567 ในสาขารางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลวิทยานิพนธ์ รางวัลระดับดี วิทยานิพนธ์เรื่อง “ระบบหุ่นยนต์ฝึกหัดการผ่าตัดด้วยภาพเสมือนจริงแบบมีแรงสะท้อนกลับ: ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และการทดสอบระบบ”(Haptic Virtual Reality-based Surgical Training System: Hardware, Software and Testing) โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ ณ HALL 101 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2567
ติดตามข่าวสารภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล ได้ที่ Website: https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egbe/ Facebook: https://www.facebook.com/bmemahidol #BMEMAHIDOL #ชีวการแพทย์มหิดล #MahidolEngineering #วิศวะมหิดล #MahidolEG #EGMU


main
main

รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ในงาน “วันนักประดิษฐ์” จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ประจำปีงบประมาณ 2567

ขอแสดงความยินดี กับ รองศาสตราจารย์ ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ สังกัดภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ในโอกาสเข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 ในงาน “วันนักประดิษฐ์” จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2567 ในสาขารางวัลการวิจัยแห่งชาติ :รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น รางวัลประกาศเกียรติคุณ ผลงานเรื่อง “เอไอไทยเจน: แพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์” (AIThaiGen: AI Learning Platform) ณ HALL 101 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2567
ติดตามข่าวสารภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล ได้ที่
Website: https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egbe/
Facebook: https://www.facebook.com/bmemahidol
#BMEMAHIDOL #ชีวการแพทย์มหิดล #MahidolEngineering #วิศวะมหิดล #MahidolEG #EGMU


main
main

ขอแสดงความยินดีกับ นักศึกษาที่คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 The Best of The Best Embedded System Developers 2023 จาก TESATopGunRally 17

รศ.ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แสดงความยินดีกับ ทีม BME Ranger 13 นักศึกษาจากภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ที่ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับ 1 The Best of The Best Embedded System Developers 2023 และ รางวัล Top Score on Presentation จากโครงการ
#TESATopGunRally17
โดยสมาชิกในทีมประกอบด้วย
1. นายวิทวัส ตั้งศรีวรกานต์
2. นางสาวนภัสรา อัศวเลิศศักดิ์
3. นายชอน กัลอัพ
4. นางสาวเบญจมาศ จิระปัญญาเลิศ
5. นายพิสิฐชัย เตชะวิเศษ
การประชันทักษะทางด้านระบบสมองกลฝังตัวชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 17: The Best of the Best Embedded System Developers-TESA Top Gun Rally #17 ระบบแสดงผล และการจัดการสภาวะน้ำท่วมและน้ำแล้ง (Monitoring and Management System of Flood and Drought Conditions) ซึ่งจัดการแข่งขันโดย สมาคมสมองกลฝังตัวไทย ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในวันที่ 19-25 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา โดยมี รศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้าร่วมแสดงความยินดีในครั้งนี้ด้วย


main
main

เข้าเยี่ยมชมและหารือความร่วมมือด้านงานวิจัย ณ Korea Advanced Institute of Science & Technology (KAIST) สาธารณรัฐเกาหลี

วันที่ 4-5 ธันวาคม 2566 รศ.ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ผศ.ดร.วรากร เจริญสุข หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ และคณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ นำทีมเข้าเยี่ยมชมและหารือความร่วมมือ ณ Korea Advanced Institute of Science & Technology (KAIST) ให้การต้อนรับโดย Prof. Jaekyun Moon, Dean of College of Engineering และ Prof. Yoonkey Nam, Head of Department of Bio and Brain Engineering พร้อมทั้งเข้าร่วมกิจกรรม 2nd KAIST-Mahidol University Joint Workshop on BME ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 เพื่อแลกเปลี่ยนและหารือความร่วมมือด้านงานวิจัยระหว่าง 2 สถาบัน และเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ หารือความร่วมมือทางด้านหลักสูตรการแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษา ณ Korea Advanced Institute of Science & Technology (KAIST) ณ สาธารณรัฐเกาหลี


main
main

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ กับ COLLEGE OF INFORMATION SCIENCE, HALLYM UNIVERSITY ณ สาธารณรัฐเกาหลี

วันที่ 1 ธันวาคม 2566 รศ.ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ผศ.ดร.วรากร เจริญสุข หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ กับ COLLEGE OF INFORMATION SCIENCE, HALLYM UNIVERSITY โดย Prof. Seon-woo Lee, Dean of College of Information Science และ Prof. Taikyeong Jeong, Chair of School of AI Convergence เพื่อร่วมมือด้านพัฒนางานวิจัยและความร่วมมือด้านวิชาการ การแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากร ณ สาธารณรัฐเกาหลี อีกทั้งยังได้เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ ณ COLLEGE OF INFORMATION SCIENCE, HALLYM UNIVERSITY ณ สาธารณรัฐเกาหลี


main
main

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต นวัตกรรมการจัดการสุขภาพยุคดิจิทัล (HIDA) รุ่นที่ 3 ในการมาศึกษาดูงาน

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นประธานกล่าวต้อนรับคณะผู้บริหารในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต นวัตกรรมการจัดการสุขภาพยุคดิจิทัล (HIDA) รุ่นที่ 3 นำโดย ดร.ฐาณิญา พงษ์ศิริ ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ ในการมาศึกษาดูงาน ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ อดีตคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์n ผู้ก่อตั้ง ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์ (BART LAB) บรรยายเรื่อง “นวัตกรรมการสร้างหุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Medical Robotics)” พร้อมทั้งนำเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ ดังนี้ 1) ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์ (BART LAB) 2) ห้องปฎิบัติการ Biosensors Laboratory 3) ห้องปฏิบัติการทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพของเครื่องมือแพทย์ (Bio Testing LAB) และ 4) Innogineer Studio ซึ่งหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต นวัตกรรมการจัดการสุขภาพยุคดิจิทัล (HIDA) จัดขึ้นโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพผู้บริหารในยุคดิจิทัล เป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านทฤษฎี และภาคปฏิบัติ เพื่อพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในประโยชน์ได้จริง


main
main

ต้อนรับคณะเยี่ยมชม Department of Regulatory and Quality Sciences, University of Southern California

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผศ.ดร.วรากร เจริญสุข หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ อดีตคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วยคณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ให้การต้อนรับ Frances Richmond, Ph.D., C. Benson Kuo, Ph.D. และ Gerald Loeb, Department of Regulatory and Quality Sciences, University of Southern California ในโอกาสร่วมประชุมเจรจาความร่วมมือด้านวิชาการ ณ ห้องประชุม 6373 อาคาร 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมทั้งเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ Laboratory for Biocompatibility Testing of Medical Devices Lab (BioTesting LAB), Innogineer Maker Studio และ Center for Biomedical and Robotics Technology (BART LAB)


main
main

ต้อนรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สังกัดวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 12 ตุลาคม 2566 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ให้การต้อนรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สังกัดวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าศึกษาดูงาน ณ ห้องปฏิบัติการของภาควิชาฯ ได้แก่ ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์ (BART LAB) และ ห้องปฎิบัติการการเชื่อมต่อสัญญาณสมองด้วยคอมพิวเตอร์ (BCI LAB)


main
main

ต้อนรับศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์

ในวันที่ 11 ตุลาคม 2566 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำรัส พร้อมมาศ ที่ปรึกษาคณบดี พร้อมด้วยคณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.เบญจพร เลิศอนันตวงศ์, อ.ดร.ภรภัทร อัฐมโนลาภ, อ.ดร.เชน ตรีรัตนกุลชัย ต้อนรับคณะเยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์ เพื่อหารือความร่วมมือด้านงานวิจัย พร้อมทั้งเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของภาควิชา ได้แก่ ห้องปฎิบัติการ Biosensors Laboratory, ห้องปฎิบัติการ Advanced Molecular Diagnostics (AMD Lab), ห้องปฏิบัติการทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพของ เครื่องมือแพทย์ (Laboratory for Biocompatibility Testing of Medical Devices) ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และชีวการแพทย์ (BART LAB)


main
main

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการสร้างชุมชนสตาร์ทอัพ การผลักดันนวัตกรรม การวิจัยด้านวิชาการและพัฒนานวัตกรรม ระหว่าง สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ม.มหิดล ศูนย์ปฏิบัติการการเชื่อมต่อสัญญาณสมองกับคอมพิวเตอร์ (BCI) คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล กับ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ณ สำนักงานใหญ่ DTGO Campus

วันที่ 10 ตุลาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรากร เจริญสุข หัวหน้าภาควิชาวิศกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามความร่วมมือกับ รองศาสตราจารย์ ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษากับ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการสร้างชุมชนสตาร์ทอัพ การผลักดันนวัตกรรม การวิจัยด้านวิชาการและพัฒนานวัตกรรม ระหว่าง สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ศูนย์ปฏิบัติการการเชื่อมต่อสัญญาณสมองกับคอมพิวเตอร์ (BCI) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กับ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานนท์ ลาชโรจน์ รองผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ แก่งอินทร์ รองคณบดีฝ่ายพัฒนาเครือข่ายและองค์กรสัมพันธ์ และ อาจารย์ ดร.เจษฎา อานิล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ สำนักงานใหญ่ DTGO Campus ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวมีเป้าหมายสำคัญในการร่วมพัฒนา สนับสนุน และสร้างความเข้มข้นในการสร้างชุมชนสตาร์ทอัพ รวมไปถึงการสร้างเครือข่ายในการผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีศักยภาพสู่การใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงสังคมและพาณิชย์ต่อไป


main
main

รศ.ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา เข้าร่วมจัดแสดงผลงานนิทรรศการ “ผลการดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) : 4 ปีของการลงทุน ประเทศได้อะไรและจะไปต่ออย่างไร”

วันที่ 3-5 ตุลาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เข้าร่วมจัดแสดงผลงานนิทรรศการ “ผลการดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) : 4 ปีของการลงทุน ประเทศได้อะไรและจะไปต่ออย่างไร” ซึ่งจัดขึ้นโดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และหน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU)ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคารรัฐสภา เกียกกาย


main
main

Bachelor of Engineering Program in Biomedical Engineering (International Program) Academic Year 2024

TCAS 1/1: Portfolio
Application period: 2 - 16 October, 2023
--------------------------------------------------
Official announcement: (https://tcas.mahidol.ac.th/)
--------------------------------------------------
Requirement document for application:
1. Transcript (GPAX ≥ 3.25)
2. Portfolio
3. Official report of one of the following English proficiency tests (the score result must not be older than 2 years from the application date):
-IELTS ≥ 5.0 or
-TOEFL IBT ≥ 64 or
-TOEFL-ITP ≥ 500 or
-TOEIC ≥ 600 or
-MU Grad Test ≥ 70 or
-MU-ELT ≥ 84 or
-SAT I (Reasoning Test) ≥ 1,000 or
-Duolingo ≥ 90 or
-CEFR ≥ Level B2 or
-IB (English) ≥ Level 5 or
-ACT (English & Reading) ≥ 21 or
-AP (English) ≥ Level 3
4. Recommendation 3 letters.
5. Statement of purpose expressing the purpose of study in engineering program and expected career.
--------------------------------------------------
For more information
Tel. 02-8892138 Ext. 6034/ 02-4414255


main
main

Bachelor of Engineering Program in Biomedical Engineering (International Program) Academic Year 2024

Direct Admission by Faculty of Engineering
Application period: 15 - 30 September, 2023
--------------------------------------------------
Official announcement: (https://www.eg.mahidol.ac.th)
--------------------------------------------------
Requirement document for application:
1. Transcript (GPAX ≥ 3.25)
2. Portfolio
3. Official report of one of the following English proficiency tests (the score result must not be older than 2 years from the application date):
-IELTS ≥ 5.0 or
-TOEFL IBT ≥ 64 or
-TOEFL-ITP ≥ 500 or
-TOEIC ≥ 600 or
-MU Grad Test ≥ 70 or
-MU-ELT ≥ 84 or
-SAT I (Reasoning Test) ≥ 1,000 or
-Duolingo ≥ 90 or
-CEFR ≥ Level B2 or
-IB (English) ≥ Level 5 or
-ACT (English & Reading) ≥ 21 or
-AP (English) ≥ Level 3
4. Recommendation 3 letters.
5. Statement of purpose expressing the purpose of study in engineering program and expected career.
--------------------------------------------------
For more information
Tel. 02-8892138 Ext. 6034/ 02-4414255


main
main

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เข้าร่วมงาน “มหกรรมนวัตกรรมดิจิทัล วิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อการบริการสุขภาพและการพัฒนาการศึกษายุคใหม่”

วันที่ 19 กันยายน 2566 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมงาน “มหกรรมนวัตกรรมดิจิทัล วิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อการบริการสุขภาพและการพัฒนาการศึกษายุคใหม่” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมเป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ ร่วมด้วย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และคณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล จัดขึ้นโดย ศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ ภายใต้ศูนย์เพื่อความเป็นเลิศ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้แก่นักศึกษา บุคลากรทางการแพทย์ได้แสดงศักยภาพและแนวความคิดในการพัฒนานวัตกรรมบริการและการศึกษาทางแพทย์ เกิดแรงบันดาลใจในความรู้เชิงวิทยากรใหม่ๆ พัฒนาทักษะ แนวคิดและกระบวนการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ โดยอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ นำนวัตกรรมจัดแสดงหลากหลายผลงาน ณ อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์และโรงพยาบาลรามาธิบดี
ภายในงานยังมีการสัมมนาในหัวข้อ "The Power of AI and Clinical Synergy" โดยมี รศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ ร่วมเป็นวิทยากร พร้อมทั้ง ดร.ฐิติพัทธ อัชชะกุลวิสุทธิ์ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา อีกทั้งยังมีการเสวนาในหัวข้อ Clinical Collaboration in Biomedical Research: where we are and where we need to go โดยมีคณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ร่วมเสวนา ประกอบด้วย ผู้ดำเนินการเสวนา
1. ผศ.ดร.วรากร เจริญสุข หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์
2. รศ.นท.ดร.นพ.สรยุทธ ชำนาญเวช ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ผู้ร่วมเสวนา
1. อ.ดร.เจษฎา อานิล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร
2. รศ.ดร.เบญจพร เลิศอนันตวงศ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการไบโอเซนเซอร์
3. อ.ดร. ภรภัทร อัฐมโนลาภ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์
4. อ.ดร.ทรงพล องค์วัฒนกุล หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์ และ
5. อ.ดร.เชน ตรีรัตนกุลชัย อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์
และภายในงานยังมีการจัดการประกวดนวัตกรรมการแพทย์ "PITCHING IN PRE-CONGRESS RIAC RAMATHIBODI INNOVATIONS FORUM 2023" โดยมีคณาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทน์ ร่วมเป็นกรรมการตัดสินการประกวด ได้แก่ ผศ.ดร.วรากร เจริญสุข, รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ และอ.ดร.สรชา เดชะอำไพ


main
main

เขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การประกวดนวัตกรรมการแพทย์ "PITCHING IN PRE-CONGRESS RIAC RAMATHIBODI INNOVATIONS FORUM 2023"

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ทีม Rehabie Soft-solid Robotic Hand (RSRH) คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ในการประกวดนวัตกรรมการแพทย์ "PITCHING IN PRE-CONGRESS RIAC RAMATHIBODI INNOVATIONS FORUM 2023" ประเภทแนวคิดนวัตกรรม ซึ่งจัดขึ้นภายในงาน “มหกรรมนวัตกรรมดิจิทัล วิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อการบริการสุขภาพและการพัฒนาการศึกษายุคใหม่” จัดขึ้นโดย ศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ ภายใต้ศูนย์เพื่อความเป็นเลิศ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ได้รับรางวัลในหัวข้อ "การพัฒนาหุ่นยนต์ SOFT-SOLID สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อมือและช่วยเสริมแรงมือในชีวิตประจำวัน (Soft-Solid Robotic Hand for Post-Stroke patient for rehabilitation and daily activities)"
โดยมีสมาชิกในทีม นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้แก่
1. นางสาวรวินันท์ คำเลิศ
2. นายมิ่งศิริ มิ่งศรีตระกูล
3. นางสาวลักษิกา จันทนะรัตน์
4. นายพีรณัศก์ บัวบาง
5. นางสาวพิมลณัฐ ประจักษ์ศุภกุล
6. นายวงศพัทธ์ ถมยา
อาจารย์ที่ปรึกษา ได้แก่
1. อ.ดร.เชน ตรีรัตนกุลชัย, ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์
2. อ. พญ.พีรยา รุธิรพงษ์, ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลรามาธิบดี


main
main

เข้าเยี่ยมชมและหารือความร่วมมือด้านงานวิจัย ณ National Health Research Institutes เมืองไทเป ไต้หวัน

วันที่ 13 กันยายน 2566 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ นำโดย ผศ.ดร.จำรัส พร้อมมาศ ที่ปรึกษาคณบดีด้านการสนับสนุนพันธกิจองค์กร พร้อมด้วยคณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้แก่ รศ.ดร.เบญจพร เลิศอนันตวงศ์, รศ. ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ, ดร.สรชา เดชะอำไพ, ดร.ประชา แย้มบางยาง พร้อมด้วย ร.ศ.ดร.สุรโชค ธนพิทักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เข้าเยี่ยมชมและหารือความร่วมมือด้านงานวิจัย ณ National Health Research Institutes เมืองไทเป ไต้หวัน


main
main

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ให้การต้อนรับโครงการอบรมหลักสูตรการบริหารระดับสูงเชิงบูรณาการทางการแพทย์ (บสพ. รุ่นที่ 6 Medical Hub Version) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วันที่ 7 กันยายน 2566 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ นำโดย ดร.เจษฎา อานิล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารผู้เข้าร่วมโครงการอบรมหลักสูตรการบริหารระดับสูงเชิงบูรณาการทางการแพทย์ (บสพ. รุ่นที่ 6 Medical Hub Version) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการมาศึกษาดูห้องปฏิบัติการวิจัย ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยภายในงาน มีการจัดบรรยายในหัวข้อ “Today and Future Trends for Healthcare Technology” โดยวิทยากรพิเศษ รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ และการบรรยายในหัวข้อ “ธุรกิจทางการแพทย์ Engineering and Technology for Healthcare” โดยวิทยากรพิเศษ รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม อีกทั้งยังมีการเปิดห้องปฏิบัติการของภาควิชาฯ และจัดนิทรรศการภายในห้อง Innogineer Maker Studio ให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เข้าชมนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ ได้แก่ 1. ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และชีวการแพทย์ (BART LAB) 2. ห้องปฎิบัติการการเชื่อมต่อสัญญาณสมองด้วยคอมพิวเตอร์ (BCI LAB) 3. ห้องปฏิบัติการทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพของ เครื่องมือแพทย์ (BioTesting LAB) 4. ห้องปฎิบัติการวิศวกรรมหัวใจ หลอดเลือด และอวัยวะประดิษฐ์ (CardioArt LAB) 5. ห้องปฎิบัติการชีวพอลิเมอร์และวิศวกรรมระดับนาโนเพื่อพัฒนาระบบส่งยาและการสร้างภาพทางการแพทย์ (BioNEDD LAB)


main
main

ต้อนรับครูและนักเรียน Glory Singapore International School

วันที่ 5 กันยายน 2566 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำรัส พร้อมมาศ ที่ปรึกษาคณบดีด้านการสนับสนุนพันธกิจองค์กร ต้อนรับคณะเยี่ยมชมครูและนักเรียน Glory Singapore International School เพื่อเข้าศึกษาดูงานที่ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้แก่ 1. Center for Biomedical and Robotics Technology Lab (BART LAB) 2. Brain-Computer Interface Lab (BCI LAB) 3. Smart Motion Analysis and Rehabilitation Technology (SMART LAB) 4. Biosensors Laboratory


main
main

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับผู้บรรยายพิเศษ Jamie O'Reilly, Ph.D., School of Engineering, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang

วันที่ 1 กันยายน 2566 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ โดย ดร.เจษฎา อานิล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับผู้บรรยายพิเศษ Jamie O'Reilly, Ph.D., School of Engineering, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang บรรยาย "Thailand Biomedical Engineering Seminar Series" ในหัวข้อ "Source localization of event-related brain signals using recurrent neural networks" ณ ห้อง 6373 ชั้น 3 อาคาร 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


main
main

นักศึกษาเข้าร่วมโครงการ Biomedical Technician Training ซึ่งจัดขึ้นโดย มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม

วันที่ 31 สิงหาคม - 1 กันยายน 2566 ดร.ฐิติพัทธ อัชชะกุลวิสุทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ นำนักศึกษาเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมช่างเครื่องมือทางการแพทย์ Biomedical Technician Training ซึ่งจัดขึ้นโดยมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ณ โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ กรุงเทพฯ


main
main

การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ การปฏิบัติงานด้านการเลี้ยงเซลล์ (Cell Culture) ครั้งที่ 9 วันที่ 29 – 30 สิงหาคม 2566

ในวันที่ 29 – 30 สิงหาคม 2566 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับห้องปฏิบัติการทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพของเครื่องมือทางการแพทย์ ISO17025 ได้จัดกิจกรรมการสอนเชิงปฎิบัติการทางด้านอุปการณ์และเครื่องมือแพทย์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพและอัตรากำลังคนในภาคส่วนอุตสาหกรรมอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ ทางห้องปฏิบัติการจัดอบรมในหัวข้อ "การเลี้ยงเซลล์ (Cell Culture)" โดยมีผู้เข้าอบรมจากภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม


main
main

ดร.เจษฎา อานิล เป็นวิทยากร บรรยายในหัวข้อเรื่อง AI Unleashed: Enhancing Academic Efficiency

วันที่ 30 สิงหาคม 2566 ดร.เจษฎา อานิล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้รับเชิญเป็นวิทยากร บรรยายในหัวข้อเรื่อง AI Unleashed: Enhancing Academic Efficiency ให้แก่บุคลกรสังกัดภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ณ ห้องประชุมเติม บุนนาค ชั้น 2 อาคารเรียนทางสูติศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช


main
main

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ขอแสดงความยินดี

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ขอแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.เบญจพร เลิศอนันตวงศ์ ในโอกาสรับมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นอาจารย์ตัวอย่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ ประจำปี 2566 ในงานวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ 33 ปี วันที่ 29 สิงหาคม 2566


main
main

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ จัดงานปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ประจำปี 2566

วันที่ 23 สิงหาคม 2566 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ), นักศึกษาโครงการร่วมหลักสูตร พ.บ. – วศ.ม. (วิศวกรรมชีวการแพทย์), นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต และหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) ประจำปีการศึกษา 2566 นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรากร เจริญสุข หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เป็นตัวแทนกล่าวต้อนรับนักศึกษาใหม่ พร้อมด้วยคณาจารย์ประจำภาควิชาฯ กล่าวแนะนำผลงานวิจัย ณ ห้องประชุม ผศ.ดร.ธนากร อ้วนอ่อน (6450) อาคาร 3 (ตึกแดง) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)


main
main

นักศึกษาฝึกงานจาก National Cheng Kung University (NCKU), Taiwan

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับนักศึกษาฝึกงานจาก National Cheng Kung University (NCKU), Taiwan ในระหว่างเดือน มิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม 2566 เข้าฝึกงาน ณ ห้องปฏิบัติการของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้แก่ ห้องปฎิบัติการการเชื่อมต่อสัญญาณสมองด้วยคอมพิวเตอร์ (BCI LAB), ห้องปฎิบัติการระบบอัจฉริยะ เพื่อการแพทย์ (AIM LAB), ห้องปฎิบัติการ Smart Motion Analysis and Rehabilitation Technology (SMART LAB) และห้องปฎิบัติการ Innovative Therapeutic Nanomedicine Lab (TNN LAB)


main
main

เข้าร่วมหารือความร่วมมือระหว่าง Osaka University และ Sumitomo Industry (Thailand)

วันที่ 18 สิงหาคม 2566 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เข้าร่วมหารือความร่วมมือด้านการเรียนการสอนหลักสูตรกับ Osaka University และ Sumitomo Industry (Thailand) โดย ดร.สรชา เดชะอำไพ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และกิจการนักศึกษา, อ.ดร.เจษฎา อานิล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร และ ดร.ภรภัทร อัฐมโนลาภ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เข้าร่วมหารือความร่วมมือด้านการเรียนการสอนหลักสูตร การแลกเปลี่ยนนักศึกษาฝึกงาน ร่วมกับ Prof. Hiroshi Umakoshi, Osaka University และ Mr.Akira YOKOTA, Sumitomo Industry (Thailand)


main
main

นำนักศึกษาเข้าเยี่ยมชม บริษัท ออโธพีเซีย จำกัด

วันที่ 17 สิงหาคม 2566 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์, ดร.ทรงพล องค์วัฒนกุล, ดร.ภรภัทร อัฐมโนลาภ และดร.เชน ตรีรัตนกุลชัย อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ นำนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เข้าเยี่ยมชมบริษัท ออโธพีเซีย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตและจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ที่มีคุณภาพมาตรฐานโลก รวมถึงมีการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือแพทย์มาอย่างต่อเนื่อง ให้การต้อนรับโดย คุณวินิจ ฤทธิ์ฉิ้ม กรรมการผู้จัดการบริษัทออโธพีเซีย และ คุณปุณยวีร์ ฤทธิ์ฉิ้ม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัทออโธพีเซีย ซึ่งการเข้าเยี่ยมชมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาดูงานในบริษัทชั้นนำด้านเครื่องมือแพทย์ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในอนาคต


main
main

Master Program in Biomedical Engineering (International Program)

Application period: Now – July 21, 2023
--------------------------------------------------
Plan 1.2 Academic (Course work and Research)
Qualification of Prospective Students:
Holding a Bachelor's Degree or equivalent in Biomedical Engineering, Engineering, Science, Medicine, Dentistry, Pharmacy, or other related fields.
--------------------------------------------------
For more information Tel. 02-4414255

main



main
main

ต้อนรับครูและนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

วันที่ 27 มิ.ย. 2566 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับคณะเยี่ยมชมคณาจารย์และนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เพื่อเข้าศึกษาดูงานที่ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์


main
main

ต้อนรับคณะเยี่ยมชมสถาบันชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรากร เจริญสุข หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ รองศาสตราจารย์ ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา รองคณบดีฝ่ายวิจัย พร้อมด้วยอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับคณะเยี่ยมชมสถาบันชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดยศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ ธีรอำพน ผู้อำนวยการสถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์ รองศาสตราจารย์ ดร.ศันศนีย์ เอื้อพันธ์วิริยะกุล รองผู้อำนวยการสถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์ พร้อมด้วยอาจารย์และนักวิจัยสถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์ เข้าปรึกษาหารือแนวทางในการพัฒนาการจัดการหลักสูตร การวางแผนเตรียมการเปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรี พร้อมทั้งเยี่ยมชมห้องปฏิบัติงานของภาควิชาฯ


main
main

โครงการ สัมมนาโลกสวยด้วย Biomed ประจำปีการศึกษา 2565

วันที่ 1-3 พฤษภาคม 2566 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดโครงการสัมมนา “โลกสวยด้วย Biomed ประจำปีการศึกษา 2565” ณ Best Western Plus Carapace Hotel Hua Hin จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขึ้น เพื่อเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ภาควิชาฯ ได้ทำการวิจัยและพัฒนา และทราบถึงแนวทางในการประกอบอาชีพในสาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์มากขึ้น ทั้งยังเปิดโอกาสให้อาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก ได้ แลกเปลี่ยนทัศนคติมุมมองทางความคิด เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ และได้ทำกิจกรรมสันทนาการร่วมกันเพื่อสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างกัน


main
main

เข้าเยี่ยมชมและหารือความร่วมมือด้านงานวิจัย ณ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล School of Engineering, Tokyo Institute of Technology เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

วันที่ 19 เมษายน 2566 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ นำโดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วย รศ.ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา รองคณบดีฝ่ายวิจัย และ ผศ.ดร.วรากร เจริญสุข หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ พร้อมด้วยคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการพร้อมทั้งหารือความร่วมมือด้านงานวิจัย ณ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล School of Engineering, Tokyo Institute of Technology เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นำโดย
1) Prof. Wataru Hijikata
2) Prof. Yukio Takeda
3) Prof. Yushifumi Nishida
4) Prof. Tohru Yagi


main
main

เข้าเยี่ยมชมและหารือความร่วมมือด้านงานวิจัย ณ Institute of Biomaterials and Bioengineering, Tokyo Medical & Dental University เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

วันที่ 18 เมษายน 2566 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ นำโดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วย รศ.ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา รองคณบดีฝ่ายวิจัย และ ผศ.ดร.วรากร เจริญสุข หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ พร้อมด้วยคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เข้าเยี่ยมชมและหารือความร่วมมือด้านงานวิจัย การแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษา และโอกาสในการจัดทำหลักสูตรร่วม อีกทั้งยังได้เยี่ยมห้องปฏิบัติการ Institute of Biomaterials and Bioengineering, Tokyo Medical & Dental University ณ เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นำโดย
1) Hirokazu Tamamura, Ph.D., Professor, Department of Medicinal Chemistry
2) Yoshikazu NAKAJIMA,Ph.D., Professor Dept. of Biomedical Information
3) Hiroyuki Kagechika, Ph.D., Director and Professor Institute of Biomaterials and Bioengineering
4) Masakazu Kawashita, Ph.D., Professor Department of Inorganic Bioengineering


main
main

25 ม.ค. 2566 ต้อนรับคณะเยี่ยมชม รร.มาแตร์เดอีวิทยาลัย

25 มกราคม 2566 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับคณะเยี่ยมชมคณาจารย์และนักเรียนโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย เพื่อเข้าศึกษาดูงาน ณ ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์


main
main

ต้อนรับนักศึกษา Kogakuin University,Japan

18-20 มกราคม 2566 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับ Prof. Shigehiro Hashimoto และนักศึกษาแลกเปลี่ยนจาก Kogakuin University ประเทศญี่ปุ่น เดินทางเข้ามาศึกษาดูงาน ณ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ นักศึกษาได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านนวัตกรรม รวมไปถึงได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างนักศึกษาไทยและต่างชาติ ซึ่งมหาวิทยาลัยดังกล่าวได้ส่งนักศึกษามาแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง


main
main

18/01/2566 ต้อนรับ Columbia University and Touro College, New York, USA

วันที่ 18 มกราคม 2566 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วย ดร.ทรงพล องค์วัฒนกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ให้การต้อนรับคณะเยี่ยมชม Biomedical Cross Cultural Education Program (BioCEP) 2023 นำโดย Dr. John Loike, Professor and Researcher at Columbia University and Touro College, New York, USA. เข้าเยี่ยมชมนวัตกรรมทางการแพทย์ ณ ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์ (BART LAB), ห้องปฎิบัติการการเชื่อมต่อสัญญาณสมองด้วยคอมพิวเตอร์ (BCI LAB) และ ห้องปฎิบัติการSmart Motion Analysis and Rehabilitation Technology (SMART LAB)


main
main

30/11/2565 ต้อนรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 โครงการร่วม 2 หลักสูตร พ.บ. - วศ. ม. (วิศวกรรมชีวการแพทย์)

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ต้อนรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 โครงการร่วม 2 หลักสูตร คณะแพทยศาสตรรามาธิบดี - วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์) เข้าชมนวัตกรรม ณ ห้องปฏิบัติการของภาควิชาฯ


main
main

30/11/2565 ต้อนรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 โครงการร่วม 2 หลักสูตร พ.บ. - วศ. ม. (วิศวกรรมชีวการแพทย์)

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ต้อนรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 โครงการร่วม 2 หลักสูตร คณะแพทยศาสตรรามาธิบดี - วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์) เข้าชมนวัตกรรม ณ ห้องปฏิบัติการของภาควิชาฯ


main
main

2/12/2565 ต้อนรับนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เข้าศึกษาดูงาน

วันที่ 2 ธันวาคม 2565 ภาควิชาวิศกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคณะเยี่ยมชม โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เพื่อให้นักเรียนมีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น ศึกษาค้นคว้าและพัฒนาตนเองจากการศึกษาแหล่งเรียนรู้โดยตรง โดยภาควิชาฯ ได้เปิดห้องปฏิบัติการเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าเยี่ยมชมนวัตกรรมทางการแพทย์ในด้านต่าง ๆ


main
main

งานมหิดลวิชาการ 2565 วิศวะมหิดลเปิดบ้าน “Be A World Class Engineer with Mahidol Engineering”

วันที่ 28-29 ตุลาคม 2565 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมจัดนิทรรศการและเปิดห้องปฏิบัติการให้เข้าชม ในงานเปิดบ้านวิศวะมหิดล (EG open House) ปีนี้จัดขึ้นในธีม “Be A World Class Engineer with Mahidol Engineering” เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาต่อไป


main
main

นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากมูลนิธิทาคาฮาชิ

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรากร เจริญสุข รักษาการแทนหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เป็นตัวแทนรับมอบทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากมูลนิธิทาคาฮาชิ เพื่อให้นักศึกษาใช้ในการดำเนินโครงการวิจัย ได้แก่ นายกรวิชญ์ โชตยาภา นางสาวธัญธร ลีธรรมชโย และนางสาวพิรญาณ์ ชิณวงษ์ นักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ในหัวข้อ การพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้เชิงลึกสำหรับการคัดแยกกลไกการทำงานของยาปฏิชีวนะจากการศึกษาลักษณะสัณฐานของเซลล์แบคทีเรียโดยใช้ภาพจากกล้องจุลทรรศน์ โดยมี ดร.ฐิติพัทธ อัชชะกุลวิสุทธิ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ


main
main

ต้อนรับนักเรียนโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ (โครงการ วมว. มธ.-สกร.) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ – โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต

วันที่ 26 ตุลาคม 2565 ภาควิชาวิศกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคณะเยี่ยมชม โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ (โครงการ วมว. มธ.-สกร.) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ – โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต เพื่อให้นักเรียนมีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น ศึกษาค้นคว้าและพัฒนาตนเองจากการศึกษาแหล่งเรียนรู้โดยตรง โดยภาควิชาฯ ได้เปิดห้องปฏิบัติการเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าเยี่ยมชมนวัตกรรมทางการแพทย์ในด้านต่างๆ


main
main

นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากมูลนิธิทาคาฮาชิ

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรากร เจริญสุข รักษาการแทนหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เป็นตัวแทนรับมอบทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากมูลนิธิทาคาฮาชิ เพื่อให้นักศึกษาใช้ในการดำเนินโครงการวิจัย ได้แก่ นายกรวิชญ์ โชตยาภา นางสาวธัญธร ลีธรรมชโย และนางสาวพิรญาณ์ ชิณวงษ์ นักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ในหัวข้อ การพัฒนาแพลตฟหอร์มการเรียนรู้เชิงลึกสำหรับการคัดแยกกลไกการทำงานของยาปฏิชีวนะจากการศึกษาลักษณะสัณฐานของเซลล์แบคทีเรียโดยใช้ภาพจากกล้องจุลทรรศน์ โดยมี ดร.ฐิติพัทธ อัชชะกุลวิสุทธิ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ


main
main

Bachelor of Engineering Program in Biomedical Engineering (International Program) Academic Year 2023

TCAS1/1 PORTFOLIO
Application period: Now until October 17, 2022
--------------------------------------------------
Official announcement: (https://www.eg.mahidol.ac.th)
Apply Here: (https://tcas.mahidol.ac.th)
--------------------------------------------------
Requirement document for application:
1. Transcript (GPAX ≥ 3.25)
2. Portfolio
3. Official report of one of the following English proficiency tests (the score result must not be older than 2 years from the application date):
- IELTS ≥ 5.5 or
- TOEFL IBT ≥ 64 or
- TOEFL ITP ≥ 500 or
- MU Grad Test ≥ 70 or
- MU-ELT ≥ 91 or
- SAT I (Reasoning Test) ≥ 1,000
4. Recommendation 3 letters.
5. Statement of purpose expressing the purpose of study in engineering program and expected career.
--------------------------------------------------
For more information Tel. 02-4414255
Email: egbemahidol@gmail.com

main


main
main

Bachelor of Engineering Program in Biomedical Engineering (International Program) Academic Year 2023

Direct Admission (1st Round) by Faculty of Engineering
Application period: September 15 - 28, 2022
--------------------------------------------------
Official announcement: (https://www.eg.mahidol.ac.th)
Apply Here: (https://forms.gle/Mp8v7qRDxaU5pRZU6)
--------------------------------------------------
Requirement document for application:
1. Transcript (GPAX ≥ 3.25)
2. Portfolio
3. Official report of one of the following English proficiency tests (the score result must not be older than 2 years from the application date):
- IELTS ≥ 5.5 or
- TOEFL IBT ≥ 64 or
- TOEFL ITP ≥ 500 or
- MU Grad Test ≥ 70 or
- MU-ELT ≥ 91 or
- SAT I (Reasoning Test) ≥ 1,000
4. Recommendation 3 letters.
5. Statement of purpose expressing the purpose of study in engineering program and expected career.
--------------------------------------------------
For more information Tel. 02-4414255
Email: egbemahidol@gmail.com

main


main
main

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ภาคต้น ประจำปีการศึกษา 2565 (รอบที่ 3) รอบสุดท้าย‼️

สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 25 มิถุนายน 2565
สมัครผ่านระบบ Online Admission ที่ https://bit.ly/MUFGS-TH-Admission
ศึกษาขั้นตอนการรับสมัครและเอกสารหลักฐาน https://bit.ly/TH-HowtoApply
เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษ https://bit.ly/EngCriteria
ทุนการศึกษาและรางวัลมากมาย
--------------------------------------------------
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม: งานบัณฑิตศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Website: https://www.eg.mahidol.ac.th/
Email: gradmueg@gmail.com
Line Official ID: @571jzhue

main


main
main

Bachelor of Engineering Program in Biomedical Engineering (International Program) Academic Year 2022

Academically Talented and Gifted Students
Application period: May 30 to June 23, 2022
--------------------------------------------------
Official announcement: SOON!!
on website: (https://www.eg.mahidol.ac.th/.../bachelor-programs.html)
--------------------------------------------------
Requirement document for application:
1. Transcript (GPAX ≥ 3.50)
2. Portfolio
3. Official report of one of the following English proficiency tests (the score result must not be older than 2 years from the application date):
- IELTS ≥ 5.5 or
- TOEFL IBT ≥ 64 or
- TOEFL ITP ≥ 500 or
- MU Grad Test ≥ 70 or
- MU-ELT ≥ 91 or
- SAT I (Reasoning Test) ≥ 1,000
4. Recommendation 3 letters.
5. Statement of purpose expressing the purpose of study in engineering program and expected career.
--------------------------------------------------
For more information Tel. 02-4414255
Email: egbemahidol@gmail.com
main



main
main

ประกาศรับอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัย

โครงการวิจัยนี้ทำขึ้นเพื่อพัฒนาอุปกรณ์เก็บเลือดจากระยะไกล (homeRNA) ให้มีความเหมาะสำหรับการนำมาใช้งานในประเทศไทย คณะผู้วิจัยสนใจที่จะทำการพํฒนาอุปกรณ์ดังกล่าว โดยการจัดเก็บข้อมูลจากผู้ใช้จริงในด้านความสะดวกในการใช้งานอุปกรณ์ร่วมกับการศึกษาการตรวจวัดปริมาณและคุณภาพของสารพันธุกรรมในตัวอย่างเลือดเพื่อประเมินประสิทธิภาพของชุดอุปกรณ์เก็บตัวอย่างเลือดจากระยะไกล ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับคือมีเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ป่วยหรือบุคคลทั่วไปสามารถเจาะเลือดด้วยตนเองได้อย่างสะดวกมีขั้นตอนที่ง่ายดาย และสามารถเก็บรักษาสภาพของตัวอย่างให้สามารถนำไปใช้ตรวจวิเคราะห์ต่อได้ ซึ่งจะช่วยลดค่าเดินทางและการเสียเวลาในการมาเจาะเลือดก่อนการตรวจซึ่งเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วย และอาจจะทำให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยที่เร็วขึ้นซึ่งสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศได้


main
main

ขอเชิญเข้าร่วมพิธีมอบรางวัลผลการเรียนดี และพิธีมอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติด้านกิจกรรมนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ขอแสดงความยินดีกับ
นายพิสิฐชัย เตชะวิเศษ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์
นางสาวณัฐมน เรืองเวทสวัสดิ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์
และนางสาวอภิสรา อยู่ยืน นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์
ได้รับรางวัลผลการเรียนดี ประจำปีการศึกษา 2564
****************************************
และขอเชิญเข้าร่วมพิธีมอบรางวัลผลการเรียนดี และพิธีมอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติด้านกิจกรรมนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564
เพื่อร่วมแสดงความยินดีและชื่นชมแก่นักศึกษาผู้ได้รับรางวัลเรียนดี และรางวัลจากการเข้าร่วมโครงการแข่งขันประเภทต่าง ๆ พร้อมทั้งเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้นักศึกษา ให้มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียน เสาะแสวงหาความรู้และประสบการณ์ในการแข่งขันเพื่อทดสอบความสามารถและศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ อีกทั้งยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ทุกคนอีกด้วย
****************************************
ในวันพุธที่ 23 มีนาคม 2565
13.30 น.
ออนไลน์ ผ่านระบบ Cisco Webex Meetings
https://mahidol.webex.com/mahidol/j.php...
Meeting number: 2643 538 2103
Password: mueg
****************************************
>>การตั้งชื่อใน WebEx << สำหรับนักศึกษา
[ตัวย่อภาควิชา] รหัสนักศึกษา / ชื่อจริง หรือชื่อเล่น (ภาษาไทย) ****************************************
>>Virtual Background<<
#เพื่อเพิ่มอรรถรสในการเข้าร่วม เชิญชวนทุกท่านร่วมใช้ Background ของทางคณะฯ กันนะคะ
https://drive.google.com/.../1BvQvUTBcFpP0x0d1KBBqI0TzoLN...
****************************************
ขอความร่วมมือนักศึกษาทุกท่านที่เข้าร่วมพิธี และเข้าร่วมเพื่อแสดงความยินดี โปรดใส่ชุดนักศึกษา


main
main

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ขอแสดงความยินดีกับผู้เข้ารับรางวัลประกาศเกียรติคุณ ในงานครบรอบ 53 ปี วันพระราชทานนาม และ 134 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 3 มีนาคม 2565 รศ.ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ พร้อมด้วย รศ.ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและสื่อสารองค์กร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีกับผู้เข้ารับรางวัลประกาศเกียรติคุณ ในงานครบรอบ 53 ปี วันพระราชทานนาม และ 134 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล
สิทธิบัตรที่ได้รับการจดทะเบียนในปี 2564 ประกอบด้วย 1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ อุปกรณ์สอบเทียบของหัวเก็บภาพอัลตร้าซาวด์ ประดิษฐ์โดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ 2. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ ระบบวัดอัตราการไหลปัสสาวะ ประดิษฐ์โดย ผศ.ดร.พรภพ นัยเนตร
รางวัลพนักงานมหาวิทยาลัยดีเด่น ประจำปี 2564 ผศ.ดร.เบญจพร เลิศอนันตวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้รับรางวัลระดับมหาวิทยาลัย กลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัยที่มีระยะเวลาการปฏิบัติงานติดต่อกันไม่เกิน ๑๐ ปี ตำแหน่งประเภทวิชาการ ประจำปี 2564


main
main

มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับ คณะเยี่ยมชมจากโรงเรียนกายอุปกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

17 ก.พ. 2565 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับ คณะเยี่ยมชมจากโรงเรียนกายอุปกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เข้าเยี่ยมชมผลงานวิจัยของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์


main
main

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ม.มหิดล ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจาก ABET, USA

เรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง ของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
------------------------------------------------
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) ม.มหิดล เป็นหลักสูตรแรกของสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจาก Accreditation Board for Engineering and Technology (ABET) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยระบบประกันคุณภาพตามมาตรฐานของ ABET จะเป็นกลไกสำคัญในการยกระดับศักยภาพของบัณฑิตไทยสู่การเป็นพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานในประชาคมอาเซียนและนานาชาติในอนาคต ทางหลักสูตรฯ จะคงไว้ซึ่งมาตรฐานและจะไม่หยุดการพัฒนาเพื่อบัณฑิตทุกท่านจะเติบโตเป็นพลเมืองโลกทีมีศักยภาพต่อไป


main
main

Bachelor of Engineering Program in Biomedical Engineering (International Program) Academic Year 2022

TCAS 1/1 Portfolio
Application period: October 15 to November 5, 2021
--------------------------------------------------
Official announcement:
https://tcas.mahidol.ac.th/?fbclid=IwAR2td8vFiSzH7Q8Na2MjytXl-Rh2Wy9aVhF4wFnUjvjRwB2_cmJWf3X3tc4
--------------------------------------------------
Requirement document for application:
1. Transcript (GPAX ≥ 3.50)
2. Portfolio
3. Official report of one of the following English proficiency tests (the score result must not be older than 2 years from the application date):
- IELTS ≥ 5.5 or
- TOEFL IBT ≥ 64 or
- TOEFL ITP ≥ 500 or
- MU Grad Test ≥ 70 or
- MU-ELT ≥ 91 or
- SAT I (Reasoning Test) ≥ 1,000
4. Recommendation 3 letters.
5. Statement of purpose expressing the purpose of study in engineering program and expected career.
--------------------------------------------------
For more information Tel. 02-4414255
Email: wachiraporn.tho@mahidol.edu or inchalita.suw@mahidol.edu
main



main
main

Bachelor of Engineering Program in Biomedical Engineering (International Program) Academic Year 2022

Direct Admission by Faculty of Engineering
Application period: October 1 to November 20, 2021
--------------------------------------------------
Official announcement: https://www.eg.mahidol.ac.th/.../3171-tcas-65-direct...
Downdload Application form: https://www.eg.mahidol.ac.th/egmu_eng/apply-online
Application System: https://docs.google.com/.../1FAIpQLScX0zgvTnHTk5.../viewform
--------------------------------------------------
Requirement document for application:
1. Transcript (GPAX ≥ 3.50)
2. Portfolio
3. Official report of one of the following English proficiency tests (the score result must not be older than 2 years from the application date):
- IELTS ≥ 5.5 or
- TOEFL IBT ≥ 64 or
- TOEFL ITP ≥ 500 or
- MU Grad Test ≥ 70 or
- MU-ELT ≥ 91 or
- SAT I (Reasoning Test) ≥ 1,000
4. Recommendation 3 letters.
5. Statement of purpose expressing the purpose of study in engineering program and expected career.
--------------------------------------------------
For more information Tel. 02-4414255
Email: wachiraporn.tho@mahidol.edu or inchalita.suw@mahidol.edu
main



main
main

สอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา รอบรับตรงโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2564

2 ธ.ค. 63 ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนดสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา รอบรับตรงโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2564 ทั้งนี้ ภาควิชาฯ ได้เปิดห้องปฏิบัติการของภาควิชาฯ เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองได้เข้าเยี่ยมชมผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์


main
main

01/12/63 ต้อนรับ นร. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

วันที่ 1 ธ.ค. 63 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับคณะเยี่ยมชมคณาจารย์และนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เพื่อเข้าศึกษาดูงานที่ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์


main
main

ขอแสดงความยินดีกับ ทีม Mahidol BCI LAB คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล คว้าเหรียญเงิน จากการแข่งขัน “CYBATHLON (ไซบาธอน) 2020 ” โอลิมปิกเทคโนโลยีระดับโลกเพื่อผู้พิการ

ขอแสดงความยินดีกับทีม Mahidol BCILAB ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสที่คว้าเหรียญเงินจากการแข่งขัน “CYBATHLON (ไซบาธอน) 2020 ” หรือโอลิมปิกเทคโนโลยีระดับโลกเพื่อผู้พิการ ในประเภทควบคุมการแข่งขันรถด้วยคลื่นสมองเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ (Brain-Computer Interface Race:BCI)นักแข่ง (Pilot) คือ คุณปาล์ม เกรียงไกร เตชะดี นอกจากนี้ ทีม Mahidol BCILAB ยังส่งนักแข่ง (Pilot) คุณออมสิน ศักดิ์จุติ ปลั่งพงษ์พันธ์ เข้าร่วมแข่งในประเภทจักรยานที่ใช้อุปกรณ์กระตุ้นกล้ามเนื้อขาด้วยระบบไฟฟ้า (Functional Electrical Stimulation Bike Race : FES) อีกด้วย ซึ่งมีการจัดแข่งขัน ระหว่างวันที่ 13-14 พฤศจิกายน 2563โดยมี รศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ปรึกษาทีมไทยและ คุณพงศกร เวชการ เป็นผู้จัดการทีมมหิดล บีซีไอแล็บ (MAHIDOL BCILAB)โดยเหรียญทองเป็นของทีม WHI จากประเทศอิตาลี และเหรียญทองแดง ทีม Neuroboticsจากประเทศรัสเซีย สามารถติดตามรับชมการแข่งขันย้อนหลังได้ที่ https://cybathlon.ethz.ch/en/teams/mahidol-bcilab-bci ไซบาธอน (Cybathlon) เป็นการแข่งขันนานาชาติที่จัดทุก 4 ปี เปรียบเสมือน “โอลิมปิกทางเทคโนโลยีระดับโลกสำหรับผู้พิการและนวัตกร” จากทั่วโลกได้มาประลองการออกแบบนวัตกรรมและใช้เทคโนโลยีสุดล้ำสำหรับผู้พิการรศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และที่ปรึกษาทีมไทย กล่าวว่า Cybathlon 2020 ครั้งนี้จัดที่เมือง Zurich ซึ่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นเจ้าภาพ ในปีนี้ มีผู้เข้าร่วมแข่งขันมากขึ้นกว่าครั้งก่อนถึง 3 เท่า กำหนดจัดวันที่ 13 - 14 พ.ย. แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 จึงปรับรูปแบบของการแข่งขันเป็น Virtual ออนไลน์ และถ่ายทอดไปยังนานาประเทศด้วย การแข่งขัน Cybathlon 2020 แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภทควบคุมสั่งการแข่งรถด้วยคลื่นสมองเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ (BCI : Brain-Computer Interface Race) สำหรับผู้พิการการเคลื่อนไหวในระดับต่ำกว่าคอลงมา 2. ประเภทจักรยานที่ใช้อุปกรณ์กระตุ้นกล้ามเนื้อขาด้วยระบบไฟฟ้า (Functional Electrical Stimulation Bike Race) สำหรับผู้พิการไขสันหลัง ตั้งแต่เอวลงมา 3. ประเภทใช้เทคโนโลยีแขนเทียมเพื่อปฏิบัติภารกิจ (Powered Arm Prosthesis Race) 4. ประเภทใช้เทคโนโลยีขาเทียม แข่งขันวิ่งวิบากและปฏิบัติภารกิจ (Powered Leg Prosthesis Race) 5. ประเภทแข่งขันเดินผ่านสิ่งกีดขวางโดยใช้อุปกรณ์เสริมแรงสำหรับผู้พิการไขสันหลัง (Powered Exoskeleton Race) และ 6. ประเภทแข่งขันควบคุมวีลแชร์ ซึ่งมีต้นกำลังขับเคลื่อนเพื่อขึ้นบันไดและตะลุยวิบาก (Powered Wheelchair Race) สองนวัตกรรมที่ทีมคนไทย MAHIDOL BCILAB ได้ออกแบบ คือ 1.นวัตกรรมอุปกรณ์ BCI หรือ Brain-Computer Interface ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทั่วโลกให้ความสนใจและหลายองค์กรชั้นนำกำลังเร่งพัฒนาออกมาใช้กับมนุษย์ในอนาคตอันใกล้นั้น ระบบของ BCI ประกอบด้วย ชุดอุปกรณ์สัญญาณสมอง ได้แก่ หมวกที่มีอิเล็กโทรดสำหรับวัดสัญญาณสมองจากผิวบนหนังศรีษะ และวงจรขยายสัญญาณสมอง เชื่อมต่อเข้ากับซอฟแวร์วิเคราะห์รูปแบบของสัญญาณที่ทางทีมพัฒนาขึ้น เพื่อใช้ในการแยกแยะสัญญาณสมองออกจากสัญญาณชีวภาพชนิดอื่น จากนั้นจึงแยกแยะแต่ละคำสั่งออกมาในรูปแบบที่ต้องการ ซึ่งในการแข่งขันจะใช้การยกแขนซ้าย-ขวา แทนคำสั่งในการบังคับรถเลี้ยวซ้าย ขวา และเปิดไฟหน้าตามต้องการ โดยได้มีการพัฒนาและฝึกซ้อมร่วมกันระหว่างทีมนวัตกรและนักกีฬาผู้บังคับระบบอย่างใกล้ชิดจนมีประสิทธิภาพที่น่าพอใจ และอีกหนึ่งนวัตกรรมอุปกรณ์จักรยานไฮเทค FES ใช้พหุศาสตร์เทคโนโลยีขั้นสูงที่เราออกแบบเองตั้งแต่ชิปวงจร ฮาร์ดแวร์ เครื่องกล ไฟฟ้าและไอที ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่ วงจรกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า ซึ่งจะมีแผ่นอิเล็กโทรดติดที่ขาแล้วปล่อยกระแสไฟฟ้าทำให้กล้ามเนื้อยืดหดตัวเป็นจังหวะ เพื่อใช้ในการปั่นจักรยาน อีกส่วนหนึ่งคือ ตัวจักรยานที่ออกแบบเป็นพิเศษให้รองรับสรีระของผู้แข่งขันโดยใช้เบาะนั่งแบบแขวน ทั้งยังออกแบบระบบขับเคลื่อนและโครงสร้างจักรยานให้สอดคล้องกันและสามารถใช้งานได้ทั้งในสนามแข่งและนอกสนามแข่ง เช่น รูปทรง วัสดุ และน้ำหนัก ระบบทดกำลัง และ ระบบดูดซับแรงสั่นสะเทือนจากพื้นถนน โดยในระบบกระตุ้นไฟฟ้านั้นจะมีชุดประมวลผลที่สามารถตรวจสอบสถานะของจักรยานและปรับเปลี่ยนรูปแบบการปล่อยไฟฟ้าลงบนกล้ามเนื้อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย ทำให้ผู้พิการสามารถใช้ขาปั่นจักรยานได้อย่างน่าทึ่ง คุณพงศกร เวชการ ผู้จัดการทีมมหิดล บีซีไอแล็บ (MAHIDOL BCILAB) กล่าวว่า สนามแข่ง Cybathlon 2020 ทางออนไลน์ ปีนี้มีทั้งหมด 40 ฮับ ทั้งนี้คณะกรรมการจัดงาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ส่งตัวแทนมาตรวจเช็คตามมาตรฐานที่กำหนด การตัดสิน ในการแข่งขันทุกประเภทจะตัดสินจากเวลาที่ใช้ในการทำภารกิจ หากไม่สามารถทำสำเร็จก่อนหมดเวลาจะตัดสินจากคะแนนหรือระยะทางที่ทำได้ แต่ละทีมจะมีโอกาส 3 ครั้งเพื่อนำคะแนนที่ดีที่สุดมาตัดสินเป็นผู้ชนะในแต่ละประเภท


main
main main

Be Part of Our BME@Mahidol Family
main
นางสาวมินทร์ชนก วิวัฒน์อนันต์ ผ่านการคัดเลือกในรอบ
TCAS 1 Portfolio
“Hello Everyone, I graduated from Shrewsbury international school. My inspiration for Biomedical engineering sprouted from my aim to find a career based on my love for sciences and my love for helping others. I first happen to come across videos of disabled animals who first received their newly made prosthetics. How happy they were to be able to use their artificial limbs to acquire body functions they weren’t able to before truly warmed my heart. I became interested and began researching about prosthetics, that was when I found the job of Biomedical Engineers. I quickly came to acknowledge that the career is an area where I am able to express my creative thinking into a piece that will be able to help others. My purpose for this course when I graduate is to be able to develop medical devices to open more innovative and efficient treatment in the medical field and open new areas of treatments to enhance the quality of life for those with unavoidable illnesses or disabilities and make these treatments more affordable for everyone. For the reason that Thailand does not have much development in this area yet and depends on importing medical devices from other countries which are expensive and are hard to afford for the lower-income population, I aim to become a Biomedical engineer to establish advance medical equipment in Thailand that will be able to compete with other countries. Mahidol is able to provide me with a qualified education even though we started our year through the Covid-19 pandemic. The society of the university is very friendly and seniors were very helpful towards first-year students, encouraging us to join many university activities such as sports and cheerleading. I am happy to be a part of everyone’s journey in this program.”

main
นายวิทวัส ตั้งศรีวรกานต์
ประธานนักศึกษาชั้นปี 1 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ผ่านการคัดเลือกในรอบรับตรงโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์
“ส่วนตัวผมได้มีความสนใจในศาสตร์ของวิศวกรรมอยู่เเล้ว บวกกับมองเห็นว่าสาขาวิชานี้สามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลายทาง เเละสามารถช่วยผู้ป่วยด้วยความสามารถของตัวเองผ่านเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้อีกด้วย ผมจึงเลือกมาเรียนสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ผมได้ทำการเตรียมสอบ IELTS เเละทำแฟ้มสะสมผลงานเพื่อที่จะยื่นเข้ารอบรับตรงของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จนกระทั่งติดเป็นหนึ่งในรายชื่อนักศึกษา เหตุผลที่ผมเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยนี้ เพราะผมได้ยินชื่อเสียงทางความเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในด้านการแพทย์ ด้านการวิจัย เเละความเป็นนานาชาติ อีกทั้งชอบบรรยากาศในมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นธรรมชาติ ผมเชื่อว่าภายใน 4 ปีนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลจะทำให้ผมสามารถเรียนรู้ในสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เเละดึงศักยภาพของผมออกมาได้อย่างเต็มที่ หลังจากที่ผมเข้ามาสู่สังคม BME ก็พบว่าอาจารย์ เพื่อนๆ และพี่ๆ ต่างให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นทั้งเรื่องเรียนหรือกิจกรรม ซึ่งทำให้ผมวางใจได้ว่าผมจะทำหน้าที่ในฐานะประธานภาคและตั้งใจเรียนไปพร้อมกันได้อย่างเต็มที่ครับ”

main
นายชอน กัลอัพ (Sean Gallup)
ผ่านการคัดเลือกในรอบรับตรงโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ คะแนนภาษาอังกฤษ IELTS 7.5
“My interest in Biomedical Engineering began when I was in high school. I’ve always had an interest in Engineering but I developed one towards Biomed because of two reasons. The first one is because learning biology has become a hobby of mine and it’s really satisfying to master. The second reason is because Thailand has an incredibly high increase rate for jobs in the Biomedical field, making Biomedical Engineering, one of the more leading programs in the future. Now, Thailand has many universities that offer the Biomedical Engineering program but no place does it like Mahidol University. Mahidol program in, in my eyes, is above the rest because of their faculty, resources in the labs and the connections they have with other Universities, in and out of country, leading in the Biomedical field. Now I can’t go in to detail on all of this but from my trip to Mahidol Open house in my senior year, the faculty and peers that I’ve made of my time spent studying, everything is just as good as it sounds. I understand that finding out what’s right for you is hard but that’s why we have open house so you can come and ask us all your questions. The only way to know what’s best for you is to explore and learn about your options; rest assured, that’s what Mahidol does best.”

main
นายภูชนม์ วงศ์วิเศษ
ผ่านการคัดเลือกในรอบรับตรงโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์
“คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์คือเป้าหมายของผมมาตลอดตั้งแต่ขึ้นมัธยมปลายมา เพราะส่วนตัวแล้วเป็นคนชอบชีววิทยาครับ บวกกับอยากเป็นวิศวกรอยู่แล้วด้วย เลยลองค้นหาคณะที่คิดว่าจะตอบโจทย์เราได้ เลยได้มาเจอกับภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์นี้ หลังจากที่เจอก็ศึกษาหาข้อมูลแล้วก็ได้รู้ว่าที่มหาวิทยาลัยมหิดลก็มีคณะนี้ด้วย ส่วนตัวอยากอยู่มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นอันดับหนึ่งอยู่แล้วครับ เพราะชอบทั้งบรรยากาศภายในมหาวิทยาลัย ทั้งหลักสูตรการเรียนก็ตอบโจทย์ตัวเอง เลยตั้งเป้าไว้ที่นี่ตั้งแต่ตอนนั้นเลย หลังจากนั้นก็ดูเกณฑ์คะแนนการเข้า พอได้ทราบว่ามีรอบรับตรงของคณะตอนเดือนตุลาคมก็เลยไปสอบ IELTS ทำ Portfolio เตรียมสัมภาษณ์ พอรู้ตัวว่าสอบติดแล้วก็ดีใจมากครับ หลังจากที่ได้เริ่มเรียนแล้วก็รู้สึกว่าคิดไม่ผิดที่เลือกเรียนที่นี่ครับ ถึงช่วงนี้จะยังเป็นการเรียนออนไลน์ แต่ผมก็ได้ลองเข้ามาสัมผัสบรรยากาศภายในมหาวิทยาลัยแล้ว ด้านกิจกรรมในตอนนี้ผมอาจจะยังไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมอะไรมากนักเนื่องจากติดสถานการณ์โควิด แต่ก็พอได้ยินมาว่ากิจกรรมที่นี่ทั้งดีและสนุกครับ ส่วนด้านการเรียน ผมไม่เสียดายเลยครับที่เลือกเรียนที่นี่ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์มีห้องปฏิบัติการให้เลือกเยอะมาก แต่ละห้องปฏิบัติการก็แตกต่างกันออกไป ถึงจะยังไม่ถึงปีที่ต้องเข้าแลปแต่ก็มีแลปอยู่ในใจแล้วครับ ส่วนการประกอบอาชีพในอนาคตก็สามารถเลือกได้หลากหลายเลยครับว่าจะทำงานด้านไหนแล้วแต่คนจะอยากเลือก ส่วนตัวยังไม่ได้ตัดสินใจครับว่าจะทำงานด้านไหน อาจจะต้องลองเรียนไปเรื่อยๆก่อน ถามตัวเองว่าชอบด้านไหนกันแน่ที่เหมาะกับตัวเองที่สุดครับ”


main
main

Seminars Topic : Nanobiosensors for diagnostics applications

September 1, 2020 , from 2.00 pm – 4.00 pm
Professor Dr. Arben Merkoçi
Catalan Institute of Nanoscience and Nanotechnology (ICN2), CSIC and The Barcelona Institute of Science and Technology, Campus UAB, Bellaterra, 08193 Barcelona, Spain. ICREA - Institucio Catalana de Recerca i Estudis Avançats, 08010 Barcelona, Spain


main
main

ต้อนรับกลุ่มคลัสเตอร์อุตสาหกรรมแห่งอนาคต กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล

9 ก.ค. 63 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ รศ.ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ให้การต้อนรับ นายโฆษิต กรีพร ประธานกลุ่มคลัสเตอร์อุตสาหกรรมแห่งอนาคต กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล พร้อมด้วยผู้ประกอบการกลุ่มคลัสเตอร์อุตสาหกรรมแห่งอนาคต กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ในโอกาสมาเยี่ยมชมภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ พร้อมทั้งเข้าร่วมประชุมหารือกับที่ปรึกษาเฉพาะทางด้านเครื่องมือแพทย์ โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและพัฒนาต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต


main
main

ขอแสดงความยินดีกับทีม IQmed Innovation

ขอแสดงความยินดีกับทีม IQmed Innovation กับผลงานสิ่งประดิษฐ์ช่วยให้หัวใจเต้นขณะที่ถูกส่งตัวจากโรงพยาบาลหนึ่งไปยังอีกโรงพยาบาลหนึ่งเพื่อทำการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ได้รับรางวัลผู้ชนะเลิศ IQmed Innovation crowned as the Grand Winner of TECH PLAN DEMO DAY in THAILAND 2020 และทีมยังสามารถคว้ารางวัลผู้ชนะเลิศจาก TCELS award อีกด้วย นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรภพ นัยเนตร อาจารย์สังกัดภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ร่วมด้วย ปภัสสรณ์ การุณงามพรรณ นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ และทีม IQmed Innovation


main
main

วิศวกรรมชีวการแพทย์ ม.มหิดล ให้ทุนการศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิตสู่อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ระดับนานาชาติ

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มีเป้าหมายให้ทุนค่าสนับสนุนการศึกษา แก่นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ, หลักสูตรพหุวิทยาการ) ในปีการศึกษา 2563 สำหรับนักศึกษาในรอบ Admission ผู้ที่มีคะแนนมากกว่า 21,000 คะแนน จำนวน 3 ทุน
main
รายละเอียดกำหนดการการรับสมัคร TCAS รอบ Admission ดูเพิ่มเติมได้ที่ Website
https://tcas.mahidol.ac.th/schedule.html

main
หลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตรร่วมระหว่าง 2 สถาบัน ระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและคณะวิศวกรรมศาสตร์ University of Strathclyde (มหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์) ที่จะเริ่มดำเนินการในปีการศึกษา 2561 (เดือนสิงหาคม 2561) เป็นต้นไป เพื่อผลิตบัณฑิตที่มุ่งสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล มุ่งสู่ไทยแลนด์ 4.0 มุ่งเน้นเพิ่มบุคลากรและงานวิจัยคุณภาพเพื่อรองรับอุตสาหกรรมทางการแพทย์ระดับโลก โดยมีเป้าหมายให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้สามารถจัดการกับปัญหาทั้งทางด้านวิศวกรรมและทางการแพทย์ตามความต้องการของสังคมและประชาคมระหว่างประเทศได้ โดยหลักสูตรนี้จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ไปศึกษา ณ มหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์เป็นเวลา 2 ปี สำหรับหลักสูตรปริญญาตรี โดยจะเน้นศึกษาบนการทำโครงการและงานวิจัยร่วมกันระหว่าง 2 สถาบัน ทั้ง 2 สถาบัน มีลักษณะที่โดดเด่น ได้แก่ มีความหลากหลายทางด้านโครงงานและงานวิจัย, มีความร่วมมือที่แน่นแฟ้นกับสถาบันทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียง, มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับผู้ประกอบการและธุรกิจ, ความสำเร็จและประวัติศาสตร์อันยาวนานของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
หลักสูตรนี้อาศัยจุดแข็งของ 2 สถาบันคือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลมีประสบการณ์ด้านงานวิจัยและพัฒนารวมถึงการศึกษาทางวิชาการด้านการพัฒนาเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมากว่า 15 ปี นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในต่างประเทศที่มีความพร้อมที่จะสามารถร่วมกันสร้างหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและมุ่งมั่นพัฒนาศาสตร์ด้านวิศวกรรมเพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกัน ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้เป็นผลจากการต่อยอดการลงนามความร่วมมือในงาน Symposium Mahidol-Strathclyde โดยมหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์เป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบที่มีชื่อเสียงระดับโลกด้านการออกแบบและผลิตนวัตกรรม การที่ได้จัดทำหลักสูตรร่วมนานาชาติวิศวกรรมศาสตร์ครั้งนี้ จะนำไปสู่การพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในการสร้างงานวิจัยที่สามารถพัฒนาเป็นนวัตกรรมเชิงพาณิชย์สู่การเป็นผู้ประกอบการและรองรับภาคอุตสาหกรรมทางการแพทย์ของโลกกว่า 15 ปี นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในต่างประเทศที่มีความพร้อมที่จะสามารถร่วมกันสร้างหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและมุ่งมั่นพัฒนาศาสตร์ด้านวิศวกรรมเพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกัน
ติดตามข่าวสารภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ม.มหิดล
Facebook: https://www.facebook.com/bmemahidol
Website: https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egbe/
Email: inchalita.suw@mahidol.edu
โทร 02-4414255
ช่องทางรายละเอียดการรับสมัครนักศึกษา TCAS ปีการศึกษา 2563
https://tcas.mahidol.ac.th/



main
main

ประกาศคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทย าลัยมหิดล

เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ในการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ระบบ TCAS รอบที่ 2 (Quota) ปีการศึกษา 2563

main


main main

“หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) เปิดรับสมัครรอบรับตรงโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล”

                                    คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
                   เปิดรับสมัคร รอบรับตรงคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
                                         วันที่ 1 ตุลาคม - 15 พฤศจิกายน 2562 นี้
                                           -------------------------------------
Requirement document for application:
1. Transcript (GPAX ≥ 3.50)
2. Portfolio
3. Official report of one of the following English proficiency tests (the score result must not be older than 2 years from the application date):
      - IELTS ≥ 5.5
      - TOEFL: Paper Based (TOEFL-ITP) ≥ 500 or Internet Based (TOEFL-CBT) ≥ 59 or
         Computer Based (TOEFL-IBT) ≥ 173
      - MU Grad Test ≥ 60
      - MU-ELT ≥ 91
      - SAT I (Reasoning Test) ≥ 1,000
4. Recommendation 3 letters.
5. Statement of purpose expressing the purpose of study in engineering program and expected career
Official announcement: ดูประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล
Download Application: ดาวโหลดใบสมัคร
For more information Tel. 02-4414255
Email: wachiraporn.tho@mahidol.edu or inchalita.suw@gmail.com

main

main
main

ทีม SMART @MUได้รับรางวัล

ขอแสดงความยินดีกับทีม SMART @MU กับผลงาน SMART knee raising counter device ได้รับรางวัลสนับสนุน ในการเข้าร่วมแข่งขัน ประกวดนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี 2562 "Sport Science Innovation Contest 2019" ซึ่งจัดขึ้นโดย สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อให้เยาวชนและประชาชนที่มีความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การกีฬา ได้นำเสนอความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดค้น และประดิษฐ์ผลงาน เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา สมาชิกในทีมประกอบด้วย รศ.ดร. วีรวัฒน์ ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์, ผศ.ดร.วรากร เจริญสุข ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมศาสตร์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์, นายบรรภพ ศรีวาณัติ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พร้อมด้วย นักศึกษาชั้นปริญญาตรี โท และเอก ของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้แก่ นางสาวอุดมพร มนูพิบูลย์, นางสาววิมลรัตน์ จารุเมธิตานนท์, นางสาวสุชาดา นูพิมพ์, นางสาวกัญญารัตน์ บุญขำ, นายชมบุญ สีมารักษ์, นางสาววนพรรณ วุฒิอุตดม และนายพุฒินันท์ แสงกิจอมร


main
main

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 10 ก.ย. 62 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับอาจารย์จากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พูดสัมมนาในหัวข้อ "Bioengineering in Dentistry: A review of CAD/CAM and Nanotechnology Applications” พร้อมทั้ง เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของภาควิชาฯ


main
main

ต้อนรับ บจก. พรีไซซ์ เมดิคอล ซิสเท็ม

วันที่ 5 ก.ย. 62 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับ บริษัท พรีไซซ์ เมดิคอล ซิสเท็ม จำกัด ผู้แทนในด้านการให้บริการด้านเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์การแพทย์ เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของภาควิชาฯ


main
main

ต้อนรับคณะเยี่ยมชม รร.มาแตร์เดอีวิทยาลัย

วันที่ 3 ก.ย. 2562 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับคณะเยี่ยมชมคณาจารย์และนักเรียนโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย เพื่อเข้าศึกษาดูงานที่ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์


main
main

ต้อนรับศูนย์ตาธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

22 สิงหาคม 2562 ต้อนรับศูนย์ตาธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 22 ส.ค. 62 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับคณะเยี่ยมชมศูนย์ตาธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อหารือความร่วมมือในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์


main
main

Visiting Professor

19-30 ส.ค. 62 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับ Visiting Professor จากต่างประเทศ Prof. Shigehiro Hashimoto, Doctor of Engineering & Doctor of Medicine, Councilor, Dean, Faculty of Engineering, Professor, Biomedical Engineering, Kogakuin University, Tokyo, Japan. สอนรายวิชาของนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ)


main
main

ต้อนรับนักศึกษา Kogakuin University,Japan

26-27 ส.ค. 2562 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับนักศึกษาแลกเปลี่ยนจาก Kogakuin University ประเทศญี่ปุ่น เดินทางเข้ามาศึกษาดูงานที่ภาควิชาฯนักศึกษาได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านนวัตกรรม รวมไปถึงได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างนักศึกษาไทยและต่างชาติ ซึ่งมหาวิทยาลัยดังกล่าวได้ส่งนักศึกษามาแลกเปลี่ยนเป็นประจำทุกปี


main
main

Thesis Defence Examination

Thesis Defence Examination Mrs. Siriwan Srisang
September 6, 2019, from 9.00 pm – 12.00 pm
Topic IN VITRO AND IN VIVO EVALUATION OF FOLEY URINARY CATHETER COATED WITH CHLORHEXIDINE-LOADED NANOPARTICLES FOR PREVENTING URINARY TRACT INFECTION


main
main

Thesis Defence Examination

Thesis Defence Examination MrS. APICHAYA JITPANYA
August 19, 2019, from 1.00 pm – 4.00 pm
Topic THE EFFECT OF RTMS OVER TEMPOROPARIETAL JUNCTION ON AUDITORY ACTIVITY FOR REDUCING AUDITORY HALLUCINATIONS IN SCHIZOPHRENIA: A PILOT STUDY ON HEALTHY SUBJECTS


main
main

ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำกลยุทธ์ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์สู่ความเป็นเลิศระดับสากล

วันที่ 2 ส.ค. 62 คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำกลยุทธ์ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์สู่ความเป็นเลิศระดับสากล ณ สวนสามพราน จังหวัดนครปฐม


main
main

Thesis Defence Examination

Thesis Defence Examination MR. SARAWIN KHEMMACHOTIKUN
August 8, 2019, from 9.15 am – 12.00 pm
Topic “SOUND IMAGERY EEG ANALYSIS WITH CONVOLUTIONAL NEURAL NETWORKS AND INPUT-PERTURBATION NETWORK-PREDICTION TECHNIQUE”


main
main

ต้อนรับโครงการเยาวชนกองทัพไทย สร้างชาติไทยเป็นหนึ่ง

19 ก.ค. 62 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับกองบัญชาการกองทัพไทย โดยกิจการพลเรือน เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของภาควิชาฯ ภายใต้โครงการเยาวชนกองทัพไทย สร้างชาติไทยให้เป็นหนึ่ง ประจำปีงบประมาณ 2562 ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการเป็นผู้นำเยาวชนกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการอบรมโครงการผู้นำเยาวชนกองทัพไทยมาแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเกิดความรู้ ความเข้าใจ มีเจตคติที่ทันสมัย และใฝ่ในการที่จพัฒนาตนเองตลอดเวลาให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและนวัตกรรมในโลกอนาคต

main
main

Special Seminar

Special Seminar 02 มิ.ย. 62 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับ Professor Nguyễn Thị Kim Thanh, FRSC, FInstP, FIMMM FRSB, Department of Physics and Astronomy, University College London. บรรยายสัมมนาพิเศษ ในหัวข้อ " Synthesis of Plasmonic and Magnetic nanoparticles for biomedical Appliations" และ DR. JULIEN REBOUD, Biomedical Engineering, University of Glasgow. บรรยายสัมมนาพิเศษ ในหัวข้อ " New microfluidic technologies using sound and paper for point-of-care diagnostics in low-resource settings" อีกทั้ง ยังเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เพื่อหารือความร่วมมือทางด้านงานวิจัยในด้านต่างๆ

main
main

เปิดรับสมัครเข้าศึกษาปริญญาตรี รอบรับตรง(รอบ 2)คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

                    Faculty of Engineering, Mahidol University Announcement
Student Admission for Bachelor of Engineering Program in Biomedical Engineering
                                                (International Program)
                                                  Faculty of Engineering
                            Direct Admission (Round 2) by Faculty, Academic Year 2019
                                           -------------------------------------
Faculty of Engineering is now open for the submission of application to the Bachelor of Engineering in Biomedical Engineering (International Program) for the Direct Admission (Round 2), Academic year 2019, Faculty of Engineering hereby announces details on admissions for the Bachelor of Engineering in Biomedical Engineering (International Program) for the Academic Year 2019.
1. Expected number of students: 3 persons
2. Admission requirements
      2.1 Certificate indicating the completion of high school degree
            2.1.1 Completion or currently studying Mathayom 6 with School under Faculty of Engineering MOU.
            2.1.2 Completion or currently studying Grade 12 or Year 13 or equivalent for International students.

      2.2 Cumulative Grade Point Average (GPAX) ≥ 3.50 or 87.5% (at least 5 semesters)

      2.3 Certified copy of the most recent transcript showing the applicant's grades in Science, Math and English ≥ 3.50 during high school (except qualified person 2.1.2)

      2.4 The applicant meets the English proficiency requirement by achieving a minimum score of one of the following English proficiency exams:
            2.4.1 IELTS Academic Test at least 5.5
            2.4.2 TOEFL Paper-based (TOEFL-ITP) at least 500
            2.4.3 TOEFL Computer-based (TOEFL-CBT) at least 173
            2.4.4 TOEFL Internet-based (TOEFL-IBT) at least 61
            2.4.5 MU Grad Test at least 40
            2.4.6 SAT I (Reasoning Test) at least 1,000
Note: English proficiency examination must have been taken no more than 2 years before the interview date.

      2.5 The applicant must have no medical condition and severe color blind which may interfere the education.

3. Supporting documents
      3.1 Certificate indicating the completion of high school degree or equivalents approved by the Ministry of Education of Thailand
      3.2 Certified copy of the most recent transcript showing the applicant’s grades in 4 semesters or 6 trimesters based on education system
      3.3 A photocopy of identification card and house registration (Thai residents only) or a photocopy of passport (non-Thai applicants)
      3.4 1x1 inch, straight-faced photo
      3.5 A photocopy of a change of name/last name certificate (only if different from name/last name in the documents required for application)
      3.6 Portfolio
      3.7 Statement of purpose (1 page, A4) expressing the purpose of study in biomedical engineering program and expected career
      3.8 Recommendation: 3 letters
      3.9 Official report of one of the following English proficiency tests (the score result must not be older than 2 years from the application date):
            3.9.1 IELTS
            3.9.2 TOEFL
            3.9.3 MU Grad Test
            3.9.4 SAT I (Reasoning Test)
      3.10 Certificate from a government hospital to certify that the applicant is not severe color blind and has no health conditions which may interfere the education

The applicant must bring all original and/or copied documents, and the original bank deposit slip in the interview date. All copied documents must be certified that they are true copies of the original documents, signed and dated.

4. Application process
      4.1 The applicant downloads an online application form from
https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egbe/
      4.2 The applicant submits the completed application form and supporting documents (see Section 3) in person or by email:
            4.2.1 The applicant may submit the document in person at the Department of Biomedical Engineering, Faculty of Engineering, Mahidol University.
            4.2.2 The applicant may send the document by sending an email to
mut.inter@gmail.com (Wachiraporn Thongkum) or
inchalita.suw@gmail.com (Inchalita Suwanrangsima)
      4.3 The applicant pays the application fee of 600 baht by making a transfer to the following account:
                        Bank Name:                   Siam Commercial Bank
                        Branch:                           Mahidol University
                        SWIFT code:                  SICOTHBK
                        Account Name:              Faculty of Engineering, Mahidol University
                        Account Number:          333-200020-3
                  Please note the application fee is non-refundable.

5. Admission schedule

Activity Date Details
Application period 30th May – 10th June, 2019 1. Download an application form from https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egbe/
2. Submit the document in person at the Department of Biomedical Engineering, Mahidol University. 3. Send the document to
mut.inter@gmail.com or
inchalita.suw@gmail.com
Announcement of interview shortlist 11st June, 2019 The applicants will be notified by email.
Interview 12nd June, 2019 The Department of Biomedical Engineering, Faculty of Engineering, Mahidol University (For applicant who is staying aboard, the interview will be conducted through online social application, e.g., Line)
Notification of admission offer 13rd June, 2019 The applicants will be notified by email.


6. Selection criteria
The Faculty of Engineering will make the final decision for the admission according to the following criteria:
      6.1 Portfolio, Statement of purpose and Recommendation (40 %)
      6.2 Transcript (20 %)
      6.3 English proficiency tests (20 %)
      6.4 Interview score (20 %)
      Note: Interview score assessed by personal information, education record, ability to communicate, initiative, intelligence, extracurricular activities and attitude.

7. For more information, please contact Department of Biomedical Engineering, Faculty of Engineering, Mahidol University, Tel. (+66)2-441-4255, E-mail: mut.inter@gmail.com or inchalita.suw@gmail.com

main

main
main

เรียนเชิญเข้าร่วมงานการประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ Workshop on Electrochemical Analysis: Biosensors, Environmental, Food & Clinical Analysis

ณ ห้อง 6373 ชั้น 3 อาคาร 3 (ตึกแดง)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วันที่ 21 มิถุนายน 2562
เวลา 8.30 -13.00 น.
ติดต่อ บริษัทไรทส์ อินสตรูเมนส์ จำกัด
E-mail : sarocha@ryts-instruments.co.th
Tel : 062-6863555

สามารถคลิกเพื่อลงทะเบียน ได้ที่

main

main
main

ต้อนรับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธรณสุข

24 พ.ค. 62 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับคณะเยี่ยมชม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธรณสุข โดยมีเป้าหมายมุ่งมั่นศักยภาพการวิจัยและพัฒนาระบบงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยนำเอาความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ การแพทย์สาธารณสุข และวิทยาศาสตร์ด้านต่างๆ มาประยุกต์เชิงบูรณาการเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาและช่วยตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์

main
main

Biomedical Engineering ระบบ TCAS รอบที่ 4 Admissions ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2562

Biomedical Engineering เปิดรับสมัคร !!
ระบบ TCAS รอบที่ 4 Admissions ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2562
วันที่ 9-19 พฤษภาคม 2562 นี้ !!
สอบถามเพิ่มเติมโทร 02-4414255
Email: mut.inter@gmail.com หรือ
Email: inchalita.suw@gmail.com

สามารถดูรายละเอียดและวิธีการสมัคร ได้ที่

main

main
main

ประกาศทุนการศึกษา

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มีเป้าหมายให้ทุนการศึกษา แก่นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) ในปีการศึกษา 2562 แก่ 1) นักศึกษารอบ Admission สำหรับผู้ที่มีมากกว่า 21,000 คะแนน จำนวน 3 ทุน 2) นักศึกษาในรอบอื่นๆ ทุนสำหรับนักศึกษาเรียนดีและมีความจำเป็นต้องการทุนสนับสนุนเพิ่มเติม

main
main

คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา รอบ Portfolio ประจำปีการศึกษา 2562

วันที่ 14 ม.ค. 62 ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนดสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา รอบ Portfolio ประจำปีการศึกษา 2562 ทั้งนี้ ภาควิชาฯ เปิดห้องปฏิบัติการของภาควิชาฯ เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองได้เข้าเยี่ยมชมผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์

main
main

Thesis Defence Examination Presentation

NANTAWACHARA JIRAKITTAYAKORN January 10, 2019 Time: 1.00 – 3.00 PM Room R6459, 4st level, Building 3 Orofacial pain is the pain occurring in oral and facial

main
main

Internship Student

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับนักศึกษาจาก UNIVERSITÉ DE BESANCON ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเดินทางเข้ามาฝึกงาน ณ ห้องปฏิบัติการของภาควิชาฯ เป็นระยะเวลา 3 เดือน

main
main

Biomedical Engineering เปิดรับสมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2562

ระบบ TCAS รอบที่ 1 Portfolio
วันที่ 3 - 14 ธันวาคม 2561 นี้ !!

สอบถามเพิ่มเติมโทร 02-4414255
Email: mut.inter@gmail.com หรือ
Email: inchalita.suw@gmail.com

สามารถดูรายละเอียดและวิธีการสมัคร ได้ที่

main

main
main

คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา รอบรับตรงโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์

วันที่ 21 พฤศจิกายน 61 ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนดสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา รอบรับตรงโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2562 ทั้งนี้ ภาควิชาฯ ได้เปิดห้องปฏิบัติการของภาควิชาฯ เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองได้เข้าเยี่ยมชมผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์

main
main

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ระบบรับตรงโดยคณะ ประจำปีการศึกษา 2562

                    ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
                สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) ระบบรับตรงโดยคณะ
                                                 ประจำปีการศึกษา 2562

main

main
main

กิจกรรมอบรม “การเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุน”

วันที่ 31 ตุลาคม 2561 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ จัดกิจกรรมอบรมบรรยายความรู้ เรื่อง การเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุน โดยวิทยากรพิเศษ คุณเบญจมาศ มะหมัดกุล นักทรัพยากรบุคคล สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยกิจกรรมดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อให้บุคลากรสายสนับสนุนได้รับความรู้และความเข้าใจในการเสนอขอตำแหน่งที่สูงขึ้น เพื่อความก้าวหน้าและมั่นคงในสายอาชีพ ณ ห้อง 6373 อาคาร3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล

main
main

เปิดรับสมัครเข้าศึกษาปริญญาตรี รอบรับตรงคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2562

                    Faculty of Engineering, Mahidol University Announcement
Student Admission for Bachelor of Engineering Program in Biomedical Engineering
                                                (International Program)
                                                  Faculty of Engineering
                            Direct Admission by Faculty, Academic Year 2019
                                           -------------------------------------
The Direct Admission for the application of the Bachelor of Engineering in Biomedical Engineering (International Program) Academic year 2019, Department of Biomedical Engineering, Faculty of Engineering is now open. Faculty of Engineering hereby announces details on admissions for the Bachelor of Engineering in Biomedical Engineering (International Program) as shown below.
1. Expected number of students: 10 persons
2. Admission requirements
      2.1 Certificate indicating the completion of high school degree
            2.1.1 Completion or currently studying Mathayom 6 with Science-Mathematics program
            2.1.2 Completion or currently studying Grade 12 or Year 13 or equivalent

      2.2 Cumulative Grade Point Average (GPAX) ≥ 3.25 (at least 4 semesters)

      2.3 Certified copy of the most recent transcript showing the applicant's grades in Science, Math and English ≥ 3.25 during high school (except qualified person 2.1.2)

      2.4 The applicant meets the English proficiency requirement by achieving a minimum score of one of the following English proficiency exams:
            2.4.1 IELTS Academic Test at least 5.5
            2.4.2 TOEFL Paper-based (TOEFL-ITP) at least 500
            2.4.3 TOEFL Computer-based (TOEFL-CBT) at least 173
            2.4.4 TOEFL Internet-based (TOEFL-IBT) at least 61
            2.4.5 MU Grad Test at least 40
            2.4.6 SAT I (Reasoning Test) at least 1,000
Note: English proficiency examination must have been taken no more than 2 years before the interview date.

      2.5 The applicant must have no medical condition and severe color blind which may interfere the education.

3. Supporting documents
      3.1 Certificate indicating the completion of high school degree or equivalents approved by the Ministry of Education of Thailand
      3.2 Certified copy of the most recent transcript showing the applicant’s grades in 4 semesters or 6 trimesters based on education system
      3.3 A photocopy of identification card and house registration (Thai residents only) or a photocopy of passport (non-Thai applicants)
      3.4 1x1 inch, straight-faced photo
      3.5 A photocopy of a change of name/last name certificate (only if different from name/last name in the documents required for application)
      3.6 Portfolio
      3.7 Statement of purpose (1 page, A4) expressing the purpose of study in biomedical engineering program and expected career
      3.8 Recommendation: 3 letters
      3.9 Official report of one of the following English proficiency tests (the score result must not be older than 2 years from the application date):
            3.9.1 IELTS
            3.9.2 TOEFL
            3.9.3 MU Grad Test
            3.9.4 SAT I (Reasoning Test)
      3.10 Certificate from a government hospital to certify that the applicant is not severe color blind and has no health conditions which may interfere the education

The applicant must bring all original and/or copied documents, and the original bank deposit slip in the interview date. All copied documents must be certified that they are true copies of the original documents, signed and dated.

4. Application process
      4.1 The applicant downloads an online application form from
https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egbe/
      4.2 The applicant submits the completed application form and supporting documents (see Section 3) in person or by email:
            4.2.1 The applicant may submit the document in person at the Department of Biomedical Engineering, Faculty of Engineering, Mahidol University.
            4.2.2 The applicant may send the document by sending an email to
mut.inter@gmail.com (Wachiraporn Thongkum) or
inchalita.suw@gmail.com (Inchalita Suwanrangsima)
      4.3 The applicant pays the application fee of 600 baht by making a transfer to the following account:
                        Bank Name:                   Siam Commercial Bank
                        Branch:                           Mahidol University
                        SWIFT code:                  SICOTHBK
                        Account Name:              Faculty of Engineering, Mahidol University
                        Account Number:          333-200020-3
                  Please note the application fee is non-refundable.

5. Admission schedule

Activity Date Details
Application period 16th October – 12nd November, 2018 1. Download an application form from https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egbe/
2. Submit the document in person at the Department of Biomedical Engineering, Mahidol University. 3. Send the document to
mut.inter@gmail.com or
inchalita.suw@gmail.com
Announcement of interview shortlist 14th November, 2018 The applicants will be notified by email.
Interview 21st November, 2018 The Department of Biomedical Engineering, Faculty of Engineering, Mahidol University
Notification of admission offer 23rd November, 2018 The applicants will be notified by email.


6. Selection criteria
The Faculty of Engineering will make the final decision for the admission according to the following criteria:
      6.1 Portfolio, Statement of purpose and Recommendation (40 %)
      6.2 Transcript (20 %)
      6.3 English proficiency tests (20 %)
      6.4 Interview score (20 %)
      Note: Interview score assessed by personal information, education record, ability to communicate, initiative, intelligence, extracurricular activities and attitude.

7. For more information, please contact Department of Biomedical Engineering, Faculty of Engineering, Mahidol University, Tel. (+66)2-441-4255, E-mail: mut.inter@gmail.com or inchalita.suw@gmail.com

main

main
main

พิธีเปิดศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ (MIND Center)

วันที่ 27 สิงหาคม 2561 ณ ห้องประชุมอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชั้น 5 ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ในความร่วมมือระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และคณะวิทยาศาสตร์ จัดงานพิธีเปิดศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ Medical Innovations Development Center (MIND Center) ขึ้น โดยได้รับเกียรติจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นประธานกล่าวในพิธีเปิด ร่วมด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งมีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ และการเยี่ยมชมผลงาน ณ ศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ ศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ (MIND Center) ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้นโยบายของรัฐบาลในการดำเนินการพัฒนายุทธศาสตร์ของชาติประเทศไทย 4.0 ในการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) โดยได้รับการส่งเสริมจาก คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา) คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ (ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์) และคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ (รศ.ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ) โดยศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ (MIND Center) มีคณะบริหารร่วมกันทั้ง 3 คณะ นำโดย รศ.นพ.มล.ชาครีย์ กิติยากร รศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ และผศ.ดร.ธนากร โอสถจันทร์ ภายใต้ศูนย์ความเป็นเลิศและศูนย์สนับสนุนพันธกิจ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งภายใต้ศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ ประกอบด้วยห้องปฏิบัติต่าง ๆ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการหุ่นยนต์ทางการแพทย์ Medical ROBOT LAB ห้องปฏิบัติการสร้างชิ้นงานทางชีวภาพ BIOFABRICATION LAB ห้องปฏิบัติการสร้างชิ้นงาน FABRICATION LAB ห้องปฏิบัติการขึ้นรูป 3 มิติ PRINTING LAB และห้องทดสอบอุปกรณ์ทางการแพทย์กับผู้ป่วย

main
main

ต้อนรับนักศึกษา Kogakuin University,Japan

วันที่ 22 สิงหาคม 2561 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับนักศึกษาแลกเปลี่ยนจาก Kogakuin University ประเทศญี่ปุ่น เดินทางเข้ามาศึกษาดูงานที่ภาควิชาฯนักศึกษาได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านนวัตกรรม รวมไปถึงได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างนักศึกษาไทยและต่างชาติ ซึ่งมหาวิทยาลัยดังกล่าวได้ส่งนักศึกษามาแลกเปลี่ยนเป็นประจำทุกปี

main
main

ต้อนรับประธานกรรมการบริหาร บริษัท HUBINO พร้อมด้วยคณะผู้แทนจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) และ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)

วันที่ 22 สิงหาคม 2561 Mr. SATHEES K RAMASAMY, ประธานกรรมการบริหาร บริษัท HUBINO พร้อมด้วยคณะผู้แทนจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) และ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ได้มาเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการและเจรจาความร่วมมือด้าน Internet of things (IOT) และ Artificial Intelligence (AI) ร่วมกับคณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(หลักสูตรนานาชาติ)

main
main

Visiting Professor

วันที่ 22-24 ส.ค. 61 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้เรียนเชิญ Visiting Professor จากต่างประเทศ Prof. Shigehiro Hashimoto, Doctor of Engineering & Doctor of Medicine, Councilor, Dean, Faculty of Engineering, Professor, Biomedical Engineering, Kogakuin University, Tokyo, Japan. สอนในรายวิชา Biomedical Engineering in the Real World หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ)

main
main

Application for TCAS (round5)

Application for TCAS (round5) into Bachelor of Engineering, Biomedical Engineering (International Program)

main

main
main

อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ นำทีมเข้าร่วมแข่งขันโครงการ U.REKA

ขอแสดงความยินดีกับทีม AIM GLOBAL INNOVATION นำโดย รศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ นำทีมเข้าร่วมแข่งขันโครงการ U.REKA ผ่านเข้ารอบสู่รอบ Incubation ซึ่งโครงการ U.REKA เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและภาคอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุน Startup ในทุกๆด้าน ตั้งแต่การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Technology) จนกระทั่งพัฒนาให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อนำออกสู่ตลาดได้ อีกทั้งโครงการนี้ยังมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมกันพัฒนาประเทศด้านระบบนิเวศทางนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างแท้จริงและยั่งยืน U.REKA เกิดจากความร่วมมือของบริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส, บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด และสถาบันอุดมศึกษา

main
main

29-31พ.ค.61 โครงการ “สัมมนาโลกสวยด้วย Biomed ประจำปีการศึกษา 2560

เมื่อวันที่ 29-31 พ.ค. 61 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดโครงการสัมมนา “โลกสวยด้วย Biomed ประจำปีการศึกษา 2561” ณ ไอธารา รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดเพชรบุรี ขึ้น เพื่อเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ภาควิชาฯวิจัยและพัฒนา และทราบถึงแนวทางในการประกอบอาชีพในสาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์มากขึ้น ทั้งยังเปิดโอกาสให้อาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก ได้ทำความรู้จักกัน แลกเปลี่ยนทัศนคติมุมมองทางความคิด เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ และได้ทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างกัน ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวได้มีการจัดกิจกรรมสันทนาการระหว่างนักศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก เพื่อสร้างสัมพันธภาพอันดีและถ่ายทอดองค์ความรู้ระหว่างกันรวมไปถึงเดินทางไปทัศนศึกษาเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน ณ โครงการพระราชดำริแหลมผักเบี้ย

main
main

ต้อนรับคณะเยี่ยมชมจาก International Community School

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 61 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชมครูและนักเรียนจาก International Community School เพื่อเยี่ยมชมและศึกษาดูงานห้องปฏิบัติการของภาควิชาฯ

main
main

งานเปิดโลกวิศวกรรมชีวการแพทย์ ครั้งที่ 6

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 61 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยในงาน "เปิดโลกวิศวกรรมชีวการแพทย์ ครั้งที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2560" ภายใต้งาน Dek-D’s TCAS Fair ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ภายในงานมีการแสดงผลงานวิจัยของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์, การแนะนำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ), การแนะแนวการศึกษาและทุนการศึกษา, แนะแนวการทำงานในด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์, ให้คำปรึกษาเทคโนโลยีเพื่อผู้พิการและผู้สูงอายุ รวมไปถึงกิจกรรม Workshop จากห้องปฏิบัติการวิจัยของภาควิชาฯ ทั้งนี้การจัดนิทรรศการดังกล่าวได้จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้นำเสนอผลงานวิจัยที่ได้ทำการศึกษาและพัฒนาขึ้น รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์ภาควิชาฯ ให้ผู้ปกครองและน้อง ๆ ที่กำลังจะศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย ได้เห็นแนวทางด้านการเรียนการสอนของภาควิชาฯ

main
main

ต้อนรับคณะเยี่ยมชมจาก รร.กายอุปกรณ์สิรินธร

วันที่ 5 มีนาคม 61 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชมจาก โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเยี่ยมชมและศึกษาดูงานห้องปฏิบัติการของภาควิชา

main
main

คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา รอบ Portfolio รอบที่ 2

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 61 ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนดสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา รอบ Portfolio รอบที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2561 ทั้งนี้ ภาควิชาฯ ได้จัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยของภาควิชาฯ อีกทั้งยังเปิดห้องปฏิบัติการ ของภาควิชาฯ เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองได้เข้าเยี่ยมชมผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์

main
main

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2561

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 61 รองศาสตราจารย์.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2561 รางวัลระดับดีมาก จากผลงาน ระบบฟื้นฟูกล้ามเนื้อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง : ไจโรโรลเลอร์เครื่องกายภาพ ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

main
main

ต้อนรับคณะเยี่ยมมจาก MUIDS

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 61 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ต้อนรับครูและนักเรียนจากโรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เดินทางมาศึกษาดูงานเกี่ยวกับการเรียนการสอนรวมทั้งเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของภาควิชาฯ

main
main

ต้อนรับนักเรียนโครงการแลกเปลี่ยนจาก Shanghai High School ประเทศจีน

วันที่ 18 ธันวาคม 60 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับนักเรียนโครงการแลกเปลี่ยนจาก Shanghai High School ประเทศจีน โดยเดินทางมาแลกเปลี่ยน ณ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ภาควิชาฯ ได้เปิดห้องปฏิบัติการเพื่อให้นักเรียนได้เข้าทัศนศึกษาเยี่ยมชม นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์

main
main

คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา รอบ Portfolio ประจำปีการศึกษา 2561

วันที่ 2 ธันวาคม 60 ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนดสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา รอบ Portfolio ประจำปีการศึกษา 2561 ทั้งนี้ ภาควิชาฯ ได้จัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยของภาควิชาฯ อีกทั้งยังเปิดห้องปฏิบัติการ ของภาควิชาฯ เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองได้เข้าเยี่ยมชมผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์

main
main

ต้อนรับ นร. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

วันที่ 14 พฤษจิกายน 60 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับคณะเยี่ยมชมคณาจารย์และนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เพื่อเข้าศึกษาดูงานที่ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

main
main

กิจกรรม “เปิดบ้านมหิดล” ประจำปี 2560

วันที่ 3 และ 4 พฤศจิกายน 60 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยและเปิดให้เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของภาควิชา เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ในงานมหิดลวิชาการ “เปิดบ้านมหิดล” ประจำปี 2560

main
main

ต้อนรับคณะเยี่ยมชมจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

วันที่ 25 ตุลาคม 2560 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับคณะเยี่ยมชมจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เข้าศึกษาดูงาน เพื่อแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการกับองค์กรและสถาบันการศึกษาในการสร้างนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษา การวิจัยและการบริการด้านสุขภาพ

main
main

กิจกรรม BME Open House

วันที่ 20 ตุลาคม 2560 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้จัดโครงการประชาสัมพันธ์หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์(หลักสูตรนานาชาติ) โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ผู้ปกครองและนักเรียนจากโรงเรียนมัธยมนานาชาติต่างๆ ที่มีความสนใจเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา โครงการประกอบไปด้วยการบรรยายหลักสูตรฯ สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) แนะนำสาขางานวิจัยของภาควิชาฯ อีกทั้งยังมีการเยี่ยมชมห้องปฎิบัติการของภาควิชาฯ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นนวัตกรรมและผลงานวิจัยของภาควิชาฯ

main
main

ต้อนรับคณะเยี่ยมชมคณาจารย์และนักเรียนโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย

วันที่ 7 กันยายน 2560 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับคณะเยี่ยมชมคณาจารย์และนักเรียนโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย เพื่อเข้าศึกษาดูงานที่ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

main
main

ต้อนรับผู้แทนจาก Virginia Tech

วันที่20 สิงหาคม 2560 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ให้การต้อนรับ รองศาสตราจารย์ ดร.สุโรจน์ ตั้งจิตธรรม ผู้แทนจาก Virginia Polytechnic Institute and State University เพื่อหารือความร่วมมือด้านงานวิจัยและเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

main
main

Biomedical Engineering ROADSHOW 2017

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ จัดโครงการ Biomedical Engineering ROADSHOW 2017 เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรวิศวกรรมศาตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) โดย ในครั้งนี้ภาควิชาฯ เดินทางไปยัง โรงเรียนกำเนิดวิทย์ จ.ระยอง ซึ่งน้องๆ ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการดังกล่าวเป็นจำนวนมาก

main
main

BME Open House for International Program

วันที่ 16 สิงหาคม 2560 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้จัดโครงการประชาสัมพันธ์หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์(หลังสูตรนานาชาติ) โดนมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ครู อาจารย์ นักเรียน จากโรงเรียนมัธยมนานาชาติต่างๆ รวมไปถึงผู้ปกครองและนักเรียนที่มีความสนใจเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา โครงการประกอบไปด้วยการบรรยายหลักสูตรฯ สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) และสาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (หลักสูตรนานาชาติ) อีกทั้งยังมีการเยี่ยมชมห้องปฎิบัติการของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์และภาควิชาวิศวกรรมเคมี เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นนวัตกรรมและผลงานวิจัยของภาควิชา

main
main

ต้อนรับนักศึกษา Kogakuin University,Japan

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับนักศึกษาแลกเปลี่ยนจาก Kogakuin University ประเทศญี่ปุ่น เดินทางเข้ามาศึกษาดูงานที่ภาควิชาฯนักศึกษาได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านนวัตกรรม รวมไปถึงได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างนักศึกษาไทยและต่างชาติ ซึ่งมหาวิทยาลัยดังกล่าวได้ส่งนักศึกษามาแลกเปลี่ยนเป็นประจำทุกปี

main
main

ต้อนรับคณะเยี่ยมชมจากโรงเรียนนานาชาติ

2 สิงหาคม 2560 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนานาชาติ ที่ได้จัดกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานห้องปฏิบัติการของภาควิชาฯ โดยการจัดกิจกรรมดังกล่าวเพื่อเสริมสร้างทักษะด้าน social entrepreneurship เพื่อให้ได้เรียนรู้เทคโนโลยีทางการแพทย์

main
main

ต้อนรับอาจารย์และ นศ. CMMU มหาวิทยาลัยมหิดล

24 กรกฎาคม 60 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ต้อนรับอาจารย์และนักศึกษาวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้โจทย์นวัตกรรมและสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาด้านงานวิจัยและแผนธุรกิจ และศึกษาความเป็นไปได้เชิงธุรกิจ ที่เชื่อมโยงกับโจทย์งานวิจัยและนวัตกรรม ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งนี้ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้เปิดห้องปฏิบัติการให้นักศึกษาได้เข้าเยี่ยมผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ อีกด้วย

main
main

นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้รับการคัดเลือก เป็นตัวแทนประเทศไทย

นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้รับการคัดเลือก เป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมการประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุของนักศึกษาระดับนานาชาติ ในงานประชุมวิชาการนานาชาติฯ #iCREATe2017ณ Kobe International Conference Center เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 22 - 24 สิงหาคม 2560

main
main

สอบสัมภาษณ์นักศึกษารอบ Admission คณะวิศวกรรมศาสตร์

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 60 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับคณะเยี่ยมชมคณาจารย์และนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เพื่อเข้าศึกษาดูงานที่ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

main
main

ต้อนรับคณะเยี่ยมชม รร.มหิดลวิทยานุสรณ์

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 60 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดสอบสัมภาษณ์นักศึกษาที่สอบผ่านสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (Admissions) ประจำปีการศึกษา 2560 ทั้งนี้ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้ร่วมจัดแสดงผลงานวิจัย ณ อาคาร 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ และนำนักศึกษาพร้อมผู้ปกครองเดินชมห้องปฏิบัติการของภาควิชา เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ และมองเห็นภาพในการเข้าเรียนที่ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

main
main

โครงการ “สัมมนาโลกสวยด้วย Biomed ประจำปีการศึกษา 2559”

เมื่อวันที่ 21-23 พฤษภาคม 60 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดโครงการสัมมนา “โลกสวยด้วย Biomed ประจำปีการศึกษา 2559” ณ ไอธารา รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดเพชรบุรี ขึ้น เพื่อเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ภาควิชาฯวิจัยและพัฒนา และทราบถึงแนวทางในการประกอบอาชีพในสาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์มากขึ้น ทั้งยังเปิดโอกาสให้อาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก ได้ทำความรู้จักกัน แลกเปลี่ยนทัศนคติมุมมองทางความคิด เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ และได้ทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างกัน ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวได้มีการจัดกิจกรรมมากมายรวมถึงการบรรยาย Pitching โดย รศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมพี่สอนน้องและกิจกรรมสันทนาการระหว่างนักศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก เพื่อสร้างสัมพันธภาพอันดีและถ่ายทอดองค์ความรู้ระหว่างกัน

main
main

บรรยายและฝึกปฏิบัติการ BMC และพัฒนาทักษะ Pitching

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 60 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้จัดอบรมบรรยายและฝึกปฏิบัติการ พัฒนาตัวแบบธุรกิจด้วย Business Model Canvas และฝึกปฏิบัติการรวมถึงให้คำแนะนำวิธีการ Pitching โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรพิเศษ อ.กิตติชัย ราชมหา, อ.วุฒิกร วัชโรทัย, อ.พัลลภ รามัญและ อ.กฤตภพ วรอรรคธรรม จากวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล, อ.วีระ เจียรนัยพานิชย์ Head of SME Network Marketing Development ธนาคารกสิกรไทย, อ.บุปผา เตชะภัทรพร และ ดร.เพียงเพ็ญ วงศ์นภาพรรณ รองผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการให้แก่นักศึกษา

main
main

15 พฤษภาคม 2560 ภาพบรรยากาศการนำเสนอโครงงานวิจัยของนักศึกษาปริญญาตรี ปีที่ 4

เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2560 ภาพบรรยากาศ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ จัดสอบโครงงานวิจัยของนักศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2559

main
main

06 พฤษภาคม 2560 งานเปิดโลกวิศวกรรมชีวการแพทย์ ครั้งที่ 5

เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2560 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยในงาน "เปิดโลกวิศวกรรมชีวการแพทย์ ครั้งที่ 5 ประจำปีการศึกษา 2559" ภายใต้งาน Dek-D’s Admission & Ent 4.0 Fair ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ภายในงานมีการแสดงผลงานวิจัยของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์, การแนะนำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ), การแนะแนวการศึกษาและทุนการศึกษา, แนะแนวการทำงานในด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์, ให้คำปรึกษาเทคโนโลยีเพื่อผู้พิการและผู้สูงอายุ รวมไปถึงกิจกรรม Workshop จากห้องปฏิบัติการวิจัยของภาควิชาฯ ทั้งนี้การจัดนิทรรศการดังกล่าวได้จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้นำเสนอผลงานวิจัยที่ได้ทำการศึกษาและพัฒนาขึ้น รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์ภาควิชาฯ ให้ผู้ปกครองและน้อง ๆ ที่กำลังจะศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย ได้เห็นแนวทางด้านการเรียนการสอนของภาควิชาฯ

main
main

28 เมษายน 2560 ต้อนรับ บจก. เมดโทรนิค (ประเทศไทย)

28 เมษายน 2560 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับ ตัวแทนจาก บริษัท เมดโทรนิค (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทนำเข้าและจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ ได้เข้ามาให้คำแนะนำกับนักศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี ด้านการรับนักศึกษาฝึกงานและเข้าทำงานในบริษัท

main
main

"เปิดโลกวิศวกรรมชีวการแพทย์ครั้งที่ 5" (Biomedical Engineering Open House 2017)

วิศวกรรมชีวการแพทย์...คืออะไร?? มาหาคำตอบกันได้ที่งาน
"เปิดโลกวิศวกรรมชีวการแพทย์ครั้งที่ 5" (Biomedical Engineering Open House 2017)
ในงาน Dek-D's Admission & Ent 4.0 Fair
วันที่ 6 พฤษภาคม 2560 @BITEC บางนา (Hall EH106 Zone B บูธ 89,91,92 )
เตรียมตัวให้พร้อม!! แล้วพบกับ
▶นิทรรศการแสดงผลงานวิจัยของภาควิชาฯ
▶แนะนำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ)
▶การแนะแนวการศึกษาและทุนการศึกษา
▶แนะแนวการทำงานในด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์
▶Work shop งานวิจัยทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์
▶การให้คำปรึกษาเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ การฟื้นฟูและอำนวยความสะดวกเพื่อผู้พิการและผู้สูงอายุ
**ลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ "แบบฟอร์มลงทะเบียนเข้าร่วมงาน"

main
main

22-26 มีนาคม 2560 ประชาสัมพันธ์หลักสูตร Active Recruitment

ผศ.ดร. จำรัส พร้อมมาศ สัมภาษณ์นักศึกษาที่สนใจเรียนต่อในระดับปริญญาโท-เอก ในโครงการ Active Recruitment เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรเพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษาต่างชาติ ณ กรุงกาฐมาณฑุ สหพันสาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล ระหว่างวันที่ 22 - 26 มีนาคม 2560 ซึ่งจัดขึ้นโดยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

main
main

โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

วันที่ 10 มี.ค. 2560 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับนักศึกษาหลักสูตรอุปกรณศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีการจัดการเรียนในหัวข้อ Brain-computer controlled wheelchair และ Robotic device for rehabilitation และได้มีการเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

main
main

งาน IDE Thailand 2017 สร้างผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมสู่ไทยแลนด์ 4.0

รองศาสตราจารย์ ดร. ปัณรสี ฤทธิประวิติ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้รับรางวัล The first place of MIT Entrepreneur Forum รายการแข่งขันประกวดแผนธุรกิจระดับโลก MIT Enterprise Forum Thailand ในงาน IDE Thailand 2017 สร้างผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมสู่ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งจัดขึ้นโดย ศูนย์ผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม หรือ IDE Center (Innovation-Driven Entrepreneurship Center) โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กับน้ำดื่มสิงห์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK) และกลุ่มบริษัท ดั๊บเบิ้ลเอซึ่งเป็นการรวมตัวของการประกอบการนวัตกรรม เทคโนโลยี และศิลปะจากทั่วทุกมุมโลก โดยมุ่งหวังจะช่วยเสริมสร้างความรู้และผลักดันให้ผู้ประกอบการคนไทยเป็นผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และพัฒนาตัวเองให้แข่งขันในตลาดโลกได้ ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ระหว่างวันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2560 ณ โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพฯ

main
main

สอบสัมภาษณ์บุคคลเข้าศึกษา รอบรับตรงคณะวิศวกรรมศาสตร์

22 กุมภาพันธ์ 2560 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล จัดการสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ระบบรับตรง ประจำปีการศึกษา 2560 โดยมีกิจกรรมแนะนำคณะวิศวกรรมศาสตร์ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ การแนะนำภาควิชาต่าง ๆ โดยหัวหน้าภาควิชา มีกิจกรรมพาผู้ปกครองเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัย และกิจกรรม campus tour โดยการพาผู้ปกครองนั่งรถรางชมทัศนียภาพโดยรอบมหาวิทยาลัย

main
main

ต้อนรับนักเรียนโรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์

15 กุมภาพันธ์ 2560 งานวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดโครงการ ฝึกปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์เชิงวิศวกรรมให้แก่นักเรียนจากโรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ โดยมี ผศ.ดร.ณัฐวรรณ์ ยศวัฒน รองคณบดีฝ่ายวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวเปิดโครงการ ณ ห้อง R-114 อาคาร 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในการจัดโครงการ ฝึกปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์เชิงวิศวกรรม ของโรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ คณะครูโรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ได้นำนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวนประมาณ 128 คน เข้าร่วมโครงการ เพื่อฝึกทักษะปฏิบัติการทางวิศวกรรม ทั้งนี้ได้มีการเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อเป็นการพัฒนานักเรียนและฝึกประสบการณ์นักเรียนนอกห้องเรียน

main
main

รางวัลนักคิดสิ่งประดิษฐ์รุ่นใหม่ ประจำปี 2560

ผลงานสิ่งประดิษฐ์ "ระบบหุ่นยนต์ฝึกหัดการผ่าตัดด้วยภาพเสมือนจริงแบบแรงสะท้อนกลับ" โดย นส.นันทิดา นิลหุต และทีมนักศึกษา จาก BART LAB และภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ อ.ชลลดาวัลล์ มูลใจตา และศ.นพ.จุมพล วิลาสรัศมี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา [www.bartlab.org]
ได้รับ " รางวัลนักคิดสิ่งประดิษฐ์รุ่นใหม่ รองชนะเลิศ อันดับ 1" ประจำปี 2560 ประเภทกลุ่มอุดมศึกษา ด้านสิ่งประดิษฐ์ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในงาน “วันนักประดิษฐ์” 2560 ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” และเปิดเวทีระดับชาติและนานาชาติให้องค์กร นักประดิษฐ์ และนักวิจัยได้นำเสนอผลงาน ผลผลิต ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม ซึ่งเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ณ ศูนย์นิทรรศการและการจัดประชุมไบเทคบางนา เมื่อวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2560

main
main

ต้อนรับ Prof. Shigehiro Hashimoto, Kogakuin University”

วันที่ 9 ม.ค. 60 Prof. Shigehiro Hashimoto ผู้แทนจากมหาวิทยาลัย Kogakuin ประเทศญี่ปุ่น พร้อมด้วย ผศ.ดร. จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และ รศ. ดร. นรเศรษฐ์ ณ สงขลา หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เข้าพบอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ อุดม คชินทร เพื่อมอบของที่ระลึก เนื่องด้วยคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้มีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัย Kogakuin มาอย่างต่อเนื่อง

main
main

โครงการ “กิจกรรมสร้างต้นแบบการพัฒนาหน่วยบริการทดสอบตรวจสอบรองรับอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ”

วันที่ 4 ม.ค. 60 ตามที่มหาวิทยาลัยมหิดล มีความร่วมมือกับ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย TCELS และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เรื่อง การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการแพทย์ จากภาควิจัยสู่ภาคอุตสาหกรรม ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ร่วมกับสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จัดโครงการอบรม “กิจกรรมสร้างต้นแบบการพัฒนาหน่วยบริการทดสอบตรวจสอบรองรับอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ” เพื่อพัฒนาแม่แบบหน่วยบริการทดสอบตรวจสอบในอุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ของประเทศไทยให้มีความพร้อมในการขอการรับรองมาตรฐาน ISO 17025 โดยวิทยากรพิเศษ อาจารย์ตรัย อาจหาญ และอาจารย์ภูวดล ฉายาชวลิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยโครงการอบรมดังกล่าวฯ จัดขึ้นต่อเนื่องในวันที่ 4, 10 และ 12 มกราคม 2560 ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

main
main

หารือและเยี่ยมชมภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

วันที่ 16 พ.ย. 59 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับ Dr Riaz Akhtar จาก University of Liverpool เพื่อหารือความร่วมมือด้านงานวิจัยและความร่วมมือทางด้านหลักสูตรการศึกษา และเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

main
main

ต้อนรับคณะเยี่ยมชม รร.มหิดลวิทยานุสรณ์

เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 59 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับคณะเยี่ยมชมคณาจารย์และนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เพื่อเข้าศึกษาดูงานที่ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

main
main

“เปิดบ้านมหิดล” ประจำปี 2559

วันที่ 4-5 พ.ย. 59 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมจัดนิทรรศการและเปิดห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ในงานมหิดลวิชาการ “เปิดบ้านมหิดล” ประจำปี 2559

main
main

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 59 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชม จากสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ในการมาศึกษาดูงาน เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์

main
main

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 59 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชม จากสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ในการมาศึกษาดูงาน เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์

main
main

ต้อนรับผู้เยี่ยมชม

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 59 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วยทีมบริหาร คณาจารย์ และหัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับ คุณสำราญ ภูอนันตานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) คุณภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน รวมถึงเจ้าหน้าที่จากสถาบันพลาสติก สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) SIPA ในการมาเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัย ทางด้านนวัตกรรม และด้านการทดสอบ มาตรฐาน รวมถึงประชุมหารือการสร้างความร่วมมือต่อยอดจากการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) เรื่อง การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการแพทย์ จากภาควิจัยสู่ภาคอุตสาหกรรม ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

main
main

จัดแสดงนิทรรศการแนะแนวการศึกษาต่อ

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 59 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการแนะแนวการศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนได้รับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาต่อในด้านดังกล่าว ณ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

main
main

ประกวดสุดยอดหุ่นยนต์การแพทย์เพื่อสุขภาพ i-MEDBOT Innovation Contest2016

เมื่อวันที่ 10 กันยายน 59 รองศาสตราจารย์ ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย พร้อมทีมห้องปฏิบัติการ AIM Lab ขึ้นรับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากผลงานเครื่องกายภาพไจโรโรลเลอร์ส่วนมือและแขน ในงาน "ประกวดสุดยอดหุ่นยนต์การแพทย์เพื่อสุขภาพ i-MEDBOT Innovation Contest2016" ซึ่งจัดขึ้นโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS)

main
main

ต้อนรับคณะเยี่ยมชม กองออร์โธปิดิคส์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 59 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคณะเยี่ยมชม กองออร์โธปิดิคส์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เพื่อประชุมหารือสร้างความร่วมมือทางงานวิจัย รวมถึงเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

main
main

ต้อนรับคณะเยี่ยมชมคณาจารย์และนักเรียนโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 59 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับคณะเยี่ยมชมคณาจารย์และนักเรียนโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย เพื่อเข้าศึกษาดูงานที่ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

main
main

ต้อนรับตัวแทนจากบริษัท ซิมเมอร์ เมดิคัล (ประเทศไทย) จำกัด

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 59 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ซิมเมอร์ เมดิคัล (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมคณะ ร่วมหารือความร่วมมือในเรื่องนักศึกษาฝึกงานและด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง

main
main

นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ รับรางวัลจากการประกวดผลงานปริญญานิพนธ์และนวัตกรรมคุณภาพเป็นเลิศ ประจำปีการศึกษา 2558

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 59 นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้รับเงินรางวัลจากการประกวดผลงานปริญญานิพนธ์และนวัตกรรมคุณภาพเป็นเลิศ ประจำปีการศึกษา 2558 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำรัส พร้อมมาศ เป็นที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์ ซึ่งจัดขึ้นโดยมูลนิธิวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดสรรเงินทุน เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการทำปริญญานิพนธ์ของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้อยู่ในระดับที่มีคุณภาพเป็นเลิศ จำนวน 16 ทุน เป็นมูลค่า 71,000.- บาท

main
main

ต้อนรับคณะเยี่ยมชม รร.มหิดลวิทยานุสรณ์

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 59 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับคณะเยี่ยมชมคณาจารย์และนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เพื่อเข้าศึกษาดูงานที่ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

main
main

ร่วมนำเสนอผลงานวิชาการในงาน i-CREATe 2016

เมื่อวันที่ 25-27 กรกฎาคม 59 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ นำทีมนักศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมแข่งขันนำเสนอผลงานทางวิชาการ ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ครั้งที่ 10 (10th international Convention on Rehabilitation Engineering & Assistive Technology : i-CREATe 2016) ซึ่งจัดขึ้นโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต์ กรุงเทพฯ

main
main

ต้อนรับคณะเยี่ยมชม รร.วัดอินทาราม

เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 59 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ต้อนรับ คณะครูอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักเรียนโรงเรียนวัดอินทาราม เข้าศึกษาดูงานเยี่ยมชมคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

main
main

ต้อนรับภาควิชาอายุรศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 59 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคณะเยี่ยมชม สาขาหทัยวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เพื่อประชุมหารือสร้างความร่วมมือทางงานวิจัย รวมถึงเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

main
main

จัดแสดงผลงานนิทรรศการในกิจกรรม “แนะให้แนวปี 3”

วันที่24-26 มิถุนายน 2559 : ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยของภาควิชาฯ ในกิจกรรม “แนะให้แนวปี 3” ณ TK Park ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยนิตยสาร a-day(อะเดย์) ในเครือบริษัท เดย์ โพเอทส์ จำกัด ร่วมกับอุทยานการเรียนรู้ TK Park ได้ร่วมจัดโครงการ “แนะให้แนว”ขึ้นซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งสร้างแรงบันดาลใจ แนะแนวทางในการค้นหาตัวเอง รวมถึงแนวทางในการต่อยอดพัฒนาความรู้ ความสามารถ พร้อมแนะวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในอนาคตแก่เยาวชนที่กำลังจะจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และกำลังตัดสินใจเลือกเรียนชั้นอุดมศึกษา

main
main

ต้อนรับ Dr.Helen Lu จาก Columbia University

วันที่14 มิถุนายน 2559 : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมคณะ ต้อนรับ Dr.Helen Lu จาก Columbia University เพื่อประชุมหารือความร่วมมือด้านงานวิจัยและเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์

main
main

ต้อนรับนักศึกษาจาก NUS ประเทศสิงคโปร์ และมหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่14 มิถุนายน 2559 : ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคณะเยี่ยมชมนักศึกษาจาก National University of Singapore (NUS) ประเทศสิงคโปร์ และนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเดินทางมาจัดกิจกรรม The 2nd Asian Undergraduate Summit: Leadership in a Complex World: Smart Cities, Smart Citizens ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการนี้ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้จัดการบรรยายเชิงปฏิบัติการสำหรับนักศึกษาดังกล่าวในหัวข้อ “Brain – Computer Interface Technology, the Emerging Smart Health Technology” พร้อมเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

main
main

ต้อนรับคณะเยี่ยมชมกองควบคุมเครื่องมือแพทย์ อย.

วันที่8 มิถุนายน 2559 : ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคณะเยี่ยมชมกองควบคุมเครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในโครงการสำรวจและพัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบด้านเครื่องมือแพทย์เพื่อรองรับการดูแลและพัฒนาอุตสาหกรรมด้านเครื่องมือแพทย์ของไทย ทั้งนี้ได้มีการประชุมปรึกษาหารือความร่วมมือด้านต่างๆ รวมถึงเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยและห้อง Clean room ของภาควิชา

main
main

ร่วมปรึกษาหารือความร่วมมือด้านต่างๆจากภาควิชากุมารเวชศาสตร์ รพ.รามาธิบดี

วันที่3 มิถุนายน 2559 : ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับผู้แทนจากภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อร่วมปรึกษาหารือความร่วมมือในการประดิษฐ์เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการช่วยเหลือทารกแรกเกิด และได้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของภาควิชาฯ

main
main

ต้อนรับผู้แทนจากมหาวิทยาลัย KAIST ประเทศเกาหลีใต้

วันที่3 มิถุนายน 2559 : ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับผู้แทนจากมหาวิทยาลัย Kaist ประเทศเกาหลีใต้ พร้อมด้วย ผศ.ดร.ยุวดี นาคะผดุงรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยของภาควิชาฯ

main
main

ต้อนรับคณะเยี่ยมชมจาก บริษัท ทีมพรีซิชั่น จำกัด (มหาชน)

วันที่2 มิถุนายน 2559 : ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคณะเยี่ยมชมจาก บริษัท ทีมพรีซิชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายแผงอิเล็กทรอนิก ร่วมปรึกษาหารือความร่วมมือด้านต่างๆและเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยของภาควิชาฯ

main
main

ร่วมปรึกษาหารือความร่วมมือด้านต่างๆ

วันที่2 มิถุนายน 2559 : รองศาสตราจารย์ ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับคุณสมศักดิ์ นะวิโรจน์ ผู้ร่วมก่อตั้งวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ได้ร่วมปรึกษาหารือความร่วมมือในด้านต่าง ๆ

main
main

Biomedicai Engineering ROADSHOW 2016

วันที่31 พฤษภาคม 2559 : ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ร่วมมือกับภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ในการจัดกิจกรรม “Biomedical Engineering ROADSHOW 2016” ขึ้นเพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างและเป็นการประชาสัมพันธ์หลักสูตรของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ได้รู้จักสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เพื่อได้เห็นมุมมองและได้รับความรู้ทางด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมของศาสตร์วิศวกรรมชีวการแพทย์ รวมทั้งภายในงานมีการจัดกิจกรรมเสวนาพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมถึงการจัดบูธแสดงผลงานของห้องปฏิบัติการวิจัยของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์‬‬

main
main

แถลงข่าวเปิดตัว “Alertz” อุปกรณ์ตรวจวัดระดับความง่วงด้วยคลื่นสัญญาณสมองแบบอัตโนมัติ

วันที่29 พฤษภาคม 2559 : ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานแถลงข่าวเปิดตัว "Alertz" อุปกรณ์ตรวจวัดระดับความง่วงด้วยคลื่นสัญญาณสมองแบบอัตโนมัติ และ พิธีแลกเปลี่ยนสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานทรัพย์สินทางปัญญาระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล และ บริษัท ไฟน์เนส เมด ดีไซน์ จำกัด นำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ "Alertz" โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุม 322 ชั้น 3 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ‪#‎Alertz‬‬ ‪#‎Mahidol‬‬ ‪#‎BME‬‬

main
main

เข้าร่วมโครงการ “สัมมนาและเผยแพร่การเรียนการสอนวิชาโครงงาน

วันที่24 พฤษภาคม 2559 : ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้เข้าร่วมโครงการ “สัมมนาและเผยแพร่การเรียนการสอนวิชาโครงงาน” โดยภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เป็นเจ้าภาพในการจัดโครงการดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนก้าวหน้าก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาควิชาที่สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์อย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับรายวิชาโครงงานภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบกับเป็นการประชาสัมพันธ์การศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ทราบเพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจศึกษาต่อ อีกทั้งยังมีการจัดแสดงผลงานของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของแต่ละภาควิชา ณ ห้องประชุม R114 และลานเอนกประสงค์ ชั้น 1 อาคารอำนวยการ คณะวิศวกรรมศาสตร์

main
main

โครงการ “สัมมนาโลกสวยด้วย Biomed ประจำปี 2558

วันที่19-21 พฤษภาคม 2559 : ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดโครงการสัมมนา “โลกสวยด้วย Biomed ประจำปี 2558” ณ ไอธารา รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดเพชรบุรี ขึ้น เพื่อเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ภาควิชาฯวิจัยและพัฒนา และทราบถึงแนวทางในการประกอบอาชีพในสาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์มากขึ้น ทั้งยังเปิดโอกาสให้อาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก ได้ทำความรู้จักกัน แลกเปลี่ยนทัศนคติมุมมองทางความคิด เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ และได้ทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างกัน ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวได้มีการจัดกิจกรรมมากมายรวมถึงการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Startup Thailand” โดย อ.ดร.ทรงพล องค์วัฒนกุล และคุณสุระ รอดพงษ์พันธ์ วิทยากรพิเศษ และการเสวนาเรื่อง “พลวัตขับเคลื่อนวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลาและผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมพี่สอนน้องและกิจกรรมสันทนาการระหว่างนักศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก เพื่อสร้างสัมพันธภาพอันดีและถ่ายทอดองค์ความรู้ระหว่างกัน

main
main

ต้อนรับตัวแทนจาก Molnlycke Health Care (Thailand) Ltd

วันที่17 พฤษภาคม 2559 : รองศาสตราจารย์ ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ต้อนรับตัวแทนจาก Molnlycke Health Care (Thailand) Ltd. บริษัทผู้ผลิตเสื้อคลุมผ่าตัดและแผ่นคลุมผ่าตัดแบบใช้ครั้งเดียว เพื่อสร้างความร่วมมือในด้านการเรียนการสอน และการรับนักศึกษาเข้าทำงานในบริษัท

main
main

การจัดประชุมภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย ครั้งที่ 2 ประจำปี 2559

วันที่16 พฤษภาคม 2559 : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเกียรติในการเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย (Thailand Biomedical Engineering Consortium) ครั้งที่ 2 ประจำปี 2559 โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ประธานกรรมการภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย เป็นประธานในการจัดการประชุม และศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รองอธิการดี มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมเป็นเกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมดังกล่าว ทั้งนี้ ภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทยได้ก่อตั้งขึ้นใน ปี พ.ศ. 2548 เพื่อเป็นการตอบสนองพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการสนับสนุนและพัฒนาเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวการแพทย์ (BME) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายประสานงาน รวบรวมนักวิจัยและนักวิชาการแขนงต่างๆ ในการผลักดันและร่วมมือเพื่อสร้างความแข็งแกร่งด้านการวิจัยและใช้ประโยชน์จากศาสตร์แขนงนี้ และในการจัดประชุมดังกล่าวได้มีการจัดขึ้นเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลการศึกษาวิจัย การเรียนการสอน การพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานระหว่างแต่ละสถาบัน สร้างเครือข่ายการวิจัย ลดการซ้ำซ้อนของการลงทุนด้านเครื่องมือ และพัฒนากำลังคนร่วมกัน ภายหลังจบการประชุมดังกล่าวได้มีการเดินเยี่ยมชมผลงานวิจัยของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่ห้อง Gear Show Room ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเดินเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการต่างๆ ของภาควิชา

main
main

งานเปิดโลกวิศวกรรมชีวการแพทย์ ครั้งที่ 4

วันที่30 เมษายน 2559 : ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยในงาน "เปิดโลกวิศวกรรมชีวการแพทย์ ครั้งที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2558" ภายใต้งาน Dek-D's Addmission Fair 2016 ณ ไบเทค บางนา ภายในงานมีการแสดงผลงานวิจัยของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์, การแนะแนวการเรียนด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์, ให้คำปรึกษาเทคโนโลยีเพื่อผู้พิการและผู้สูงอายุ รวมไปถึงกิจกรรม Workshop จากห้องปฏิบัติการวิจัยของภาควิชาฯ ทั้งนี้การจัดนิทรรศการดังกล่าวได้จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้นำเสนอผลงานวิจัยที่ได้ทำการศึกษาและพัฒนาขึ้น รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์ภาควิชาฯ ให้ผู้ปกครองและน้อง ๆ ที่กำลังจะศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย ได้เห็นแนวทางด้านการเรียนการสอนของภาควิชาฯ

main
main

ต้อนรับคณะเยี่ยมชมจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

วันที่27 เมษายน 2559 : ดร.ศนิตตา ทองแพง รองคณบดีฝ่ายการจัดการกลยุทธ์และบัณฑิตศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วย รศ.ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ให้การต้อนรับ คณะผู้เยี่ยมชม จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในการมาเยี่ยมชมคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อร่วมประชุมหารือความร่วมมือและเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์

main
main

ต้อนรับคณะผู้บริหาร คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่21 เมษายน 2559 : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วยทีมบริหาร และหัวหน้าภาควิชา ให้การต้อนรับ คณะผู้บริหาร จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในการมาเยี่ยมชมคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อร่วมประชุมสร้างความร่วมมือและเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยต่าง ๆ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์

main
main

ต้อนรับอาจารย์จากมหาวิทยาลัย Kyushu, Japan

วันที่ 28 มีนาคม 2559 : ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับอาจารย์จากมหาวิทยาลัย Kyushu ประเทศญี่ปุ่น มาร่วมบรรยายพิเศษและเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของภาควิชา

main
main

ต้อนรับคณะเยี่ยมชมจาก รร.กายอุปกรณ์สิรินธร

วันที่ 24 มีนาคม 2559 : ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชมจาก โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเยี่ยมชมและศึกษาดูงานห้องปฏิบัติการของภาควิชา

main
main

ต้อนรับคณะผู้แทนจาก University of Strathclyde, UK

วันที่ 23 มีนาคม 2559 : เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 59 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคณะผู้แทนจาก The Faculty of Engineering, University of Strathclyde, UK เพื่อประชุมความร่วมมือเรื่องการจัดทําหลักสูตร Double degree ระหว่าง the Faculty of Engineering, University of Strathclyde และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเยี่ยมชมห้องปฏิบัติงานของภาควิชา

main
main

การประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ปีที่ 2

วันที่ 19-21 มีนาคม 2559 : อาจารย์เจษฎา อานิล สังกัดภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำทีมเข้าร่วมแข่งขันประกวดผลงานและได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ในรายการ “การประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ปีที่ 2 ( The2nd Thailand innovation for assistive technology challenge)” โดยบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมมือกับมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นผู้จัดการแข่งขันในครั้งนี้

main
main

รับมอบทุนวิจัยด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์

วันที่ 11 มีนาคม 2559 : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับมอบ "ทุนวิจัยด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" สาขาวิศวกรรมศาสตร์ จากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ แห่งประเทศไทย (Thailand Toray Science Foundation) โครงการ "การส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่สังคม: ระบบหุ่นยนต์ฝึกหัดการผ่าตัดด้วยภาพเสมือนจริงแบบแรงสะท้อนกลับ" โดยมี ฯพณฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นประธาน ในการมอบรางวัลพร้อมแขกผู้มีเกียรติอีกหลายท่าน ณ โรงแรมสวีท โฮเต็ล ปาร์คนายเลิศ กรุงเทพมหานคร

main
main

วิศวะมหิดล บ้านแห่งการเรียนรู้

วันที่ 16 มีนาคม 2559 : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีการสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ระบบรับตรง ประจำปีการศึกษา 2559 โดยมีกิจกรรม “วิศวะมหิดล บ้านแห่งการเรียนรู้” กิจกรรมต่างๆ มีดังนี้ ช่วงเช้ามีการลงทะเบียน ตรวจร่างกาย มีการจัดสถานที่ต้อนรับผู้ปกครอง การจัดบูธเพื่อประชาสัมพันธ์ภาควิชาต่าง ๆ พร้อมการบรรยายเกี่ยวกับการใช้ชีวิตนักศึกษาในรั้วมหิดล มีการแนะนำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ โดย รศ.ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ รวมทั้งผู้ปกครองและนักเรียนที่มาสัมภาษณ์ได้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ของภาควิชา

main
main

คณะวิทยาศาสตร์เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการภาควิชา

วันที่ 8 มีนาคม 2559 : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วยทีมบริหาร และหัวหน้าภาควิชา ให้การต้อนรับ รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการมาเยี่ยมชมคณะวิศวกรรมศาสตร์เพื่อร่วมประชุมหารือ สร้างความร่วมมือในเรื่องการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาตรีนานาชาติ และความร่วมมือทางด้านงานวิจัย และเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยต่างๆ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างสองคณะ

main
main

งานประกาศรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ และการจัดงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2559

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 : ภาพงานประกาศรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ และการจัดงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2559
รองศาสตราจารย์ ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ ได้เข้ารับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นจากผลงานประดิษฐ์ “หุ่นยนต์ฟ้าใส : หุ่นยนต์เสริมการเรียนรู้เพื่อน้องคนพิเศษ” และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงสวัสดิ์ ได้เข้ารับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นจากผลงานประดิษฐ์ “อุปกรณ์ช่วยเตือนหลับในขณะขับรถด้วยสัญญาณสมอง” อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ไบเทคบางนา กรุงเทพฯ

main
main

รายการสถานีประชาชน Thai PBS

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 : ภาพรายการสถานีประชาชน Thai PBS
รองศาสตราจารย์ ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมรายการสัมภาษณ์ ผู้บริหาร และนักวิจัย ในรายการสถานีประชาชน สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

main
main

งาน “สตรีตัวอย่างแห่งปี” ประจำปี พ.ศ.2559

วันที่ 26 มกราคม 2559 : ภาพงาน “สตรีตัวอย่างแห่งปี” ประจำปี พ.ศ.2559
รองศาสตราจารย์ ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการประกาศเกียรติคุณรางวัล “สตรีตัวอย่างแห่งปี” ประจำปี พ.ศ.2559

main
main

งานแถลงข่าวรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ และการจัดงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2559

วันที่ 18 มกราคม 2559 : ภาพงานแถลงข่าวรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ และการจัดงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2559 ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์
รองศาสตราจารย์ ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ ได้เข้ารับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นจากผลงานประดิษฐ์ “หุ่นยนต์ฟ้าใส : หุ่นยนต์เสริมการเรียนรู้เพื่อน้องคนพิเศษ” และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงสวัสดิ์ ได้เข้ารับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นจากผลงานประดิษฐ์ “อุปกรณ์ช่วยเตือนหลับในขณะขับรถด้วยสัญญาณสมอง” อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

main
main

คณาจารย์ BME ประสบความสำเร็จ ในการประดิษฐ์ เครื่องตรวจความเค็มในอาหารและปัสสาวะ

20 พฤษจิกายน 2557: คณาจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้แก่ ผศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์และ ดร.พรพิมล ศรีทองคำ ประสบความสำเร็จในการประดิษฐ์ เครื่องตรวจสอบความเค็มในอาหารและปัสสวะ ภายใต้โครงการผลิตเครื่องตรวจสอบความเค็มในตัวอย่างอาหารและปัสสาวะ ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ในส่วนของ เครื่องตรวจสอบความเค็มในอาหาร โดย ผศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ จะใช้หลักการนำไฟฟ้ามาใช้ตรวจสอบ โดยติดวัสดุนำไฟฟ้าที่ปลายเครื่อง เมื่อจุ่มลงไปในอาหารก็จะแสดงปริมาณเกลือ หรือโซเดียม หรือความเค็ม ว่าอยู่ที่ระดับกี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสามารถวัดได้สูงสุดถึง 20% ซึ่งสูงกว่าเครื่องที่นำเข้าจากต่างประเทศ และยังราคาถูกกว่า 5 - 6 เท่า ทั้งนี้ ปัจจุบันยังไม่มีการผลิตออกจำหน่าย แต่หากหน่วยงานใดมีความต้องการที่จะใช้งานก็พร้อมที่จะทำการผลิต และ สำหรับเครื่องตรวจโซเดียมในปัสสาวะ โดย ดร.พรพิมล ศรีทองคำ มีลักษณะเป็นแผ่นทำจากสารที่มีความจำเพาะกับโซเดียม หลักการทำงานคล้ายกระดาษลิสมัส โดยนำปัสสาวะเพียง 1 หยดหยดบนแผ่นทดสอบ แผ่นทดสอบจะเปลี่ยนสีตามปริมาณโซเดียมในปัสสาวะ หากสีอ่อนคือมีปริมาณน้อย สีเข้มขึ้นคือมีปริมาณโซเดียมมาก โดยสามารถวัดปริมาณโซเดียมในปัสสาวะได้ในระดับตั้งแต่ 0.1- 1% ซึ่งแผ่นทดสอบจะมีสีเข้มมากเมื่อมีปริมาณโซเดียมในปัสสาวะตั้งแต่ระดับ 0.5% ขึ้นไป แผ่นการทดสอบโซเดียมในปัสสาวะนี้สามารถใช้งานได้ง่าย และนำไปใช้ในการคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคไตได้ ซึ่งปัจจุบันยังผลิตได้ในปริมาณน้อยและไม่มีวางจำหน่าย แต่หากมีหน่วยงานที่สนใจก็พร้อมที่จะขยายสู่ภาคอุตสาหกรรม
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จะใช้นวัตกรรม 2 ชิ้นนี้ เป็นเครื่องมือในการเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคไตและผู้ที่รับปริมาณอาหารที่มีความเค็มมากในพื้นที่ชุมชนต่างๆ ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการบริโภคอาหารรสเค็มของคนไทยลงได้ และยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคจากการรับประทานเค็ม เช่น โรคไต หรือโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น

main
main

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้รับการเชิญจากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี เพื่อจัดกิจกรรมแนะแนวการศึกษาให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

14 ตุลาคม 2557 : ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้รับการเชิญจากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี เพื่อจัดกิจกรรมแนะแนวการศึกษาให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดย ผศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ดำเนินการเป็นวิทยากร เพื่อแนะแนวการศึกษาต่อในสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ รวมถึงการแนะนำภาควิชา กิจกรรมการเรียนการสอนของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ อีกทั้งได้นำนักศึกษาระดับปริญญาตรีและโท ที่เป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ไปเป็นวิทยากร เพื่อถ่ายทอดแนวทางการศึกษา ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย อีกทั้งยัง มีนักศึกษาจาก CARDIOART LAB ไปแนะนำปลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ของนักศึกษา เพื่อให้นักเรียนสามารถเห็นรูปแบบการเรียนการสอน การวิจัยของนักศึกษาในหลักสูตร และสามารถนำข้อมูลไปเป็นข้อมูลในการเลือกศึกษาต่อ ได้อย่างเหมาะสม

main
main

“หุ่นยนต์เสริมการกระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติก” โดยผศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน i,Medbot 2014 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันที่ 13 กันยายน 2557: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์และหัวหน้า ห้องปฏิบัติการระบบอัจฉริยะเพื่อการแพทย์ (AIM LAB) คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขัน i,Medbot 2014 โดยผลงานการวิจัยและประดิษฐ์ “หุ่นยนต์เสริมการกระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติก” ซึ่งผู้ชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้รับโล่และเงินรางวัล 150,000 บาท
การแข่งขันดังกล่าว จัดขึ้นโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อ แสวงหาแนวคิดการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์หรือสุขภาพ บนฐานของเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันและยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มีความคิดสร้างสรรค์ได้นำเสนอแนวคิดในการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่ไปสร้างรูปแบบการใช้งานใหม่ในด้านการแพทย์หรือสุขภาพ ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและผู้ใช้ รวมทั้งสร้างโอกาสในการต่อยอดแนวคิดที่มีศักยภาพไปสู่การสร้างนวัตกรรม ผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนาต่อไป

main
main

นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดี จากมหาวิทยาลัยมหิดล

3 สิงหาคม 2557: นาย นัฐพร อินทวชิรารัตน์ นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดี กลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพและเทคโนโลยี ประจำปี 2556 วิทยานิพนธ์เรื่อง TOE CLEARANCE DURING FREE SWING OF A TRANSFEMORAL PROSTHETIC LEG : POLYCENTRIC KNEE VS. ANKLE DORSIFLEXION โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก
รางวัลดังกล่าว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีมอบรางวัล ให้แก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทุกปี ซึ่งจัดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของงานปฐมนิเทศน์นักศึกษาใหม่ ในปีการศึกษา 2557 จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2557 เวลา 8.00-11.15น. ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล การมอบรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นนี้ เพื่อเป็นเกียรติคุณของผู้ได้รับรางวัลและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล และเชิดชูเกียรติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก

main
main

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานรางวัลมหิดลในสาขาการประดิษฐ์ แก่ คณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

10 กรกฎาคม 2557: ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปี 2556 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2556 สาขาการประดิษฐ์ แก่คณาจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้แก่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ อาจารย์ประจำ ของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์
โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ได้รับรางวัล จากผลงานประดิษฐ์ “ระบบการเชื่อมต่อสมองกับคอมพิวเตอร์” ได้แก่ วิลแชร์ควบคุมด้วยคลื่นสมอง อุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการขึ้นรุนแรง และอุปกรณ์ป้องกันการหลับใน และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ ได้รับรางวัลในการประดิษฐ์ผลงาน “หุ่นยนต์เสริมการกระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติก”
รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2556 ในปีนี้มีผู้ได้รับรางวัลประเภทดีเด่นเฉพาะทางทั้งหมด 5 สาขา ได้แก่ สาขาความเป็นครู สาขาการวิจัย สาขาการประดิษฐ์ สาขาการแต่งตำรา และ สาขาการบริการ รวมรับรางวัลทั้งหมด 13 ราย แบ่งเป็น สาขาความเป็นครู 3 ราย สาขาการวิจัย 4 ราย สาขาการประดิษฐ์ 2 ราย สาขาการแต่งตำรา 1 ราย และสาขาการบริการ 3 ราย

main
main

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้มีโอกาสต้อนรับ คณะอาจารย์และนักเรียนจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

19 มิถุนายน 2557: ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้มีโอกาสต้อนรับ คณะอาจารย์และนักเรียนจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จำนวน 50 คน เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้แก่ BIOSENS LAB, STEN LAB, BIONEDD LAB, AIM LAB, NEXT LAB และ CARDIOART LAB ให้รู้จักและมีความเข้าใจถึงสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์มากขึ้น เพื่อเป็นสื่อกลางให้นักเรียน ผู้ปกครอง เพื่อสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปช่วยในการตัดสินใจเลือกสาขาวิขาสำหรับการศึกษาต่อได้อย่างเหมาะสม

main
main

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้มีโอกาสต้อนรับ คณะอาจารย์และนักศึกษาจากหลักสูตรประกาศนียบัตรทางวิทยาศาสตรการแพทย์คลินิกและหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

18 มิถุนายน 2557 : ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้มีโอกาสต้อนรับ คณะอาจารย์และนักศึกษาจากหลักสูตรประกาศนียบัตรทางวิทยาศาสตรการแพทย์คลินิกและหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประดิษฐ์ใบหน้าขากรรไกร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าศึกษาดูงานด้านงานวิจัย ณ ห้องปฏิบัติการขอภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ซึ่งการเยี่ยมชมดังกล่าว ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างคณาจารย์ของทั้งสองคณะ ซึ่งอาจนำมสู่การร่วมมือทางด้านการวิจัยและวิชาการในอนาคต

main
main

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้มีโอกาสต้อนรับ คณะกรรมการสภาและผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยคริสเตียน

6 พฤษภาคม 2557 : ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้มีโอกาสต้อนรับ คณะกรรมการสภาและผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยคริสเตียน เข้ามาศึกษาดูงานด้านการเรียนการสอน ในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา รวมถึงเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ในการนี้ยังเป็นโอกาสให้คณาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์และผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยคริสเตียน ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ทัศนคติ รวมทั้ง ภาควิชาฯ ยังมีโอกาสได้ประชาสัมพันธ์ ถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ที่สนใจ อันอาจนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนและสนับสนุนทางงานวิจัยและวิชาการในอนาคต

main
main

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้จัดโครงการ”นิทรรศการเพื่อประชาสัมพันธ์ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

14 มีนาคม 2557: ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้จัดโครงการ”นิทรรศการเพื่อประชาสัมพันธ์ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ประจำปีการศึกษา 2557 ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่เวลา 9.00-16.00น. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์ นำเสนอความรู้งานวิจัยของนักศึกษาของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ให้กับนักเรียน ผู้ปกครองและบุคคลที่สนใจ ให้รู้จักและมีความเข้าใจถึงสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์มากขึ้น เพื่อเป็นสื่อกลางให้นักเรียน ผู้ปกครอง เพื่อสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปช่วยในการตัดสินใจเลือกสาขาวิขาสำหรับการศึกษาต่อได้อย่างเหมาะสม

main
main

ต้อนรับคณะอาจารย์และนักศึกษาจาก National University of Singapore (NUS)

11-22 พฤศจิกายน 2556: ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้ให้การต้อนรับคณะอาจารย์และนักศึกษาจาก National University of Singapore จำนวน 12 คน ภายใต้โครงการ “แลกเปลี่ยนนักศึกษาเพื่อเสริมสร้างความรู้เชิงวิจัยและวิชาการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลและNational University of Singapore” ประจำปีการศึกษา 2556 โดยโครงการดังกล่าว จะทำให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนนักศึกษา วิจัยและวิชาการ อีกทั้งทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยีของนักศึกษาทั้งสองมหาวิทยาลัย รวมถึงเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลให้มีโอกาสเรียนรู้ถึงงานวิจัยระดับนานาชาติ โครงการนี้ มีนักศึกษาจากภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์จำนวน 10 คน และ นักศึกษาจากภาควิชา Bioengineering ของ NUS จำนวน 10 คนเข้าร่วม โดยมีคณาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์และ Dr.Raye Yeow Chen Hua จาก NUS
โครงการดังกล่าว นอกจากเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ งานวิจัยของทั้งสองมหาวิทยาลัยแล้ว นักศึกษายังมีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมสถาบันและโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อให้ได้เห็นถึงโจทย์ในการทำงานวิจัย นอกจากนั้นยังมีโอกาสได้พบกับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง โดยมีการนำนักศึกษาเข้าทัศนศึกษาที่ โรงพยาบาลพุธมณฑล ศูนย์การแพทย์กาญจนภิเษกวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล หลังจากที่นักศึกษาทั้งสองมหาวิทยาลัยศึกษาดูงาน และได้โจทย์ปัญหา ในวันสุดท้ายของโครงการ นักศึกษายังมีโอกาสได้นำเสนอโครงงารวิจัยของตนเองที่ร่วมกันทำ

main
main

BME ต้อนรับคณะนักวิจัยจาก Liverpool John Moores University

8 ตุลาคม 2556: ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ให้การต้อนรับคณะนักวิจัยจาก Liverpool John Moores University (LJMU) ประเทศอังกฤษ นำโดย Prof. Xun Chen, Prof. Ahmed Al-ShammaและMr. Tahsin Opoz ที่เดินทางมาเจรจาความร่วมมือทางวิชาการและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับนักวิจัยของคณะวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงได้เจรจาความร่วมมือทางวิชาการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

main
main

BME ต้อนรับผู้มาเยือนจากประเทศเม็กซิโก

3 ตุลาคม 2556: คณะผู้แทนจาก Monterrey Institute of Technology and Higher Education (ITESM) ประเทศเม็กซิโก นำโดย Ing. Joaquin Guerra รองคณบดีหลักสูตรนานาชาติ และ Ing. Gerardo Silveyra ผู้อำนวยการโรงเรียนวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาเขต Chihuahua ได้เดินทางมาเจรจาความร่วมมือทางวิชาการและเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

main
main

นักศึกษาวิศวกรรมชีวการแพทย์และ ผศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ คว้ารางวัล Champion Awards ในงาน i -CREATe ณ ประเทศเกาหลี

30 สิงหาคม 2556: “Ankle-Foot Passive Motion Device for Footdrop” สิ่งประดิษฐ์คิดค้นโดยนักศึกษาวิศวกรรมชีวการแพทย์และผศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ได้รับรางวัล Champion Awards ในงาน International Convention on Rehabilitation Engineering & Assistive Technology 2013 หรือ i-CREATe 2013 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29-30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ณ ประเทศเกาหลี สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว ได้รับการประดิษฐ์คิดค้นโดยนักศึกษาจากคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ นายกิตติชัย ทราวดีพิมุข นายสิทธิชัย แหลมเพ็ชร นางสาวลัฐิกา เตี๋ยวงษ์สุวรรณ์และนักกายภาพบำบัดจากศูนย์แพทย์กาญจนาภิเษก นางสาว นิดา วงศ์สวัสดิ์

main
main

ไจโรโรลเลอร์ ผลงานสิ่งประดิษฐ์จาก ผศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ คว้ารางวัลเหรียญทองจาก Taipei International Invention Show & Technomart”

29 กันยายน 2556: ผศ.ดรปัณรสี ฤทธิประวัติ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมสมาชิก AIM LAB ได้รับรางวัลเหรียญทอง จากสิ่งประดิษฐ์ ไจโรโรลเลอร์: อุปกรณ์บำบัดและฟื้นฟูสำหรับ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในงาน “2013 INST: The 9th Taipei International Invention Show & Technomart” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 – 29 กันยายน 2556 ณ Taipei World Trade Center (TWTC) กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน ซึ่งมีหน่วยงานเข้าร่วมกว่า 700 หน่วยงาน จาก 21 ประเทศ โดยการส่งผลงานเข้าประกวดครั้งนี้ได้รับการสนับสนุน จากสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติในการนำนักวิจัย นักประดิษฐ์ สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเข้าร่วมแสดงนิทรรศการและประกวดผลงานในงานนิทรรศการดังกล่าว นอกจากนี้ ไจโรโรลเลอร์ ยังได้รับรางวัล Special Prize จาก World Invention Intellectual Property Associations: WIIPA ประเทศมาเลเซียด้วย

main
main

นายเกศภัท เวชศิลป์และนางสาวสุจิตรา พันทวี นักศึกษาปริญญาโทได้รับรางวัลนำเสนอผลงานวิจัยแบบ poster ดีเด่นในงานประชุมวิชาการนานาชาติ

นายเกศภัท เวชศิลป์และนางสาวสุจิตรา พันทวี นักศึกษาปริญญาโทได้รับรางวัลนำเสนอผลงานวิจัยแบบ poster ดีเด่นในงานประชุมวิชาการนานาชาติ: ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 5-8 พฤษภาคม 2556 ณ โรงแรงจอมเทียน ปาล์มบีช แอนด์ รีสอร์ท พัทยา จ. ชลบุรี โดยนายเกศภัท เวชศิลป์นำเสนอผลงานวิจัยในหัวข้อ “In Vitro Characterization in ACSF of PLECs Depots Loaded of SN-38 as a Direct Injection Drug Delivery System” และนางสาวสุจิตรา พันทวี นำเสนอผลงานวิจัยในหัวข้อ “Preparation and In Vitro Evaluation of New Anticancer Compound Efficacy using Poly(ethylene glycol)-b-poly(D,L-lactide) (PEG-b-PLA) Copolymeric Micelles”

main

ซอฟต์แวร์อิ่มเอม ของ ผศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ และ สมาชิก AIM LAB คว้ารางวัลชนะเลิศพร้อมเงินรางวัล  1 ล้านบาท ในโครงการ “นวัตกรรมวาณิชย์ภาคค้นหา Thai IT Tycoon 2012”

ผศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมสมาชิก AIM LAB ได้รับรางวัลชนะเลิศพร้อมเงินรางวัล 1,000,000 บาท จากการส่งแผนธุรกิจของซอฟต์แวร์อิ่มเอม (IM-AIM) เข้าแข่งขัน ในโครงการ “นวัตกรรมวาณิชย์ภาคค้นหา Thai IT Tycoon 2012” ซึ่งจัดโดยสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยรางวัลดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก รัฐมนตรีกระทรวง ICT นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ซึ่งพิธีมอบรางวัลจัดขึ้น ณ โรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2555 ซอฟต์แวร์อิ่มเอมถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจัดการกับการถ่ายภาพทางการแพทย์ที่ใช้ AI เพื่อเพิ่มคุณภาพของภาพสำหรับการปรับปรุงประสิทธิภาพในการวินิจฉัยทางการแพทย์ โดยผลงานดังกล่าวเป็นความร่วมมือกับ ดร.พัลลภ ปิติสันต์ และดร.วรพรรณ เรืองผกา จากวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

<td colspan="2" align="center" bgcolor="#FFFFFF"><img src="images1/extra images/underline.jpg" alt="" width="850" height="6" /></td>main

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Department of Bioengineering, National University of Singapore ร่วมกันจัดตั้งโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาปริญญาตรี เพื่อจัดทำโครงงานวิจัยร่วมกันระหว่างทั้ง 2 สถาบัน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Prof. Tow Siew Lok ผู้แทน Prof. James Koh หัวหน้าภาควิชา Bioengineering จาก National University of Singapore ประเทศสิงคโปร์ ได้ร่วมกันจัดตั้งโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาปริญญาตรีระหว่างทั้ง 2 สถาบันขึ้น โดยเมื่อวันที่ 10-22 ธันวาคม 2555 นักศึกษาจาก National University of Singapore จำนวน 10 คน มาเยี่ยมชมและศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อร่วมทำโครงงานวิจัยกับนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ จำนวน 10 คน โดยนักศึกษาทั้ง 2 สถาบันจะถูกจัดกลุ่มเข้าด้วยกันแบ่งเป็น 5 กลุ่ม เพื่อทำโครงงานวิจัย 5 โครงงาน ซึ่งนักศึกษาทั้งหมดได้เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน ณ ห้องปฏิบัติการของ ภาควิชาฯ และห้องปฏิบัติการของ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อนำความรู้และข้อมูลทีได้รับไปพัฒนาในโครงงานวิจัยที่ได้รับ โดยมี ดร.ศนิตตา ทองแพง เป็นผู้นำกิจกรรมทั้งหมด โดยภาควิชาฯมีแผนจะเดินทางไปเยี่ยมชม National University of Singapore เพื่อสรุปโครงงานวิจัยที่ทำร่วมกัน ในภาคการศึกษาหน้า
main

โครงการ สัมมนาเชิงปฏิบัติการร่วมระดับนานาชาติ เรื่อง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และสมองโดย มหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัย Kyushu

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ หัวหน้า ศูนย์ปฏิบัติการการเชื่อมต่อสมองกับคอมพิวเตอร์ ร่วมมือกับ Graduate School of Systems Life Sciences มหาวิทยาลัย Kyushu จัดโครงการ สัมมนาเชิงปฏิบัติการร่วมระดับนานาชาติ เรื่อง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และสมอง โดยมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัย Kyushu ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 8-9 ธันวาคม 2555 โดยการดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นลักษณะการประชุมเชิงปฏิบัติการ และยังมีการแข่งขันบังคับรถจำลองไฟฟ้า ไร้สายด้วยสัญญาณสมองโดยแบ่งผู้เข้าร่วมแข่งขันออกเป็น 3 ทีม โดยแต่ละทีมจะมีสมาชิกจากทั้ง 2 มหาวิทยาลัย ร่วมกันคิดและทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และเทคโนโลยีทางด้านการเชื่อมต่อสมองกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันทางด้านงานวิจัยระหว่างทั้ง 2 สถาบัน
main

นักศึกษาปริญญาตรี ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์คว้ารางวัล Top Score on Presentation ในงาน TESA Top Gun Rally 2012

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงความยินดีกับ นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่3-4 ที่สร้างผลงานคว้ารางวัล Top Score on Presentation ในกิจกรรมการประชันทักษะทางด้านระบบสมองกล ฝังตัว (TESA Top Gun Rally 2012) ในหัวข้อ " ระบบตรวจวัดคุณภาพไฟฟ้าภาคครัวเรือน" (Distributed Power Quality Monitoring System) ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมสมองกลฝังตัวไทย (TESA) ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง ในระหว่างวันที่ 21-27 ตุลาคม 2555 และได้รับเกียรติจาก ผศ.อภิเนตร อูนากูล นายกสมาคมสมองกลฝังตัวไทย (Thai Embedded Systems Association: TESA) มอบรางวัลให้กับนักศึกษาดังกล่าว เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2555 ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
EditRedRCDegion3
Copyright © 2022, Faculty of Engineering, Mahidol University